หงุดหงิด เบื่อโลก “ออกกำลังกาย” ช่วยได้!

หงุดหงิด เบื่อโลก “ออกกำลังกาย” ช่วยได้!

หงุดหงิด เบื่อโลก “ออกกำลังกาย” ช่วยได้!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การออกกำลังกายนอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพแล้ว รู้หรือไม่ว่าผลพลอยได้จากการเสียเหงื่อยังช่วยให้อารมณ์ของเราดีขึ้นได้ด้วย โดยงานวิจัยที่เผยแพร่ใน National Library of Medicine ระบุว่า การออกกำลังกายจะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก 2 แบบ

แบบแรกคือความรู้สึกตื่นตัว ตื่นเต้น และมีความสุข แบบที่ 2 คือความรู้สึกสงบ พอใจและผ่อนคลาย จึงทำให้รู้สึกสบายเนื้อสบายตัว และสบายใจหลังจากการออกกำลังกาย

ทั้งนี้ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือที่เรียกกันว่าสารแห่งความสุขออกมา ขณะที่สมองก็จะหลั่งสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid) ที่ทำให้มีความสุข, สารสื่อประสาท และสารเคมีต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกดีออกมามากขึ้น

อย่างไรก็ตาม Mood หรืออารมณ์ของเราจะดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับประเภทของการออกกำลังกาย, ระดับความเข้มข้น ระยะเวลา และช่วงเวลาที่เลือกออกกำลังกายด้วย

ประเภทของการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic) เช่น การวิ่ง, ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการปล่อยสารเคมีในสมองที่ช่วยให้มีความสุข หรือรู้สึกดีได้มากกว่าการออกกำลังกายแบบแอนาแอโรบิค (Anaerobic) เช่นการเล่นเวท ยกน้ำหนัก

และจากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัย Heidelberg University ยังพบด้วยว่าการออกแรงทำกิจกรรมใด ๆ ที่ไม่ใช่การออกกำลังกาย เช่น เดินขึ้นบันได, ทำความสะอาดบ้าน ไม่สามารถบูสอารมณ์ของเราให้ดีขึ้นได้เหมือนกับการออกกำลังกาย

ระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นที่ง่าย ๆ ไปจนระดับปานกลางจะส่งผลต่อการหลั่งสารเคมีในสมองมากกว่า โดยมหาวิทยาลัย University of Arizona พบว่าระดับของสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์จะสูงขึ้น หากวิ่งเหยาะ ๆ หรือวิ่งในระดับปานกลาง ประมาณ 30 นาที ต่างจากการวิ่งหนักๆ ในระยะเวลาเท่ากัน ที่พบว่าสารดังกล่าวถูกปล่อยออกมาลดลง

ระยะเวลา

แม้ว่าการเดินประมาณ 10 นาที ช่วยกระตุ้นการไหลเวียของโลหิต และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้ แต่จากงานวิจัยส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อย 20 นาที เพราะสามารถบูสอารมณ์ของตัวเองได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น จากความต่อเนื่องของการออกกำลังกาย โดยพบว่าระดับของสารเอ็นดอร์ฟินเพิ่มขึ้นหลังจากออกกำลังกายแบบแอโรบิคในความเข้มข้นระดับปานกลางไปสักประมาณ 1 ชั่วโมง

ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าการออกกำลังกายในช่วงเช้าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม และมีแนวโน้มที่จะทำได้อย่างต่อเนื่อง ก่อนจะไปเผชิญกับการทำงานที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละวัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตารางชีวิตของแต่ละบุคคลเช่นกัน เพราะสำหรับบางคนการออกำลังกายหลังจากเลิกงานถือเป็นการรีเซตอารมณ์ของตัวเองให้ดีขึ้นได้หลังจากเหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งวัน

ที่มา : washingtonpost.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook