Connection สร้างง่าย ๆ แค่รู้จัก “เปิดประโยคสนทนา”

Connection สร้างง่าย ๆ แค่รู้จัก “เปิดประโยคสนทนา”

Connection สร้างง่าย ๆ แค่รู้จัก “เปิดประโยคสนทนา”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำงาน “Connection” หรือ “เครือข่าย” เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะการจะพัฒนาความก้าวหน้าอย่างมืออาชีพ แค่พึ่งตัวเองอาจไม่พอ ดังนั้น การสร้างเครือข่าย และความสัมพันธ์อันดีกับคนในแวดวงการทำงาน ต้องเริ่มต้นจาก “การเปิดบทสนทนา” ฉะนั้นแล้ว เราจึงต้องมีวิธีเริ่มต้นบทสนทนากับคนแปลกหน้า เพื่อให้เราได้รู้จักเขา เขารู้จักเรา และเป็นเครือข่ายของกันและกันได้

คุณรู้จักการ “Pitching (พิชชิ่ง)” หรือไม่? การเปิดบทสนทนาในลักษณะนี้จะคล้ายกับการพิชชิ่ง ซึ่งเป็นบทสนทนาสั้น ๆ ประมาณว่าการเริ่มต้นคุยกับคนแปลกหน้าในลิฟต์ ใช้เวลาในการพูดคุยราว ๆ 30-60 วินาที เพื่ออธิบายว่า “คุณเป็นใคร จะทำอะไร มีความคิดอย่างไร” ดังนั้น ประโยคเปิดจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเริ่มต้นมิตรภาพในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อให้การสนทนากับคนแปลกหน้ากลายเป็นมิตรภาพระหว่างการทำงานและการทำธุรกิจได้

อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นสนทนากับคนที่คุณไม่รู้จักนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่การมีประโยคเริ่มต้นที่สามารถไปต่อได้ จะช่วยให้สถานการณ์ผ่อนคลายขึ้น ความอึดอัดลดลงได้ เมื่อบรรยากาศเริ่มเป็นกันเอง ก็จะมีความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กับการได้เรียนรู้ความคิดเห็นของอีกฝ่าย ซึ่งจะทำให้คุณเริ่มจับสัญญาณได้ว่าพวกเขาต้องการให้คุณโต้ตอบกลับอย่างไร คำถาม คำตอบ หรือความคิดเห็นที่พูดคุยกันนั้น จะช่วยให้คุณและเขาเจอจุดเชื่อมต่อในการสนทนา

ลองมาดู 5 สถานการณ์ตัวอย่างนี้ดีกว่า ว่าเขาเริ่มต้น “เปิดประโยคสนทนา” กันอย่างไร เพื่อสร้างเครือข่ายให้ได้อย่างที่ต้องการ

1. หลังจากที่ได้ยินใครบางคนพูด
“ฉันรู้สึกสนุกสนานกับการพูดคุยในครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องที่คุณแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ…”

ในวงสนทนา บางครั้งผู้พูดอาจเริ่มต้นแสดงความคิดเห็นออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นประเด็นในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่เมื่อไรก็ตามที่คุณเริ่มที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับการสนทนานั้น สิ่งที่ผู้พูดต้องการรู้ต่อจากนั้น คือ “ทำไมคุณถึงคิดเช่นนั้น” โดยเฉพาะการพูดคุยกับคนประเภทเก็บตัว การตอบสนองของพวกเขาที่คุณจะเห็นก็คือ เขาจะมีคำถามแบบที่คุณเองยังรู้สึกว่าน่าสนใจ ซึ่งอาจจะเป็นอีกมุมหนึ่งที่คุณก็คาดไม่ถึง เมื่อเริ่มได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองซึ่งกันและกัน คุณและเขาอาจจะกลายเป็นที่ปรึกษากันโดยไม่รู้ตัว

2. หลังจากที่ได้ยินใครบางคนแชร์ประสบการณ์
“ฉันรู้สึกว่า ฉันเกี่ยวข้องกับ…ที่คุณพูดมา”

คล้ายกับการมีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน เมื่อใครคนใดคนหนึ่งเริ่มพูดถึงประสบการณ์บางอย่าง แล้วคุณเข้าไปเริ่มต้นบทสนทนากับเขาในแบบที่ว่าคุณชื่นชมในตัวเขา และเล่าให้เขาฟังในสิ่งที่คุณเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขาพูด เท่ากับเป็นการเริ่มต้นแลกเปลี่ยนทัศนคติในสถานการณ์ที่มีคุณและเขามีบางอย่างร่วมกัน และมีบางอย่างไม่เหมือนกัน เมื่อต่อกันติด การสนทนานั้นก็จะราบรื่นและมิตรภาพระหว่างกันก็เริ่มก่อตัวขึ้นมา

3. หลังจากที่ได้พบกันผ่านทางการประชุมออนไลน์
“คุณอยู่ที่ไหนเหรอ?”

การประชุมออนไลน์ทำให้โลกที่กว้างใหญ่ของเราเล็กลง ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าร่วมการสนทนาเดียวกันได้ ซึ่งการเริ่มต้นถามว่าเขาอยู่ที่ไหน ถือเป็นการเปิดการสนทนาที่ดี เพราะหลังจากนั้นคุณจะเริ่มจับจุดได้ว่าคุณจะชวนเขาคุยอะไรต่อ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์ข่าวสารที่เรารับรู้เกี่ยวกับฝั่งเขา เช่น ถ้าเขาอาศัยอยู่ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พื้นที่ที่กำลังประสบเหตุอัคคีภัย คุณสามารถส่งความห่วงใยไปหาเขา โดยถามว่า “คุณยังปลอดภัยดีใช่ไหม?”

4. ในงานเลี้ยงแบบค็อกเทล
“สิ่งนี้ช่างน่าสนใจ”

งานเลี้ยงแบบค็อกเทลจะเป็นไปในลักษณะ “ยืนกิน” ผู้คนไม่นั่งติดโต๊ะ และต้องเดินไปมาหากันอยู่เสมอ ถ้าบังเอิญคุณไปเจอเข้ากับผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งถือกระเป๋ารูปทรงที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน คุณรู้สึกว่ามันแปลกดีและรู้สึกสนใจกระเป๋าใบนั้น ด้วยเอกลักษณ์และรูปทรงอันน่าทึ่ง เพียงแค่คุณเข้าไปชวนเขาพูดคุยว่าคุณรู้สึกสนใจกระเป๋าใบนั้น บทสนทนาต่อ ๆ มาจะตามเอง

5. ในการประชุมเสมือนจริง หรือการประชุมแบบตัวต่อตัว
“คุณชอบหรือประทับใจช่วงไหนมากที่สุด?”

เมื่อไรก็ตามที่คนเราถูกกระตุ้นให้พูดในสิ่งที่ตนเองชอบหรือประทับใจ เขาจะเริ่มพรั่งพรูสิ่งต่าง ๆ ออกมาเรื่อย ๆ ไม่ยอมหยุด หลังจากนั้นก็จะเริ่มมีจุดร่วมในการสนทนาที่ระหว่างเขาและคุณมีจุดร่วมเดียวกัน ซึ่งนี่เป็นวิธีการละลายพฤติกรรมกับคนแปลกหน้าได้ดีทีเดียว

ข้อมูลจาก Forbes.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook