วัดระดับความชรา (Aging)
ร่างกายเรามีกระบวนการความชราอย่างไร?
ความชราเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ กระบวนการความชราจะเร็วขึ้นเมื่อเราเริ่มอายุ 30 ปี และเมื่อเราอายุ 40 ปี
ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆลดน้อยลงเหลือเพียง 80% และเหลือ 70% เมื่ออายุ 50 ปี และจะลดต่ำลงเหลือแค่ 35% เมื่ออายุ 70 ปี
ผิวหนัง เริ่มเสื่อมตั้งแต่นาทีแรกที่เกิด
ผิวหนัง: อวัยวะส่วนแรกสุดที่เริ่มเสื่อมคือ ผิวหนัง ซึ่งจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่นาทีแรกที่เราเกิด สัญญาณความชราของผิวได้แก่ ผิวหนังจะเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น ดูหมองคล้ำ หย่อนยาน สีผิวไม่สม่ำเสมอ
สมอง หลังจากอายุ 20 ปี สมองจะเริ่มเสื่อมลง
สมอง: เซลล์ประสาทเป็นเพียงเซลล์ชนิดเดียวในร่างกายที่ไม่มีการสร้างขึ้นใหม่ เมื่อถูกทำลายจะสูญเสียและไม่มีการสร้างขึ้นใหม่ สมองจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่ออายุ 20 ปี 5% ของผู้ที่อายุ 65 ปี จะมีอาการของโรคอัลไซเมอร์และความจำเสื่อม และจะเพิ่มเป็น 25% เมื่ออายุประมาณ 80 ปี
ปอด เริ่มเสื่อมลงอย่างรวดเร็วเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
ปอด: การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจและปอดล้วนก่อให้เกิดความเสื่อมของปอด นับจากอายุ 30 ปี เป็นต้นไป ความสามารถในการทำงานของปอดจะลดลง 30 ซีซี ต่อวินาทีในทุกปี และ ประสิทธิภาพการทำงานของปอดจะเหลือเพียง 1/3 ของความจุปอด เมื่ออายุ 60 ปี
ตา เริ่มเสื่อมลงเมื่ออายุ 40 ปี
ตา: เมื่ออายุ 40 ปี สายตาจะยาวขึ้นวัดได้ประมาณ 100 ดิออพเตอร์ และจะเพิ่มเป็น 200 เมื่ออายุ 50 ปี และ 300 เมื่ออายุ 60 ปี ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี 30-40% เริ่มมีอาการของต้อกระจก ในขณะที่เมื่ออายุ 70 ปี 60-70% จะมีปัญหาจากต้อกระจก
หัวใจ เริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 45 ปี
หัวใจและหลอดเลือด: ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดต่ำลง เส้นเลือดขยายใหญ่ขึ้น มีการอุดตันของเส้นเลือด เป็นสัญญาณที่บอกว่าหัวใจกำลังเสื่อมลง
หู เริ่มเสื่อมลงเมื่ออายุ 60 ปี
หู: ความสามารถของการได้ยินเริ่มเสื่อมลงหลังจากอายุ 60 ปี ปกติจะพบได้บ่อยในเพศชายผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จะสูญเสียการได้ยินเร็วกว่าในคนปกติ
ตับ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ ม้าม จะมีอาการติดเชื้อที่ง่ายขึ้น
ตับ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ ม้าม: อวัยวะเหล่านี้จะไม่เกิดกระบวนการความชรา แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะมีอาการติดเชื้อและบาดเจ็บได้ง่ายขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอวัยวะส่วนอื่น ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อของอวัยวะเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะยืดอายุการใช้งานของอวัยวะดังกล่าว
แต่สำหรับผู้หญิง ช่วงวิกฤติของเพศหญิง เริ่มตั้งแต่อายุ 35 ปี
ภาวะหมดประจำเดือน: หลังจากอายุ 35 ปี เพศหญิงจะสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก 1% ทุกปี หลังจากหมดประจำเดือนการสูยเสียความหนาแน่นของมวลกระดูกจะเพิ่มเป็น 5-6% ผู้หญิงที่อายุ 20-25 ปี จะมีการตกไข่ระหว่าง 10-12 ครั้งต่อปี แต่หลังจากอายุ 40 ปี จะมีการตกไข่เพียงแค่ 7-8 ครั้งต่อปี และหลังอายุ 45 ปี จะเหลือเพียงแค่ 1-2 ครั้งต่อปี หรือแม้กระทั่งไม่มีเลย
..........................................................................................................
พร้อมด้วยหลากหลายบทความเกี่ยวกับ สุขภาพ สาวสวย และที่เที่ยวกลางคืนได้ที่นี่