ปรับตัวเองอย่างไร เมื่อไม่อยากไปออกกำลังกาย

ปรับตัวเองอย่างไร เมื่อไม่อยากไปออกกำลังกาย

ปรับตัวเองอย่างไร เมื่อไม่อยากไปออกกำลังกาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักออกกำลังกายตัวยง หรือ เป็นมือใหม่ที่ใช้การออกกำลังกาย เพื่อการลดน้ำหนัก เปลี่ยนรูปร่าง หรือเสริมสร้างสุขภาพ สิ่งหนึ่งที่หลายคนเจอคือ ช่วงเวลาที่เหนื่อย ท้อ หมดแรงบันดาลใจ ที่จะเอาตัวเองออกไปยิม หรือ ไปออกกำลังกาย อาจมาจากความเครียด เหนื่อยจากการทำงาน หรือ เรื่องวุ่นๆ ในช่วงเวลานั้น หรือ ท้อใจที่ผลการลดน้ำหนักไม่คุ้มกับความเหนื่อยที่ลงทุนไป หรืออยากทำแต่นึกไม่ออกว่าเริ่มอย่างไร ไม่ว่าเหตุผลที่ทำให้ท้อนั้นคืออะไร สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปคือ ต้องปรับแก้แนวความคิด จูนความสนใจ และปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ ซึ่งวิธีการเหล่านี้นี่เอง ที่จะสามารถช่วยแก้อาการท้อ เบื่อ เหนื่อยหน่าย และ ทำให้คุณกลับมาออกกำลังกายตามเป้าหมายที่วางไว้ได้อีกครั้ง

ถ้าคิดว่าใจพร้อมที่จะไปออกกำลังกาย พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และทราบถึงปัญหาต้นเหตุของอาการเบื่อหน่ายแล้ว ให้เราลงมือแก้ไขให้ตรงจุด

หากขาดแรงจูงใจ และกำลังใจ ให้ลองหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ พูดคุย แลกเปลี่ยนวิธีการ และ ชักชวนกันไปออกกำลังกาย หรือ ค้นหาคนที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเรา เช่น ดารา Fitness idols หรือ ภาพถ่ายรูปร่างในฝันที่อยากเป็น อ่านบทความ หาความรู้เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก และการออกกำลังกาย เพื่อเป็นการเติมไฟให้กับตนเอง

หากเป็นคนที่มีภาระมาก เวลาน้อย ให้ลองลิสต์เวลาของกิจกรรมที่ตายตัวในแต่ละวันของเราออกมา แล้วมองหาช่องว่างที่จะเพิ่มเติมกิจกรรมการออกกำลังกายลงไป แบ่งการออกกำลังกายออกเป็นช่วงๆ ช่วงสั้นๆ ตามเวลาที่สะดวก เพราะการออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องเป็นตอนเช้า หรือตอนบ่าย เวลาไหนแค่ได้ไปออกก็ได้ประโยชน์ทั้งสิ้น และไม่จำเป็นต้องเข้ายิม หรือที่ฟิตเนส ทำที่ไหนก็ได้

หากออกกำลังกายที่ความหนักปานกลาง เช่น เดิน วิ่งจ็อกกิ้ง บอร์ดี้เวทตาม Youtube ให้ทำครั้งละ 20-30 นาที 1-2 ครั้งต่อวัน (ถ้าทำได้) พยายามทำให้ได้ 5 วันต่อสัปดาห์ หรือถ้าเป็นกิจกรรมที่มีความหนัก เช่น วิ่งแบบ High Intensity Interval Training, Tabata Training เล่นเวทที่น้ำหนักมากๆ สามารถทำได้ตั้งแต่ 20-60 นาที 1 ครั้งต่อวัน พยายามทำให้ได้ 3 วันต่อสัปดาห์ เท่านี้การออกกำลังกายก็จะเริ่มเห็นผลเด่นชัดขึ้นแล้ว

หากไม่มีเวลาจริงๆ ลองใช้วิธีการแทรกการออกกำลังกายเข้าไปในชีวิตประจำวัน เช่น เดิน หรือ ปั่นจักรยานไปทำงาน ไปซื้อของ ไปทานข้าว เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์ Shopping ทำสวน ทำความสะอาดบ้าน เพียงวันละ 30 นาที ก็ถือว่าเป็นการได้ออกกำลังกายแล้ว

หากปัญหาของคุณคือเรื่องการเงิน ค่าใช้จ่ายในการไปออกกำลังกาย ค่าเมมเบอร์ยิมถือเป็นภาระที่ไม่สามารถรับผิดชอบได้ ให้ลองไปออกกำลังกายตามสวนสาธารณะ วิ่ง จ็อกกิ้ง หรือ ทำกิจกรรมกีฬา ตามสนามกีฬาใกล้ๆ บ้าน หรือ ออกกำลังกายอยู่กับบ้านตาม Video ที่มีมากมายบน Internet ก็ได้

ความหิวที่เกิดจากปัจจัยทางอารมณ์ กินเพื่อลดความกังวล คือการทำให้อาหารเป็นตัวช่วยให้ผ่อนคลาย ในขณะที่ร่างกายไม่ได้หิว อาการหิวแบบนี้มักเกิดจากสภาวะทางอารมณ์ เช่น เบื่อหน่าย เหนื่อย เหงา ว้าวุ่น กระวนกระวาย และความเครียดจากการทำงาน หากมีอาการหิวจากภาวะทางอารมณ์ ให้ลองแก้ไขด้วยการ หาเวลาไปออกกำลังกาย อาจเป็นการเล่นโยคะ ที่ทำให้ได้ออกกำลังกายไปพร้อมๆ กับการฝึกสมาธิ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายลดความเครียด และช่วยลดความอยากอาหารลง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook