ความแตกต่างของวิสกี้ที่มากกว่าสถานที่ผลิต

ความแตกต่างของวิสกี้ที่มากกว่าสถานที่ผลิต

ความแตกต่างของวิสกี้ที่มากกว่าสถานที่ผลิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตามปกติเมื่อพูดถึงวิสกี้หรือเมื่อสั่งวิสกี้สักแก้วมาดื่ม สิ่งที่คนทั่วไปมักคิดถึงก็คือสก็อตวิสกี้หรือวิสกี้ที่มีแหล่งผลิตมาจากสก็อตแลนด์ เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตวิสกี้ที่มีชื่อเสียง แต่หากเดินเข้าไปในแผนกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหญ่ๆ ที่มีวิสกี้จำนวนมากให้เลือกแล้วกวาดตาไปบนชั้นวางวิสกี้ จะพบว่านอกจากสก็อตวิสกี้แล้ว บนฉลากที่คิดบนบางขวดวิสกี้จะมีคำว่าไอริชวิสกี้ อเมริกันวิสกี้ หรือแคเนเดียนวิสกี้ ซึ่งเป็นการบอกถึงแหล่งผลิตที่ไม่ใช่สก็อตแลนด์ ซึ่งความแตกต่างของวิสกี้เหล่านี้ไม่ได้มีเพียงแค่แหล่งผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวัสถุดิบรวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตซึ่งส่งผลต่อรสชาติด้วย

สก็อตวิสกี้

สิ่งหนึ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสก็อตวิสกี้คือ ไม่ใช่วิสกี้ทั้งหมดที่ผลิตในสก็อตแลนด์จะเรียกตัวเองว่าเป็นสก็อตวิสกี้ได้ แต่ต้องทำตามข้อบังคับสก็อตวิสกี้ที่ออกมาในปี 2009 ที่มีความเข้มงวด สำหรับสิ่งที่ทำให้วิสกี้ที่ผลิตในสก็อตแลนด์เป็นสก็อตวิสกี้ได้นอกจากจะต้องเป็นวิสกี้ที่มาจากผู้ผลิตในสก็อตแลนด์ที่เดียวแล้ว ตัวเครื่องดื่มยังต้องทำมาจากมอลต์บาร์เลย์โดยถูกบ่มอย่างน้อย 3 ปีที่โรงบ่มในสก็อตแลนด์ภายในถังไม้โอ๊กที่มีความจุไม่เกิน 700 ลิตร ไม่มีการใส่สารเสริมนอกจากน้ำและคาราเมลเพื่อสร้างสี และเมื่อทำเสร็จแล้วต้องมีค่าแอลกอฮอล์ AVB ไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่มากกว่า 94.8 เปอร์เซ็นต์

ไอริชวิสกี้

บางคนอาจไม่คุ้นกับไอริชวิสกี้ แต่ถ้าพูดถึงชื่อ Jameson นักดื่มผู้นิยมวิสกี้คงคุ้นเคยกันดี และจริงๆ แล้ววิสกี้จากไอร์แลนด์ก็มีชื่อเสียงที่โด่งดังไม่แพ้สก็อตวิสกี้ เนื่องจากไอร์แลนด์เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีโรงกลั่นแอลกอฮอล์แรกๆ ของยุโรป โดยย้อนไปถึงศตวรรษที่ 12 อย่างไรก็ตามไอริสวิสกี้มีความแตกต่างจากสก็อตวิสกี้หลักๆ คือมีขั้นตอนการกลั่น 3 ครั้งซึ่งส่งผลให้มีความนุ่มนวลกว่าสก็อตวิสกี้ที่กลั่น 2 ครั้ง นอกจากนี้คุณสมบัติอื่นของไอริชวิสกี้คือใช้เชื้อหมักจากเมล็ดธัญพืช ถูกหมักในถังไม้ที่มีขนาดไม่เกิน 700 ลิตร โดยใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ไม่มีการกำหนดค่าแอลกอฮอล์ AVB ขั้นต่ำ แต่ต้องไม่เกิน 94.8 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งแน่นอนว่าถูกกลั่นและบ่มในไอร์แลนด์เท่านั้นจึงติดคำว่าไอริชวิสกี้บนฉลากได้

อเมริกันวิสกี้

หลายคนอาจสับสนระหว่างอเมริกันวิสกี้กับเบอร์เบิน แน่นอนว่าเบอร์เบินเป็นหนึ่งในอเมริกันวิสกี้ แต่อเมริกันวิสกี้ทั้งหมดไม่ใช่เบอร์เบิน และอเมริกันวิสกี้ก็มีหลากหลายแบบซึ่งใช้วัตถุดิบในการผลิตและลักษะการผลิตที่แตกต่างกัน

คอร์นวิสกี้ ตามชื่อที่วิสกี้นี้มีข้างโพดเป็นวัตถุดิบหลักโดยมีอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกลั่นแล้วจะมีค่าแอลกอฮอล์ AVB ไม่สูงเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่มีการกำหนด AVB ขั้นต่ำไว้ ตามปกติวิสกี้จากข้าวโพดจะไม่ถูกบ่มในถังไม้ แต่ถ้ามีการบ่มก็จะใช้ถังที่ยังไม่เผาไฟ

มอลต์วิสกี้ที่เป็นอเมริกันวิสกี้จะต้องใช้มอลต์บาร์เลย์ในการผลิตไม่น้อยกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ มีค่าแอลกอฮอล์ AVB ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ และจะต้องบ่มในถังไม้เผาไฟใหม่ในขณะที่มีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 62.5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีไรย์วิสกี้ซึ่งมีความแตกต่างจากมอลต์วิสกี้ตรงที่เปลี่ยนจากมอลต์มาเป็นไรย์หรือข้าวสาลี

ขณะที่เบอร์เบินซึ่งเป็นวิสกี้จากอเมริกาที่รู้จักกันดี จะถูกผลิตโดยใช้ข้าวโพดเป็นส่วนประกอบอย่างน้อยที่สุด 51 เปอร์เซ็นต์ และถูกบ่มในถังไม้เผาไฟในขณะที่มีค่าแอลอฮอล์ AVB ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ วิสกี้ที่จะเรียกตัวเองว่าเป็นเบอร์เบินได้จะต้องถูกบ่มไม่น้อยกว่า 2 ปี

แคเเนเดียนวิสกี้

คุณสมบัติของแคเนเดียนวิสกี้ที่ถูกกำหนดโดยรัฐสภาแคนาดาคือจะต้องทำในแคนาดาทุกขั้นตอนการผลิต ถูกบ่มไม่น้อยกว่า 3 ปีในถังไม้ที่มีความจุไม่เกิน 700 ลิตร และมีแอลกอฮอล์ AVB ไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook