“การลาออกครั้งใหญ่” กับสังคมการทำงานของไทย

“การลาออกครั้งใหญ่” กับสังคมการทำงานของไทย

“การลาออกครั้งใหญ่” กับสังคมการทำงานของไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมามี การรายงานเรื่อง The Great Resignation หรือ “การลาออกครั้งใหญ่ของคนทำงาน” ซึ่งตรงกับสถิติเดือนสิงหาคมที่ ในสหรัฐอเมริกามีพนักงานลาออกจากงานสูงถึง 4.3 ล้านราย และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงการระบาดของโควิด-19

ซึ่งเหตุผลของการลาออกครั้งใหญ่ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้คนได้ พบเห็นการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตจากโรคระบาด พวกเขาต้องนั่งทำงานที่บ้าน ทำให้เกิดช่วงเวลาที่คนวัยทำงานเหล่านั้นนั่งคิดว่าหากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศอีกครั้งจะต้องเจอกับสภาพการทำงานที่เสี่ยงต่อโรคระบาดอีกหรือไม่ และถ้าการดูแลพนักงานในช่วงระหว่างที่ทุกคนต้องเผชิญกับสถานการณ์ของโรคระบาดไม่ได้รับการเอาใจใส่จากฝ่ายบริหารด้วยแล้ว พนักงานส่วนใหญ่จะตัดสินใจที่ จะไม่ไปต่อกับบริษัททันที

แนวโน้มที่จะเกิด “การลาออกครั้งใหญ่” ในเมืองไทย
“การลาออกครั้งใหญ่” ในเมืองไทยนั้นอาจจะยังไม่ได้มี ความน่าวิตกเท่ากับในสหรัฐอเมริกา เพราะส่วนหนึ่งสวัสดิการของรัฐกับคนที่ ทำงานในไทยและสหรัฐอเมริกาต่างกันมากในแง่ของเงินช่วยเหลือในช่วงระหว่างการว่างงาน แต่การลาออกครั้งใหญ่ในเมืองไทย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องที่ลูกจ้างถูกพักงานชั่วคราวและไม่ได้รับเงินเดือน หรือค่าแรง ทำให้พวกเขาขอลาออกจากงานที่ ทำอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานบริการตามร้านอาหารหรือภาคธุรกิจท่องเที่ยว และที่เกี่ยวเนื่อง

คนที่ถูกลดเงินเดือนไปจนถึงไม่ได้รับเงินเดือนเลย ส่วนใหญ่แล้วจะตัดสินใจลาออกเพื่อไปหาที่ใหม่ที่ดีกว่าเก่า และมีจำนวนไม่น้อยที่ก้าวออกจากอาชีพเดิมไปเริ่มต้นใหม่ในถิ่นฐานบ้านเกิด รวมไปถึงบัณฑิตจบใหม่ในปัจจุบันที่ไม่อยากเป็ นลูกจ้างใคร และคิดที่จะสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้เกิด “การลาออกครั้งใหญ่” ในเมืองไทยได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงานที่ เพิ่งเริ่มทำงาน และคนที่ทำงานในภาคบริการ

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการในไทยกับ “การลาออกครั้งใหญ่”
หลังมีการรายงานถึงการลาออกครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกานั้น ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต และการบริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะคล้ายกั บในประเทศไทย ในช่วงเวลาอีกไม่กี่เดือนข้ างหน้าที่สถานประกอบการจะได้กลับมาเปิดเกือบปกติตามนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล

เนื่องจากในช่วงเวลาสองปีที่ผ่านมาสถานประกอบการส่วนใหญ่จะพักงานพนักงานหรือไม่จ่ายเงินเดือนพนักงาน และ ทำให้พนักงานจำนวนมากต้ องลาออก หยุดอายุงานตนเองเพื่อรั บเงินชดเชยจากประกันสังคม เมื่อสถานประกอบการได้กลั บมาเปิดอีกครั้ง สิ่งที่เราจะได้เห็นต่อจากนี้คือป้ายติดหาพนักงานตามหน้าสถานประกอบการ

และไม่เพียงแค่ขาดแคลนแรงงาน แต่สถานประกอบการทั้งหลายจะต้องมาฝึกพนักงานของตนเองใหม่ทั้งหมด เพราะพนักงานใหม่ที่ได้มาส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านงานบริการ หรืองานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมาก่อน ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะส่งผลต่อคุณภาพของการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงแรม หรือแม้แต่สถานบันเทิง หากต้องรับพนักงานเข้าใหม่คุณภาพของการให้บริการจะดรอปลงทันที

เตรียมรับมือกับ “การลาออกครั้งใหญ่” อย่างไร 
การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลต่อสภาพจิตใจ และมุมมองของคนในวัยทำงานหลายกลุ่ม การลาออกครั้งใหญ่ คือการโยกย้ายงานเดิมไปสู่ การทำอาชีพใหม่ ในขณะที่ผู้ประกอบการก็ต้องเปลี่ยนชุดคนทำงาน ไม่ว่าจะในธุรกิจขนส่ง ธุรกิจบริการ และธุรกิจท่องเที่ยว

บทเรียนจากโควิด-19 ในช่วงระยะเวลาเกือบสองปีที่ผ่านมาทำให้ทั้งผู้ประกอบการและคนทำงาน ไม่สามารถฝากชีวิตไว้กับธุรกิจเพียงอย่างเดียวได้ หากการเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อยืนหยัดอยู่ให้ได้ ในสถานการณ์ที่เลวร้ายเป็นสิ่ งสำคัญมาก

ซึ่งการเตรียมความพร้อมไม่ได้ หมายความถึงเจ้าของกิจการเพียงฝ่ายเดียว พนักงานหรือลูกจ้างเองก็ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเช่นกัน แต่สำหรับสถานการณ์ในครั้งนี้ อาจช้าไปแล้วสำหรับการเตรียมความพร้อม แต่ต้องเป็นการหาทางแก้ไข ด้วยการรับมือหากเกิด “การลาออกครั้งใหญ่”

โดยเจ้าของกิจการจำเป็นต้องเรียนรู้การทำงานทั้งหมด เพื่อให้สามารถหาคนใหม่ที่ เหมาะสมกับงานได้เข้ามารับผิ ดชอบหน้าที่ต่อได้อย่างทันท่วงที การฝึกหัดหรือเทรนนิ่งภายในองค์กรสำคัญมากเพราะนอกจากจะได้ สอนงานพนักงานใหม่แล้ว ยังได้ทดสอบความรู้ของพนักงานใหม่ ไปในตัว ขณะเดียวกันการรักษาพนักงานเก่ าที่มีคุณภาพก็สำคัญมากเช่นกัน การพิจารณาเพื่อให้ได้รับสวัสดิ การ เพื่อให้พวกเขาอุ่นใจหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันจะเป็นสิ่งที่ พนักงานโดยทั่วไปจะพิ จารณาจากบริษัทเช่นกัน

การลาออกครั้งใหญ่ในเมืองไทย อาจเป็นเรื่องที่หลายคนคิดว่ามี ความเป็นไปได้ยาก แต่แท้จริงแล้วเรื่องนี้เปรียบเสมือนคลื่นใต้ น้ำ เมื่อวันหนึ่งคนวัยทำงานมองไม่ เห็นอนาคตของตนเองพวกเขาจะตัดสินใจลาออกได้ไม่ยาก ไม่เหมือนดังเช่นรุ่นพ่อแม่ ของพวกเขาที่ยอมอดทำเพื่อดูแลครอบครัว ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริง ผู้ประกอบการและคนวัยทำงานทุกเจเนอเรชันก็ต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้ เพื่อจะได้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook