ไม่อยากตกงาน ต้องฝึกใช้ปฏิภาณไหวพริบ

ไม่อยากตกงาน ต้องฝึกใช้ปฏิภาณไหวพริบ

ไม่อยากตกงาน ต้องฝึกใช้ปฏิภาณไหวพริบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในชีวิตการทำงาน เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ไม่คาดฝัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกะทันหันโดยไม่ทันตั้งตัวได้เสมอ ปัญหาเหล่านั้นบางครั้งจำเป็นต้องตอบสนอง ต้องแก้ไขเดี๋ยวนั้น และต้องผ่านไปอย่างราบรื่นที่สุด สิ่งที่เราใช้ในการแก้ปัญหาก็คือ “ปฏิภาณไหวพริบ”

การมีไหวพริบในการแก้ปัญหา เป็นส่วนหนึ่งของทักษะใหม่ที่คนทำงานรุ่นใหม่ควรต้องมี นอกเหนือจากการ Hard Skill และ Soft Skill ทักษะนี้คือ Meta Skill ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องไวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ในโลกที่หมุนเร็วมาก ต้องมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเผชิญความท้าทาย แก้ปัญหาได้ และพร้อมที่จะเติบโต เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ดังนั้น ปฏิภาณไหวพริบ จึงเป็นทักษะที่สำคัญมากที่คนทำงานยุคใหม่ควรจะมีด้วย เป็นความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่คาดไม่ถึง ตามทันโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สามารถหาทางออกให้กับปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อนอย่างชาญฉลาด โดยเริ่มตั้งต้นว่า จะรับมือกับวิกฤติอย่างไรในสถานการณ์กะทันหัน เพราะต้องรับมือ จัดการ คิด ตัดสินใจ และดำเนินการอย่างรวดเร็วในเวลานั้น โดยไม่สามารถพึ่งพาตำราเล่มไหนหรือคนอื่นได้ในช่วงเวลานั้น

การพัฒนาไหวพริบต้องทำอย่างไร
องค์กรส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาไหวพริบของพนักกงานเท่าที่ควร เพราะมักจะเน้นไปที่ภาวะผู้นำ หรือทักษะทางเทคนิคต่าง ๆ ทั้งที่ความจริงแล้ว ไหวพริบถือเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร หากคนทำงานมีความสามารถในการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะหน้าได้ ก็สามารถนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤติที่เกิดขึ้น

ทุกคนมีไหวพริบในการแก้ปัญหาไม่เท่ากัน แต่สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้ เพราะการพัฒนาไหวพริบนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบางคน หมายความว่าต้องใช้เวลาเก็บเกี่ยวประสบการณ์หลายปี กว่าจะรู้สึกเชื่อมั่นในการตัดสินใจ แต่ทุกคนสามารถปรับปรุงและพัฒนาไหวพริบของตนเองได้ ผ่านการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ไหวพริบต่าง ๆ ที่มีอยู่วิธีรวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยที่ขวางหรือเร่งกระบวนการพัฒนา

การพัฒนาไหวพริบสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • เรียนรู้จากการสังเกต ค่อย ๆ สังเกตและเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า ว่าเขามีปฏิกิริยาตอบสนอง หรือมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบุคลิกและความสามารถของตนเอง
  • พึ่งสัญชาตญาณ ในสถานการณ์ที่บีบบังคับจนเรารู้สึกกดดัน จะกระตุ้นให้สัญชาตญาณการเอาตัวรอดทำหน้าที่ปกป้องตัวเอง โดยจะช่วยให้ตัดสินใจในสถานการณ์นั้นได้ เพราะเราต้องเลือกวิธีที่ดีที่สุดที่คิดได้
  • การแข่งขันหรือการทำงานร่วมกัน กระตุ้นและการพัฒนาไหวพริบเอาตัวรอด ทั้งยังมีผลต่อการเลือกงานให้เหมาะกับคน ผู้ที่มีไหวพริบดี เหมาะกับงานที่ไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน
  • บรรยากาศที่ตึงเครียด ผลักดันให้คนในองค์กรพัฒนาไหวพริบในการทำงานร่วมกัน เพราะหากไม่มีอะไรมาบีบบังคับ สัญชาตญาณในการเอาตัวรอดจะไม่เกิด ความตึงเครียดจะบีบให้มนุษย์ปรับตัว เริ่มมีการโต้ตอบบ้าง
  • ยืดหยุ่นทางความคิด ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาอะไรต้องมูฟออนให้ไว เรียนรู้และพัฒนาไปข้างหน้าให้ดีขึ้น

คนที่มีแนวความคิดและทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือที่เรียกกันว่าไหวพริบนี้ คุณจะได้เปรียบคนอื่นตรงที่มีโอกาสเติบ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ฉะนั้น ยังไม่สายที่จะเริ่มพัฒนาตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook