รับมือ วิกฤตวัยกลางคน ไม่ใช่เรื่องยาก

รับมือ วิกฤตวัยกลางคน ไม่ใช่เรื่องยาก

รับมือ วิกฤตวัยกลางคน ไม่ใช่เรื่องยาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าคุณคิดว่าคุณวางแผนชีวิตมาดี คุณไม่น่าจะต้องเจอกับวิกฤตวัยกลางคน หรือ Midlife Crisis ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่อายุ 35 – 50 ปี แต่ทันใดนั้นคุณเริ่มมีคำถามกับทุกสิ่งที่อยู่รอบข้างในชีวิตคุณ คุณเริ่มสงสัยว่าสิ่งที่คุณทุ่มเทไปตลอดหลายสิบปีของชีวิตนั้นเพียงพอต่อการใช้ชีวิตที่เหลือ หรือ ทำให้คุณมีชีวิตที่ดีขึ้นได้จริงหรือ จนทำให้คุณคิดว่าคุณอยากจะเปลี่ยนแปลงตนเองครั้งใหญ่ เพื่อให้ตนเองประสบความสำเร็จตามความคิดของตนเอง

ถ้าคุณเป็นดังที่กล่าวในข้างต้น เราขอแสดงความยินดีด้วยว่าคุณกำลังเข้าสู่ช่วง วิกฤตวัยกลางคน แต่ไม่ต้องตกใจนี่ไม่ใช่อาการเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ หากแต่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของวัยและประสบการณ์ชีวิต และคุณไม่ใช่คนเดียวในโลกนี้ที่เป็นยังมีคนอีกมากบนโลกใบนี้ที่มีอาการแบบเดียวกับคุณ ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่า สัญญาณของการเข้าสู่ภาวะวิกฤตวัยกลางคน นั้นมีลักษณะเช่นใด และ ควรแก้ไขแบบไหน

1. คุณเฉย ๆ กับทุกสิ่ง
เวลามีอะไรเกิดขึ้นตามกระแสโลก หรือ กระแสสังคมคุณจะรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเป็นความรู้สึกของคนที่ผ่านโลกมามากเห็นมาเยอะแล้ว ถ้ามองในแง่ดี คุณคือคนคุมเกมได้เลยละ เพราะคุณไม่ตื่นเต้น คุณไม่ตกใจ และคุณรู้ด้วยว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะดำเนินต่อและสิ้นสุดลงในลักษณะแบบไหน

2. คุณรู้สึกเบื่อหน่ายที่จะลุกจากเตียงมาทำเรื่องซ้ำซากในทุกวัน
เป็นเรื่องปกติของคนที่อยู่ในวัยกลางคน ที่ต้องทำเรื่องเดิมๆ ติดต่อกันมานานหลายสิบปี หลายคนหาสีสันให้กับชีวิตด้วยการเปลี่ยนรถใหม่ หรือ ปรับปรุงตัวเอง ให้หนุ่มสาวขึ้น แต่นั่นเป็นการเปลี่ยนแค่ชั่วครู่ชั่วยาม สิ่งที่จะทำให้คุณหายเบื่อหน่ายได้คือการไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่คุณเองมีความสนใจมานานแล้วแต่ยังไม่มีเวลาลงมือทำ นี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดแล้ว

3. คุณเอาแต่โต้เถียงและบอกว่าเคยเจอมาแล้วแต่คุณไม่เคยลงมือทำ
ในวัยกลางคน ที่เห็นมามาก เรามักไม่ตื่นเต้นกับสิ่งที่คนรุ่นใหม่เสนอ เพราะเราเคยเห็นมาแล้ว และคำพูดที่ติดปากคือ “ผม/ฉัน ทำมาหมดแล้ว” แต่ตอนที่คุณทำ เด็กรุ่นใหม่ยังไม่เคยเห็นนะ ดังนั้นคุณต้องทำให้เขาดูด้วย นั่งเถียงกันในห้องประชุมไม่สนุกหรอก แต่ทำให้เห็นกันไปเลย

4. ชีวิตขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ
เมื่อคุณไม่สร้างความท้าทายให้กับชีวิต คุณก็ขับเคลื่อนชีวิตไปวันๆ ตามรูปแบบที่เป็น ถ้าเป็นเช่นนั้น ลองถามตัวเองดูว่าแท้จริงแล้วคุณมีเป้าหมายใด ในชีวิตที่คุณฝันถึง เป็นการนั่งคุยกับตนเองอย่างจริงจัง และ คุณจะพบความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ภายใน

5. คุณเริ่มอิจฉาคนอื่น
ถ้าคุณเริ่มพบว่า ตนเองใช้เวลาในแต่ละวันด้วยการนั่งวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น หรือการกระทำของคนอื่นที่เกิดขึ้นไปแล้วมากกว่าอนาคตของตนเอง คุณกำลังตกอยู่ในช่วง วิกฤตวัยกลางคนเป็นที่เรียบร้อย และถ้ารู้สึกตัวก็ต้องบอกกับตัวเองว่า เลิกไปสนใจชีวิตคนอื่นและมุ่งสู่เป้าหมายที่ตนเองวางไว้จะดีกว่า

6. คุณมีความกังวลใจเพราะคุณรู้ว่าเรื่องราวนั้นจะจบลงอย่างไร
ในวัยที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาแล้วครึ่งทางนั้นคุณจะรู้สึกได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้านั้นจะจบลงอย่างใด เหมือนกับการดูหนังเรื่องเดิมๆซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง และนั่นทำให้คุณรู้สึกกังวลใจ วิธีแก้ไข ลองเปลี่ยนความคิดของคุณดู ว่า “ถ้าไม่เป็นอย่างที่คิด” จะเป็นอย่างไร และ นั่นหมายความว่าคุณจะได้เห็นจุดจบใหม่ๆ ที่ทำให้คุณมีไอเดียมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook