จำเป็นแค่ไหนที่ต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุ 30
ยุคสมัยและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของสังคม รวมไปถึงการใช้ชีวิตอยู่กับเสียงสะท้อนในโลกของตนเอง อันเกิดจากโซเซียลมีเดีย ทำให้คำว่า “อายุน้อยร้อยล้าน” กลายเป็นเป้าหมายในชีวิตของคนยุคใหม่ที่ต้องพาตนเองไปสู่ ความสำเร็จให้ได้ ภายในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องสนใจวิธีการ หรือความเสี่ยง และไม่ได้มองถึงความยั่งยืนที่ จะเกิดขึ้น ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวบางคนไปถึง บางคนเกือบถึง บางคนไปไม่ถึง และอีกหลายคนนั่งโทษโอกาสและสังคมที่ทำให้ตนเองเป็นไม่ได้ แบบคนอื่น
ทั้งหมดนี้ได้สร้างค่านิยม และสังคมที่เต็มไปด้วยคนที่มองเห็นแต่ความต้องการของตนเอง คนที่อยากได้อยากมีเหมือนคนอื่นโดยไม่สนใจวิธีการ ซึ่งทั้งหมดเกิดจากทัศนคติที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาว่า “คนที่ประสบความสำเร็จในอายุน้อยนั้นเป็นคนเก่ง” แท้จริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เบื้องหลังความเก่งที่หลายคนเห็นผ่านสื่อ เป็นความเก่งของเขาทั้งหมด หรือ เป็นภาพที่ถูกส่งออกมาจากกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลัง
บทความเรื่องนี้จะมาสร้างความเข้าใจถึงความสำเร็จที่ ไม่จำเป็นต้องมาตอนอายุน้อย ไม่จำเป็นต้องมีช่วงเวลา และต่อให้คุณจะล้มมาสักกี่ครั้งคุณก็สามารถไปถึงฝันที่เป็นฝันของคุณเองจริง ๆ ได้ด้วยตัวของคุณเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อความเยินยอจากโลกโซเชียลหรือคนรอบข้าง
อายุ 30 เป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของการมองโลกแบบใสซื่อสู่คนที่ มีประสบการณ์ชีวิต
ถ้าคุณอายุ 30 ลองสำรวจตัวเองกันหน่อยว่าคุณรู้ สึกแบบนี้กันหรือเปล่า คุณเริ่มรู้สึกไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน คุณรู้สึกว่าคุณตัดสินใจผิ ดมาตลอดเส้นทางการทำงาน คุณไม่ค่อยอยากพูดถึงงานของตนเองให้ใครฟัง โดยเฉพาะคนที่คุณเห็นว่าเขาประสบความสำเร็จเหนือกว่าคุณ ความรู้สึกแบบนี้หลายคนมองว่าเป็นความรู้สึกหมดไฟของคนวัย 30
แต่เอาเข้าจริงแล้วเป็นเรื่องที่ ของการเปลี่ยนผ่านทางวัยวุฒิ มากกว่า งานวิจัยของสถานบันในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 1996 นั้นระบุว่า ความพึงพอใจในการทำงานของผู้ คนนั้นจะเป็นรูปตัว “ยู” และช่วงตกของตัวยู นั้นจะอยู่ในระหว่างช่วงอายุ 30-40 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มพุ่งขึ้นอีกครั้ง
เมื่อวัยทำงานก้าวเข้าสู่ช่วงอายุ 30 พวกเขาจะมีความต้องการมากขึ้น เริ่มตั้งเป้าความสำเร็จให้กับตนเอง ทำอย่างไรให้หน้าที่ การงานโดดเด่น หรือแม้กระทั่งการก้าวเข้าสู่ สถานะผู้ประกอบการ ซึ่งแน่นอนว่าในวัยที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยเรียนเข้าสู่ สถานะผู้ใหญ่เต็มตัวนั้นต้องมี ประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์ชีวิตไปพร้อม ๆ กับ ช่วงวัย 30 อัป จึงเป็นช่วงวัยที่ทุกคนต้องเจอกับทั้งเรื่องดีและเรื่องร้ายไปพร้อมกัน บางคนรับมือได้ บางคนรับมือไม่ได้ แต่การใช้ชีวิตยังคงต้องดำเนินต่อไปแม้ว่าจะไปไม่ถึงเป้าหมาย เพราะจังหวะและเวลามาไม่ตรงกัน
เอาเข้าจริงแล้ว การมองโลกอย่างตกผลึกนั้น ตามงานวิจัยระบุว่าจะอยู่ในวัย 50 ปีที่คนวัยนี้จะมีมุมมองเรื่องงานที่นิ่งกว่าวัย 30 อัป เพราะประสบการณ์ การทำงานและประสบการณ์ชีวิตทำให้พวกเขามองออกว่า สถานการณ์แบบไหนต้องจัดการอย่างไร ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และสามารถที่จะสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตได้
เหนืออื่นใด เราต้องทำความเข้าใจกันใหม่ก่อนว่าทุกวันนี้ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ และการดูแลตนเองทำให้ คนเราสามารถทำงานได้จนถึงอายุ 70 ปีดังนั้นอายุ 50 ไม่ใช่วัยใกล้เกษียณ หากเป็นวัยที่พร้อมทั้งด้านวุฒิ ภาวะทั้งทางอารมณ์และประสบการณ์ และยังมีเวลาเหลืออีกตั้ง 20 เพื่อที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทำไมเราต้องรีบผลักดันและกดดันตนเองให้ ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุ 30
ทุกวันนี้คนอยากประสบความสำเร็จเร็วเพราะสภาพแวดล้อมพาไป
การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่สามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมของชนเผ่า ความเชื่อประเพณี และการแบ่งระดับของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทุกอย่างถูกส่งต่อมาทางดีเอ็นเอ และมีวิวัฒนาการมาตามกาลเวลา มีความซับซ้อนมากขึ้น และกลายเป็นวิธีคิดของมนุษย์ทุ กคนที่ต้องเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นตลอดเวลา ชนิดที่ไม่มากก็น้อยที่ต้องตกเป็นเหยื่อของความคิดในลักษณะดังกล่าว
นักจิตวิทยามักจะให้คำแนะนำกับคนที่ติดกับดักทางความคิดตนเองในการเปรียบเทียบสิ่งที่ตนเองมีอยู่กับผู้ อื่นว่า ให้พอใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า และเอาความคิดทั้งหมดไปอยู่กับสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจ และให้ระวังว่าการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นนั้นจะทำให้ คุณเดินผิดทางไปสู่เป้าหมายของคนอื่น แทนที่จะเป็นเป้าหมายของตนเอง
โซเชียลมีเดียทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น
โซเชียลมีเดีย เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในสังคมปัจจุบัน ทำให้การเปรียบเทียบรุนแรงขึ้น ยาวนานมากขึ้น และทำให้คนที่เปรียบเทียบตนเองกับความสำเร็จของผู้อื่นรู้สึกโทษตนเองมากขึ้น เพราะต้องเห็นการอัปเดตความสำเร็จของคนที่ ตนเองเอาไปเปรียบเทียบทุกวัน และด้วยความรู้สึกดังกล่าว ก็จะทำให้คุณด้อยค่าตนเอง และไม่รู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่ ทำอยู่
ซึ่งในความเป็นจริงถ้าเรามองโลกในแง่จริง เราจะรู้ว่าคนเรามีความสุขตลอดเวลาไม่ได้อยู่แล้ว แต่ในโลกโซเชียลมีเดีย ไม่มีใครแชร์ความผิดพลาดของตนเอง หรือความล้มเหลวของตนเองผ่านสื่อ ภาพที่ออกมาจึงมีแต่ ภาพความสำเร็จ และบางส่วนอาจเป็นการสร้างภาพลักษณ์ส่วนบุคคลเสียด้วยซ้ำ ที่ต้องทำให้ตนเองดูฉลาดและเก่งตลอดเวลา ทั้งที่ในความจริงแล้วเจ้าตัวอาจไม่ได้โพสต์เอง หากแต่มีทีมงานคอยเขียนบทให้
เพราะโซเชียลมีเดียไม่ใช่โลกจริง เป็นเพียงโลกเสมือนจริงและไม่มีทางที่จะมีใครมีชีวิตอยู่ได้ในโลกเสมือนจริง ดังนั้นหันมาโฟกัสการใช้ชีวิตอยู่ในโลกจริงของตนเอง และมีความสุขอยู่กับปัจจุบันที่คุ ณเป็น หากมีทุกข์ผ่านเข้ามาก็ค่อย ๆ แก้ ปัญหากันไป จะดีกว่าไปนั่งมองความสำเร็จของคนอื่นในโลกเสมือนจริง ที่เราไม่รู้ว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังมาอย่างไร
ครอบครัวกดดันให้ต้องประสบความสำเร็จเร็ว
ทุกครอบครัว ต้องมีคนหนึ่งคนในครอบครัว ที่เอาความต้องการที่ จะประสบความสำเร็จของตนเองในอดีต ไปใส่ให้กับลูกหลาน และเรียกมันว่า “ความหวังดี” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วคือการกดดันให้เด็กต้องแบกรับความคาดหวังที่พวกเขาไม่ได้ต้องการทำเลยแม้แต่น้อย สิ่งที่ตามมาคือการเปรียบเทียบ กดดัน และผลักดันให้เด็กเหล่านั้นทำให้ ได้ ยิ่งมีโซเชียลมีเดียมาเป็นตัวขับเคลื่อนในการอวดความสำเร็จของสมาชิกในครอบครัว ยิ่งทำให้การผลักดันนั้นรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้ค่านิยมที่ต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุ 30 นั้นกลายเป็นค่านิยมที่เสมือนผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกคนต้องทำให้ได้
เอาเข้าจริงแล้ว ครอบครัวคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ เกิดค่านิยมและทัศนคติทั้งที่ถูกและผิด ซึ่งทุกวันนี้เราจะเห็นได้ชัดจากผลผลิตที่เกิดขึ้นมาในสังคมว่าแต่ละคนผ่านการเลี้ยงดู มาแบบไหน เด็กหลายคนในเมืองไทย ใช้คำว่า “ค้นหาตนเอง” ได้อย่างสิ้นเปลืองที่สุดด เพราะพ่อแม่เอาความฝันของตนเองไปใส่ในตัวลูก เลยทำให้เด็กไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วตนเองชอบหรือเปล่า หรือพ่อแม่บางกลุ่มแม้จะไม่ เอาความฝันของตนเองไปใส่ให้กับลูก แต่ก็เปรียบเทียบลูกตนเองกับลู กคนอื่นตลอดเวลา ทำให้เด็กไม่มี ความภาคภูมิใจในตนเอง
ครอบครัวคือพื้นฐานสังคมสำคัญในการสร้างคนหนึ่งคนขึ้นมา และคนคนนั้นจะมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่ออนาคตของสังคม ดังนั้น อย่าได้ผลักเอาความต้องการของตนเองที่ไปใส่เป็นภาระให้กับเด็ก หากแต่ผลักเอาความรักและความเข้าใจให้กับเด็กจะดีกว่า จำไว้ว่า “เด็กจะไม่โตมาเป็นอย่างที่คุณอยากให้เป็น เขาจะเป็นอย่างที่คุณเป็น” ถ้าไม่อยากให้ค่านิยมผิด ๆ ประเภท “อายุน้อยร้อยล้าน” บานปลายกลายเป็น “อายุน้อยหนี้ร้อยล้าน” ขอให้เริ่มจากกลุ่มที่เล็กที่สุ ดในสังคมอย่างครอบครัวก่อน แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น