“ยอดคนแห่งวงการรถ” ชีวประวัติของ “ฮอนดะ โซอิจิโร่” ผู้ก่อตั้ง Honda ฉบับย่อสุด

“ยอดคนแห่งวงการรถ” ชีวประวัติของ “ฮอนดะ โซอิจิโร่” ผู้ก่อตั้ง Honda ฉบับย่อสุด

“ยอดคนแห่งวงการรถ” ชีวประวัติของ “ฮอนดะ โซอิจิโร่” ผู้ก่อตั้ง Honda ฉบับย่อสุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เขาเป็นช่างเทคนิค เขาคือผู้ประกอบการ ผู้เริ่มจากกิจการซ่อมรถยนต์ จนมาถึงผู้ผลิตรถสองล้อถึงรถสี่ล้อ เขาสร้างชื่อของ Honda ในโลกกีฬามอเตอร์สปอร์ต เขานำกิจการของเขาสู่ความเป็น “Honda of the World” ได้ในหนึ่งชั่วอายุคน เขามีคำคมและ “ฉากชีวิต” มากมาย เขาคือ “ฮอนดะ โซอิจิโร่”

ไทม์ไลน์ชีวิต
-ปี ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) เกิดมาเป็นลูกชายคนโตของช่างตีเหล็กในจังหวัดชิซุโอกะ
-ปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) เข้าทำงานที่อู่ซ่อมรถยนต์ “Art Shokai (ปัจจุบันคือ Art Metal) ที่โตเกียว
-ปี ค.ศ. 1928 (พ.ศ. 2471) ก่อตั้ง “Art Shokai” สาขาฮามามัตสึ ถิ่นเดิมของตน
-ปี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480): รู้สึกว่ากิจการซ่อมรถถึงจุดอิ่มตัว เลยไปก่อตั้งบริษัท “Tokai Seiki Heavy Industries (ปัจจุบันคือ Tokai Seiki” เพื่อทำงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำพวกแหวนลูกสูบ
-ปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488): ขายบริษัท Tokai Seiki Heavy Industries ให้แก่ Toyato Shokki ด้วยเหตุที่โรงงานพังเพราะแผ่นดินไหวมิคาวะ (三河地震) เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
-ปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) ก่อตั้งสถาบันวิจัยเทคนิคฮอนด้า (本田技術研究所) ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการพัฒนารถสองล้อที่ติดเครื่องยนต์ใส่รถจักรยาน (รถจักรยานยนต์ ที่เราเรียกว่า มอเตอร์ไซค์นั้น แท้ที่จริงก็คือสิ่งที่พัฒนามาจากรถจักรยานสองล้อติดเครื่องยนต์นี่เอง การที่ต้องติดเครื่องยนต์นั้น เพราะประเทศญี่ปุ่นถนนหนทางเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ มาก ปั่นไม่ไหวก็ต้องจูง จึงคิดติดเครื่องยนต์ใส่จักรยาน ไปๆ มาๆ โครงรถจักรยานนั้นหนักไปก็คิดค้นโครงรถให้เบา จึงเกิดเป็นรถจักรยานยนต์)
-ปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) ก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมและวิจัยฮอนด้า (本田技研工業) พอปีต่อมานายฟูจิซาวะ ทาเคโอะ เข้ามาเป็นพันธมิตรช่วยดูแลด้านการเงินและการขาย
-ปี ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506) เปิดตัวรถยนต์สี่ล้อ T360 และรถสปอร์ต S500
-ปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) ลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทฯ แล้วมาเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหาร
-ปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) เป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้เข้า “หอเกียรติยศยานยนต์” ของอเมริกา
-ปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) ถึงแก่กรรม อายุได้ 84 ปี

เกียรติประวัติ

-เป็นผู้ริเริ่มการพัฒนารถจักรยานยนต์อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เปิดตัวรถจักรยานยนต์เช่น Super Cub ในทศวรรษที่ 1960 ซึ่งทำให้กลายเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์อันดับต้นๆ ของโลก
-ปี พ.ศ. 2502 เข้าร่วมการแข่งขันเวิร์ลด์กรังปรีซ์ The Isle of Man TT และได้อันดับสูงๆ นี่คือจุดกำเนิดของกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ตของฮอนด้า
-ช่วงทศวรรษที่ 1960 เขาก้าวมาผลิตรถยนต์สี่ล้อ ในปี พ.ศ. 2507 เข้าร่วมในการแข่งรถ F1 พอมาปี พ.ศ. 2508 ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ Mexico GP
-ปี พ.ศ. 2515 กฎข้อบังคับเกี่ยวกับก๊าซไอเสียที่เข้มงวดที่สุดในโลกของอเมริกา ก็ยังฝ่าด่านมาได้ ด้วยเครื่องยนต์ CVCC ที่พัฒนาขึ้นมาเอง เครื่องยนต์ CVCC คือการที่ ก๊าซผสมเข้มข้นถูกวางไว้ในห้องเผาไหม้รองแล้วจุดระเบิดด้วยหัวเทียน และก๊าซผสมจาง ๆ จะถูกวางไว้ในห้องเผาไหม้หลัก เพื่อให้เกิดการเผาไหม้โดยรวมเบาบาง มันลดก๊าซไอเสียโดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงลดลงและไม่ต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา รถ CIVIC คันแรกที่ติดเครื่องยนต์ CVCC ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก ซึ่งสร้างฐานะ “Honda of the World” ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ฉากชีวิต
ฉากชีวิตและคำคมต่างๆ มากมายของเขาเป็นที่เล่าขาน แต่ในที่นี่จะขอหยิบยกเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับเทคนิคยานยนต์เท่านั้น

ตอนที่เขาทำบริษัท Tokai Seiki Heavy Industries เขาผลิตแหวนลูกสูบ แล้วมีฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างของ Toyota มาตรวจของ ตอนแรกๆ สินค้าเกือบทั้งหมด “ไม่ผ่าน” แทบจะเรียกได้ว่าบรรลัย ด้วยความเจ็บใจว่าตัวเองไม่มีความรู้ เลยไปเป็นนักศึกษา Audit (คือเรียนไม่เอาเกรด) ที่วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมฮามามัตซึ (ปัจจุบันคือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิซุโอกะ) แล้วเรียนวิชาวิศวกรรมโลหะอย่างบ้าดีเดือดเป็นเวลาสามปี 

Super Cub

-เครื่องยนต์ของรถ Super Cub ซึ่งเริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2501 เป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ยอดเยี่ยม ซึ่งนายฮอนดะภาคภูมิใจอย่างแรง ในยุคที่สมัยนั้นเครื่องยนต์ 2 จังหวะกำลังพีค รถ Super Cub มียอดการผลิตทั่วโลกถึง 100 ล้านคันในปี พ.ศ. 2560 ในฐานะ “รถจักรยานยนต์ที่ผลิตจำนวนมากที่สุดในโลก”
-นายฮอนดะมีความยึดติดกับ “เครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยอากาศ” ซึ่งมีน้ำหนักเบากะทัดรัดและราคาถูกจนถึงที่สุด ยึดติดเสียจนเกิดความบาดหมางกับช่างเทคนิคฝ่ายที่พยายามผลักดันเครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยน้ำ (วิศวกรบางคนถึงกับประท้วงไม่ยอมมาทำงาน) “Honda 1300” เปิดตัวในปี พ.ศ. 2512 แบบไม่สนคำค้านของช่างเทคนิค เครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยอากาศ 1300cc ถูกระงับการผลิต เนื่องจากเกิดพบจุดอ่อนของเครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยอากาศเข้า ด้วยเหตุนี้นายฮอนดะจึงถอนตัวจากสายงานในฐานะช่างเทคนิค
-ไอเดียต่างๆ ของนายฮอนดะ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “จิตวิญญาณที่ไม่เลียนแบบคนอื่น” และ “การมองไปข้างหน้าเพื่อค้นหาความต้องการในที่ที่มีปัญหา”


 

Honda 1300

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในการพิชิตการแข่งขันมอเตอร์ไซด์และรถ F1 ในระดับโลกมากมาย เป็นเครื่องแสดงให้เห็นความสามารถทางเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่ของ Honda แต่เป็นของญี่ปุ่นด้วย

ความเป็นคน “หัวแข็ง” แม้ข้อไม่ดีคือมั่นใจในตนเองเกินไปจนพาไปสู่ความล้มเหลวไปบางจังหวะชีวิต (บางทีเพราะเคยคิดว่าตัวเองเก่งแล้ว ไม่ต้องง้อตำรา) แต่เพราะความเป็นคน “หัวแข็ง” เช่นกันจึงไม่ยอมแพ้ สู้หัวชนฝา เอามันให้ได้ นี่ก็เป็นรูปแบบหนึ่งอุปนิสัยอย่างหนึ่งของคนที่ “ประสบความสำเร็จ” ความ “หัวแข็ง” อาจไม่ดีเพราะทำให้เราต้องทะเลาะกับคนอื่น (มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบตัว) ก็ได้ในแง่นี้ แต่ความ “ไม่ยอมแพ้” นี่คือสิ่งที่ดีที่ควรมีไว้เป็นนิสัยประจำตัวแน่นอน ลองเอาประวัติของเรามาเรียนรู้ แล้ว “หยิบยาวทิ้งสั้น” กันนะครับ อะไรดีก็เอาไว้อันไหนไม่ดีก็ดูไว้แล้วอย่าตามครับ

สรุปเนื้อหาจาก clicccar
ผู้เขียน TU KeiZai-man

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook