IF ไม่ใช่แค่ลดความอ้วน แต่ยังช่วยให้อายุยืนขึ้นด้วย
สำหรับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนัก คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะจัดการเรื่องอาหารการกินของตัวเองอย่างแน่วแน่มากกว่าพาตัวเองไปออกกำลังกาย เนื่องจากการบังคับให้ตัวเองอดอาหารนั้นง่ายกว่าและทรมานน้อยกว่านิดหน่อย เมื่อเทียบกับการบังคับตัวเองให้ลุกไปออกกำลังกาย ที่พอยิ่งเหนื่อยก็ยิ่งกลับมากิน ทำให้เทรนด์การทำ Intermittent Fasting หรือ IF ที่เป็นวิธีที่จำกัดเวลาในการกินอาหาร กลายเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ซึ่งบางตำราก็ว่าดี บางตำราก็บอกว่าทำได้แต่ต้องระวัง
แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่กล่าวถึงการทำ Intermittent Fasting หรือ IF ไว้อย่างน่าสนใจ เพราะไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องลดน้ำหนักเท่านั้น แต่มีผลต่ออายุขัยของคนเราด้วย
การงดอาหาร 16-18 ชั่วโมงอาจเป็นคีย์สำคัญในการดูแลสุขภาพ แม้ว่าจะต้องต่อสู้กับความหิวโหยก็ตาม
ผลวิจัยจาก The New England Journal of Medicine ระบุว่าการทำ Intermittent Fasting หรือ IF สามารถลดความดันโลหิต ลดน้ำหนัก และทำให้อายุยืนขึ้นได้
ผู้เขียนงานวิจัยชิ้นนี้คือ Mark Mattson อาจารย์ด้านประสาทวิทยา จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins กล่าวถึงการทำ IF 2 รูปแบบด้วยกัน คือแบบแรก 6:8 กิน 6-8 ชั่วโมง อดอาหาร 16-18 ชั่วโมง และแบบที่ 2 คือ 5:2 กินปกติ 5 วัน และอดอาหาร 2 วันใน 1 สัปดาห์ (โดยวันที่อดทานได้ไม่เกิน 500 แคลอรี)
แล้วมันได้ผลยังไงล่ะ
เคยมีการทดลองใช้วิธี IF กับหนูทดลองและผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งผลออกมาว่ามันสามารถลดน้ำหนักได้จริง Mattson กล่าวว่า วิธี IF มีผลต่อการทำงานของเซลล์ ซึ่งจะช่วยในการสลับการเผาผลาญอาหาร คือในช่วงที่อดเซลล์จะนำไขมันออกมาใช้เป็นพลังงาน
ประโยชน์ที่จะได้รับคืออะไร
จากงานวิจัยหลาย ๆ งาน บางอันก็กล่าว่าการทำ IF สามารถทำให้ชีวิตมนุษย์และสัตว์ยืนยาวขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น และทำให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิธี IF มากขึ้น
มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2 รายที่ลดน้ำหนักได้ด้วยวิธี IF จากนั้นทั้งสองไม่ต้องรับอินซูลินอีกต่อไป นั่นพิสูจน์ว่าโรคเบาหวานสามารถรักษาได้
ผลงานวิจัยก่อน ๆ ของ Mattson ชี้ให้เห็นว่าการทำ IF สามารถลดความเครียดและการทำงานของสมองและระบบได้ ในปี 2009 มีผลงานวิจัยในผู้สูงอายุ 2 คนที่มีความจำที่ดีขึ้นจากการอดอาหาร และผู้ชายกลุ่มยังหนุ่มยังแน่นสามารถลดไขมันและรักษากล้ามเนื้อเอาไว้ได้จากการอดอาหาร 16 ชั่วโมงทุกวัน
ข้อจำกัดของการทำ IF
ต่อให้มีผลงานวิจัยด้านดีออกมามากมายแต่ก็ยังเป็นงานวิจัยแคบ ๆ ที่ได้ผลกับคนที่น้ำหนักเกินและอยู่ในวัยรุ่นและวัยกลางคน ในผลงานวิจัยข้อเสียของการทำ IF แสดงให้เห็นว่าเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ของคนที่ทำ IF ถูกสั่งให้หยุดทำกะทันหันเนื่องจากได้รับผลที่ไม่ดีนัก
“มันอาจจะทรมานจากความหิวในช่วงแรก ๆ แต่ความทรมานนี้จะผ่านไปหลังจากคุณได้ลองทำ 2 สัปดาห์ เพราะร่างกายและสมองจะจดจำพฤติกรรมใหม่ ๆ ของเรา” Mattson กล่าว