วิธีคิด-ทำ แบบ CEO เปลี่ยนพนักงานธรรมดาให้เหนือกว่าเดิม
หลายคนเข้าใจว่าการที่จะเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นที่ต้องมีความรู้ในการบริหารชนิดที่ว่าจบหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารมา การศึกษาสูง โปรไฟล์ดี แต่เปล่าเลย ความรู้และทักษะในการบริหารสำคัญก็จริง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือวิธีคิดและการลงมือทำ!
Ivy League เคยสังเกตพฤติกรรมของบุคคลกลุ่ม C-suite (ผู้บริหารระดับสูงสุดในองค์กร) ตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ กลับเห็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก Elena Botelho และ Kim Powell ผู้เขียนหนังสือ “The CEO Next Door” เสนอว่า ผู้บริหารที่เก่ง ๆ เขาไม่ได้คิดหรอกว่าตัวเองถูกกำหนดมาเป็นผู้บริหารตั้งแต่แรก
เพราะไม่มีกฎตายตัวว่าผู้บริหารเก่ง ๆ และประสบความสำเร็จ จะต้องเป็นคนที่มีอำนาจมาแต่แรก เป็นคนประเภทชอบเข้าสังคมหมั่นสร้างเครือข่าย หรือโปรไฟล์สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ ความคิดข้างต้นทำให้หลายคนมักคิดไปเองว่าตนเองไม่มีทางที่จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหาร แต่ในทางตรงข้าม คนธรรมดา ๆ ก็สามารถเป็นผู้บริหารที่เก่ง และประสบความสำเร็จได้
เพื่อพิสูจน์ว่าคนธรรมดาก็สามารถเป็นผู้บริหารได้ Elena Botelho และ Kim Powell จึงทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากแบบประเมินความเป็นผู้นำกว่า 17,000 รายการจากบริษัท ghSMART ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาให้กับผู้นำ ร่วมกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกและมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยคัดเลือกคนระดับผู้บริหารจำนวน 2,600 คนมาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นผู้บริหาร และดูว่าผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จนั้น เขาทำอะไรกัน
การวิจัยนี้พบว่ามีพฤติกรรมเพียง 4 อย่างเท่านั้น ที่ผู้บริหารส่วนใหญ่มีลักษณะร่วมกัน ฉะนั้น หากคนธรรมดา ๆ สามารถเปลี่ยนชีวิตประจำวันให้ทำได้ 4 ข้อนี้ ก็อาจจะเปลี่ยนตัวเองไปเป็นผู้บริหารที่ทรงพลัง หรือถ้ายังเป็นพนักงาน ก็จะเป็นพนักงานที่เจ๋งกว่าเดิม
1. ตัดสินใจเร็วและเด็ดขาด
ข้อมูลการวิจัยพบว่าผู้บริหารที่ตัดสินใจได้เร็วและเด็ดขาด มีแนวโน้มที่จะทำผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงได้ถึง 12 เท่า โดยมี Steve Gorman อดีตผู้บริหารของ Greyhound เป็นตัวอย่างในการศึกษา เมื่อ Gorman เป็นผู้บริหาร Greyhound ในปี 2003 ก็เกิดวิกฤติขาดทุนย่อยยับจนแทบล้มละลาย
สี่เดือนที่ Gorman พยายามประคับประคองบริษัท และฟังผู้บริหารระดับสูงคนอื่น ๆ คิดแผนและยกเลิกแผนการต่าง ๆ ที่จะกอบกู้บริษัท แต่ในที่สุด เขาก็ได้รับข้อมูลบางอย่างจากที่ทีมงานของเขาวิเคราะห์ขึ้นมา มันเป็นจากแผนที่ดาวเทียมของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ที่แสดงให้เห็นว่าแสงสว่างของดวงไฟใน 2 ประเทศ ว่ามันไปกระจุกตัวอยู่ที่ใด ยิ่งดวงไฟมากก็แปลว่าบริเวณนั้นมีคนอยู่อาศัยมาก ทั้งที่ไม่แน่ใจว่าแผนนี้จะออกหัวหรือก้อย แต่เขาก็ตัดสินใจปรับเส้นทางการเดินรถของ Greyhound ให้ไปตามแหล่งชุมชน ในท้ายที่สุดมันก็ได้ผล!
Gorman ออกจาก Greyhound ในปี 2007 เวลานนั้นรายงานตัวเลขผลประกอบการของบริษัทเป็นมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมันเป็นสองเท่าของมูลค่าในปี 2003 ผู้วิจัยวิเคราะห์ว่าที่ Gorman สามารถกู้บริษัทให้กลับมาได้นั้น ไม่ใช่ว่าเขารู้มาก่อนว่าแผนของเขาจะได้ผล แต่เป็นเพราะเขาตระหนักว่า การตัดสินใจลงมือทำและไม่ตัดสินเองว่าผลลัพธ์มันจะดีหรือไม่ดี มันดีกว่าการไม่ตัดสินใจทำอะไรเลย
2. มีวิธีโน้มน้าวใจคน
ในการเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับคนรอบข้าง รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้พวกเขาตั้งใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล ซึ่งมันไม่ง่ายเหมือนการพยายามซื้อใจคนด้วยการทำดีด้วย แต่การพยายามให้เป็นที่ยอมรับนั้นสำคัญกว่า เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานออกมาอย่างมีคุณภาพสูงสุด
ซึ่งวิธีที่ผู้บริหารใช้โน้มน้าวใจพนักงาน พวกเขาทำ 3 สิ่งนี้
- แสดงเจตนา วิสัยทัศน์ และเป้าหมายให้ชัดเจน
- ทำความเข้าใจความต้องการของคนในทีม ทั้งเรื่องสุขภาพกาย ใจ รวมถึงด้านการเงิน
- สร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่น ๆ ในท้ายที่สุดผลลัพธ์ดี ๆ จะกลับมาเอง
ถึงกระนั้น ในหลาย ๆ กรณี การโน้มน้าวใจให้ใครทำอะไรสักอย่าง อาจจะดูโหดร้ายและไร้ความปรานี แต่ Willie Pietersen ศาสตราจารย์ด้านการจัดการ ของ Columbia Business School และผู้เขียนหนังสือ Strategic Learning: How to Be Smarter Than Your Competition and Turn Key Insights into Competitive Advantage บอกว่านี่คือกลยุทธ์ที่จะจูงใจให้คนในทีมทำงานให้ด้วยความสามารถที่แท้จริง ความตื่นเต้นในการทำงานคือเบื้องหลังของความคิดที่ยอดเยี่ยม
การโน้มน้าวใจลักษณะนี้ ทำให้ Steve Jobs ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง Apple สามารถสร้างบริษัทให้ประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ เพราะเขามีส่วนร่วมกับพนักงาน ในการนำเสนอนวัตกรรมที่เกิดจากความคิดของเขา จนสามารถสร้างสรรค์แนวคิดและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้
3. สร้างความน่าเชื่อถือด้วยผลงานที่เป็นที่ประจักษ์
ข้อมูลจากงานวิจัย พบว่าผู้บริหารที่สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์อย่างต่อเนื่อง และดำเนินการตามแผนงาน สามารถสร้างความน่าเชื่อถือ และเพิ่มโอกาสในการได้งานเพิ่มเป็นสองเท่า! และผู้วิจัยยังพบว่าจากพฤติกรรมทั้ง 4 การสร้างความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ส่งเสริมให้ผู้บริหารแต่ละคนประสบความสำเร็จ และยังเพิ่มโอกาสในการสร้างงานที่ยอดเยี่ยมได้อีกมากมาย
เพราะในทางธุรกิจ คนที่น่าเชื่อถือและมีความสามารถจะเป็นที่ยอมรับของทุกคน อย่างการติดต่องาน ลูกค้าพร้อมที่จะเสี่ยงกับคนที่น่าเชื่อถือและมีความสามารถ กล้าที่จะจ้างงาน ผู้บริหารเหล่านี้จึงเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
ตัวอย่างคือ Richard Branson ผู้ก่อตั้ง Virgin Group เมื่อครั้งที่เขาสร้าง Virgin Australia ที่กลายมาเป็นสายการบินขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของออสเตรเลีย เขาเปิดตัวสายการบินนี้ขึ้นมาเพราะความคิดของพนักงานธรรมดาที่ชื่อว่า Brett Godfrey เมื่อ Godfrey เสนอความคิดมา Branson ก็ซื้อไอเดียนี้ทันที เพราะเขาเห็นว่าพนักงานคนนี้เป็นคนที่สง่า มุ่งเน้นในรายละเอียด และขยันทำงาน
Branson เขียนถึงพนักงานคนนี้ในอัตชีวประวัติล่าสุดของเขาว่า “ผมได้เห็นวิธีที่เขาจัดการกับผู้คนอย่างสุภาพ และคนเหล่านั้นก็ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากเขา” เขาจึงประทับใจจรรยาบรรณในการทำงานของพนักงานคนนี้มาก เมื่อ Godfrey แนะนำให้สร้างสายการบินในประเทศออสเตรเลีย Branson bit ในปี 2000 ไม่นาน Virgin Australia ก็เข้าสู่ตลาดการบินอย่างเป็นทางการ โดยมี Godfrey นั่งตำแหน่งผู้บริหาร (ดำรงตำแหน่งจนถึงปี 2010)
4. ปรับตัวตามสถานการณ์
การเดินเรือโดยไม่พึ่งแผนที่มันอาจจะเสี่ยง แต่ก็ควรที่จะลองเสี่ยง เพื่อไปสู่จุดสูงสุดผู้นำจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะนำพาบริษัทให้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ โดยผู้วิจัยได้ยกตัวอย่าง Kodak, Blockbuster และ Borders ว่าที่บริษัททั้ง 3 ล้มเหลว ก็เพราะผู้นำของพวกเขาไม่ปรับตัวให้ทันโลก
การวิเคราะห์ของพวกเขายังพบว่าผู้บริหารที่เก่งในการปรับตัว ก็ไม่ได้รู้สึกสบายใจอะไรมากนักกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่จะรู้สึกไม่มั่นใจ เพราะเข้าใจดีว่ามันเสี่ยง แต่ก็ต้องปล่อยอดีต แล้วมุ่งเน้นไปที่อนาคตมากกว่า ตัวอย่างของผู้บริหารที่รู้จักปรับตัว ได้แก่ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของ Amazon อย่าง Jeff Bezos
Amazon.com เปิดตัวในปี 1994 ในตอนนั้น นี่เป็นธุรกิจขายหนังสือเท่านั้น แต่ Bezos เลือกที่จะขยายธุรกิจต่อ จนนำไปสู่การขายเพลงและวิดีโอ แถมเขายังถามลูกค้าอีกว่าต้องการให้บริษัทขายอะไรเพิ่มอีกบ้าง ซึ่งเขาก็ได้รับรายการสินค้าที่ลูกค้าต้องการยาวเป็นหางว่าวเลย Bezos ให้สัมภาษณ์กับ Charlie Rose เมื่อปี 2016
จนมาถึงทุกวันนี้ Amazon กลายเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าเกือบทุกอย่าง ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้ายันเสื้อผ้า กลายเป็นบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของโลก ไม่เพียงเท่านั้น ยังเสนอที่จะซื้อกิจการรายการโทรทัศน์ Whole Foods และมีแผนที่จะเปิดกิจการจัดส่งสินค้าของตัวเองด้วย ตามรายงานของ The Wall Street Journal วิสัยทัศน์ของ Bezos นี้ทำให้ Amazon เติบโตและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
“เรามีความสุขมากที่ได้ลงทุนกับโครงการใหม่ ๆ ทั้งที่มันเสี่ยง และอาจต้องจะใช้เวลานานถึง 5-7 ปี แต่เพราะบริษัทอื่นหลาย ๆ บริษัทไม่กล้าที่จะเสี่ยงเปลี่ยนแปลงอะไรแบบนี้” Bezos กล่าวกับ Rose “มันเป็นการผสมความคิดของการมองผลระยะยาวและความกล้าที่จะเสี่ยง จึงทำให้ Amazon เป็นบริษัทที่ไม่เหมือนใคร แต่พิเศษกับคนกลุ่มเล็ก ๆ”