เช็กก่อนลาออก! มีเงินสำรองเเค่ไหนและเงินชดเชยใดบ้างช่วงว่างงาน

เช็กก่อนลาออก! มีเงินสำรองเเค่ไหนและเงินชดเชยใดบ้างช่วงว่างงาน

เช็กก่อนลาออก! มีเงินสำรองเเค่ไหนและเงินชดเชยใดบ้างช่วงว่างงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเบื่องานไม่ใช่เรื่องผิด แต่การลาออกโดยไม่คิดเรื่องเงินถือว่าเป็นเรื่องผิดมหันต์ นอกจากเรื่องที่คุณต้องมีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายของคุณอย่างน้อย 6 เดือน และลดภาระที่ไม่จำเป็น ก็ยังมีเงินที่เป็นสิทธิที่คุณควรได้ หรือ สิทธิ์บางอย่างที่คุณไม่ควรเสีย หรือเรื่องการเงินที่ต้องทำเพื่อสำรองชีวิตที่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นยังไงต่อไปไปดูกันเลย

1. เงินจากประกันสังคม
เงินที่ใครหลายคนจ่ายเสมอทุกเดือน แต่อาจจะไม่ค่อยได้ใช้สิทธิ์เท่าไหร่นัก จะมีประโยชน์กับคุณเมื่อคุณลาออกเช่นกัน เพราะนอกจากจะมีเงินเดือนให้เป็นระยะเวลาสามเดือนแล้ว ผู้ประกันตนที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน แต่ต้องไม่มีความผิดตามกฎหมายสามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายได้ 4 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต

และหากเราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน เราก็จะได้รับเงิน

กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000

กรณีลาออก/สิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย เช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท ลูกจ้างต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐหรือทางเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th/auth/register_member/ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ว่างงานและทำตามขั้นตอนที่ประกันสังคมกำหนด งานนี้คือสิทธิ์ที่เราจะได้


2. ไม่ควรถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะจะเสียภาษี โดยคุณต้องจัดการกับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีช่องทางแนะนำ 2 ทางเลือกคือ

คงเงินสำรองเลี้ยงชีพไว้ในกองทุน หากลาออกจากงาน ก่อนอายุ 55 ปีควรทำอย่างไร คุณควรคงเงินสำรองเลี้ยงชีพไว้ในกองทุน ไม่ต้องซื้อหน่วยเพิ่ม โดยจ่ายแค่ค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อรักษากองทุนเอาไว้ เพื่อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

โอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไป RMF แต่ต้องเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี เพื่อรอจนครบอายุ 55 ปี เพื่อรักษาประโยชน์ในการได้รับการยกเว้นภาษี เพราะเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวน ก็ต่อเมื่อสมาชิกออกจากงานโดยมี อายุ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 5 ปี

3. รีบทำบัตรเครดิตที่มีสิทธิ ประโยชน์ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคุณ
เพราะเมื่อว่างงานหรือออกมาเป็นฟรีแลนซ์ การทำบัตรเครดิตอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนตอนที่คุณเป็นพนักงานเงินเดือนประจำ เพราะฉะนั้นเลือกทำบัตรที่มีสิทธิ์ประโยชน์ดี ๆ ไว้สักใบก่อนตัดสินใจลาออกเพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็น

ตั้งสติก่อนตัดสินใจ ถามตัวเองถ้าหากอยากลาออกจริง ๆ ก็ควรมีความพร้อม และความรู้เพื่อจะได้รับสิทธิ์ที่ เราควรได้เต็ม ๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook