เคล็ดลับสำหรับมือใหม่หัดเที่ยวทริปจักรยานเสือภูเขา
หากคุณเป็นนักเดินทางที่รักการผจญภัยและชื่นชอบการขี่จักรยาน โดยคุณมีจักรยานเสือภูเขาที่ถูกใจอยู่ 1 คัน ทำให้คุณรู้สึกอยากออกเดินทางด้วยจักรยานเสือภูเขาคันนั้นเป็นครั้งแรก นอกจากคุณต้องเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยเสื้อผ้า เสบียง กระเป๋าฉุกเฉิน และแผนที่เส้นทางแล้ว คุณยังต้องการอะไรอีกบ้าง เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะพึงพอใจกับการเดินทางที่ยาวนานในครั้งนี้ มาอ่าน 12 เคล็ดลับในการออกเดินทางด้วยจักรยานเสือภูเขาเป็นครั้งแรก!
เคล็ดลับที่ 1 : คุณทำได้
ทริปการเดินทางด้วยจักรยานเสือภูเขา ถือเป็นทริปที่ต้องผจญภัย อีกทั้งหลาย ๆ เส้นทางยังค่อนข้างอันตราย แต่ขอเพียงแค่คุณมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่า “ฉันคิดว่าฉันทำได้ ฉันคิดว่าทำได้ ฉันคิดว่าทำได้!” ก็ทำให้คุณมีความกล้ามากขึ้นที่จะลอง และสามารถปั่นจักรยานเสือภูเขาเที่ยวได้
เคล็ดลับที่ 2 : ทำตัวเองให้เบาที่สุด
คุณไม่จำเป็นต้องมีรองเท้าลำลองมาเผื่อเปลี่ยน คุณเพียงแค่เตรียมเสื้อผ้าที่คุณรู้สึกว่าใส่สบายก็พอ และมีชุดปั่นจักรยานสัก 2 ชุดและพกแค่อุปกรณ์ที่จำเป็นหรือมีประโยชน์เท่านั้น อะไรไม่จำเป็นถ้าทิ้งได้ก็ทิ้ง ทำตัวให้เบาที่สุด ของบางอย่างที่ใช้ซ้ำได้ ให้ทิ้งอย่างอื่น เก็บไฟแช็กไว้
เคล็ดลับที่ 3 : ฟังคำแนะนำจากเพื่อนร่วมเดินทางหรือคนที่มากประสบการณ์กว่า
ฟังคำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า พวกเขาจะแนะนำได้ถูกต้องถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ณ เวลานั้นเลยทีเดียว บอกเพื่อนร่วมทางถ้าคุณเจ็บปวด อารมณ์เสีย เหนื่อย หรือต้องการหยุดพัก ดีกว่าใช้เวลา 3 สัปดาห์ในการแบกรับการเดินทางแบบที่คุณไม่มีความสุข เมื่อไปถึงที่หมายแล้วให้ แบ่งงานระหว่างคุณกับบัดดี้ หรือเพื่อนร่วมทางตามหน้าที่ที่วางไว้
เคล็ดลับที่ 4 : เลือกจัดชุดจักรยานให้เหมาะสม
ร้านจักรยานหลายมีบริการ ‘Bike Fits’ เพื่อตรวจสอบจักรยานที่คุณจะใช้ในทริปว่าเหมาะสมกับคุณหรือไม่ ตั้งแต่ความสูงของหลักอานไปจนถึงความยาวของก้านจักรยาน เพื่อให้คุณสามารถใช้งานจักรยานคันนี้ได้อย่างมั่นคง สบายตัว จริง ๆ แล้วจักรยานทุกคันสามารถใช้สำหรับเดินทางได้ แต่ก็ต้องเลือกให้เหมาะกับระยะทางและลักษณะของเส้นทาง โดยที่คุณจะต้องรู้สึกสบายตัวไม่ว่าจะใช้จักรยานคันไหน เพราะจะทำให้คุณขี่จักรยานได้อย่างมั่นคง และช่วยในการถ่วงน้ำหนักส่วนเกินที่คุณแบกไว้ได้ดีขึ้น ทำให้การขี่จักรยานที่มีสัมภาระมาด้วยนั้นง่ายขึ้น
เคล็ดลับที่ 5 : ฝึกให้ชินก่อนเดินทาง
เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถภาพของคุณ ถ้าเป็นไปได้ คุณควรฝึกฝนการขี่จักรยานเสือภูเขาในทุกลักษณะเส้นทาง เช่น บนทางที่มีพื้รผิวเป็นทรายและกรวดหิน ขี่บนเส้นสีขาวริมถนนแล้วรักษาสมดุลให้นานที่สุด รวมถึงท่ามกลางสภาพอากาศต่าง ๆ เช่น สายฝน ลมแรง แดดจัด หรือในช่วงพลบค่ำ เพื่อให้ตัวเองได้ปรับตัวให้ชิน
เคล็ดลับที่ 6 : เลือกเส้นทางที่เหมาะสม
เมื่อคุณต้องเลือกเส้นทางในการใช้จักรยานเสือภูเขาเดินทางครั้งแรก ให้เลือกและวางแผนเส้นทางที่คุณสามารถถึงจุดหมายหรือสิ้นสุดการเดินทางได้เร็วขึ้นในกรณีที่จำเป็น เพื่อให้คุณรู้สึกสนุกและเพลิดเพลินกับการปั่นจักรยานเสือภูเขาได้เรื่อย ๆ ในอนาคต ดังนั้น ต้องเลือกเส้นทางที่คุณคิดว่าสามารถควบคุมเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ทุกกรณี ก็เหมือนกับกีฬาชนิดอื่น ๆ ที่ควรฝึกและพัฒนาไปทีละนิด เพราะมันดีต่อสุขภาพร่างกายและมีเสน่ห์ดึงดูดมากกว่า
เคล็ดลับที่ 7 : เริ่มต้นด้วยทัศนคติเชิงบวก
ทัศนคติเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการจะเริ่มต้นทำอะไรบางอย่าง ลองยิ้มหรือพูดให้กำลังใจกับตัวเองในทุกวัน ในทางจิตวิทยานั้นสามารถเสริมสร้างกำลังในเชิงบวกให้กับตัวเองได้ในระยะยาว กำลังใจจากความตั้งใจจะลงมือทำ จะช่วยให้ระยะทางสั้นลง ง่ายขึ้น และสนุกขึ้น ซึ่งก็จะง่ายขึ้นสำหรับเพื่อนร่วมทางของคุณเช่นกัน ลองนึกถึงดอรี่ จากการ์ตูน เรื่อง Finding Nemo ดูก็ได้ มันแค่บอกกับตัวเองว่า “ว่ายต่อไป แค่ว่ายต่อไป แค่ว่ายต่อไป ว่ายน้ำ ว่ายน้ำ…”
เคล็ดลับที่ 8 : ใช้เกียร์ทั้งหมดที่มีบนจักรยานของคุณ
สารพัดเกียร์ต่าง ๆ บนจักรยาน เขามีไว้ให้ใช้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ใช้เกียร์ต่ำเมื่อคุณกำลังขึ้นเขา ไม่มีเหตุผลที่คุณจะต้องพยายามเอาชนะคนอื่นเพื่อไปให้ถึงจุดสูงสุดก่อน การหมุนขาของคุณให้เร็วขึ้นด้วยเกียร์ต่ำนั้นดีสำหรับเข่าและกล้ามเนื้อของคุณมากกว่าการใช้เกียร์สูงแล้วปั่นช้า ๆ
เคล็ดลับที่ 9 : กำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้
พยายามแบ่งช่วงเวลาของวันเป็นหลาย ๆ ช่วง โดยใช้วิธีหยุดกินอาหารหรือแวะสถานที่ท่องเที่ยวระหว่างทางเพื่อหยุดพัก และให้เวลากับตัวเองในแต่ละจุดอย่างเหมาะสม ไม่ต้องรีบร้อน ถ้าคุณต้องการจะขี่ไปแบบทำเวลา ให้ใช้วิธีออกเดินทางแต่เช้าตรู่แทนที่จะเร่งรีบเดินทางในตอนกลางคืน
เคล็ดลับที่ 10 : ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ไม่ว่าระยะทางของคุณจะไกลแค่ไหน ให้นำเครื่องดื่มติดตัวไปด้วยเสมอ หรือวางแผนแวะเติมเครื่องดื่มในเส้นทาง ถ้าเป็นการเดินทางแบบสบาย ๆ คุณสามารถดื่มน้ำได้ทุกเมื่อที่ต้องการ แต่ถ้าเป็นการเดินทางที่ถือเป็นการเล่นกีฬาอย่างหนึ่ง แนะนำให้ดื่มน้ำประมาณ 0.5 ถึง 1 ลิตรต่อชั่วโมง จิบทีละนิดแต่จิบบ่อย ๆ หากเดินทางท่ามกลางอากาศร้อน หรือมีเหงื่อออกมาก คุณควรดื่มให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ หากต้องการพลังงานด้วย ก็ให้เลือกน้ำผลไม้ติดตัวตลอดการเดินทาง
เคล็ดลับที่ 11 : ทำตัวเหมือนนักปั่นจักรยาน
สามเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ คือ เสื้อผ้า โภชนาการ และการดูแลร่างกาย อย่างเสื้อผ้า สวมใส่เครื่องแต่งกายสำหรับปั่นจักรยานให้เหมาะสม เช่น สวมกางเกงสำหรับปั่นจักรยานที่มีนวมบุ เสื้อที่น้ำหนักเบา ถุงเท้าที่ระบายอากาศได้ จะช่วยให้เหงื่อออกน้อยลงและรู้สึกสบายตัวระหว่างปั่นจักรยาน โภชนาการ มีเครื่องดื่มดับกระหาย และควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และมีอาหารที่ลดความหิวกระหาย ของว่างที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กล้วยและขนมขบเคี้ยวจากธัญพืช ซึ่งสามารถกินได้ตลอดทั้งวัน และสุดท้ายยืดกล้ามเนื้อหลังการปั่นทุกครั้ง จะช่วยลดอาการเจ็บปวดของร่างกายในวันถัดไปและสนุกสนานยิ่งขึ้น
เคล็ดลับที่ 12 : ข้อนี้คือคำแนะนำ เป็นทางเลือก ควรขี่จักรยานด้วยกันหลาย ๆ คน (เมื่อจะขี่จักรยานแยก)
อาจจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญ หากระดับความสามารถของคุณกับเพื่อนร่วมทางนั้นต่างกันมาก แต่จริง ๆ แล้วทุกคนสามารถที่จะผลัดกันขี่เร็วบ้างช้าบ้าง กินลมชมวิว พูดคุยกัน ร้องเพลง หรือหยุดแวะถ่ายรูป เพื่อให้ทริปนี้เป็นทริปร่วมกันของพวกคุณ ซึ่งคุณสามารถใช้ความเร็วของคุณเอง หรือปั่นให้ช้าลงหากมีใครคนหนึ่งต้องการลดความเร็ว นี่จึงเป็นเพียงข้อแนะนำ (แต่สนับสนุนเต็มที่) ว่าควรขี่ด้วยกันเป็นทีมจะดีกว่า