10 เคล็ดลับทางจิตวิทยาที่น่าสนใจ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

10 เคล็ดลับทางจิตวิทยาที่น่าสนใจ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

10 เคล็ดลับทางจิตวิทยาที่น่าสนใจ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นนั้น เราไม่สามารถหลีกหนีเรื่องการติดต่อสื่อสารกับบรรดาเพื่อนร่วมงานของเราได้เลย ที่สำคัญ หลาย ๆ คนก็ยังรู้สึกว่าการสื่อสารติดต่อพูดคุยกับคนอื่นนั้นเป็นเรื่องยากอีกต่างหาก เพราะเราต่างก็ไม่รู้เหมือน ๆ กันว่าจะสื่อสารอย่างไรให้เกิดความประทับใจ และเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี มีเคล็ดลับทางจิตวิทยาที่อาจช่วยให้เรื่องนี้ง่ายขึ้น ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ราบรื่นมากขึ้นด้วย

ลองมาเรียนรู้เคล็ดลับง่าย ๆ ที่ช่วยให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการโดยไม่ต้องใช้วิธีหลอกล่อผู้อื่น เพียงแค่ปรับปรุงวิธีการสื่อสารของตนเอง และระมัดระวังการสานสัมพันธ์กับผู้อื่นเท่านั้น

1. มองตาอีกฝ่าย หากคุณได้รับคำตอบที่ไม่น่าพอใจ
เวลาที่ต้องพูดคุยเรื่องงานกับเพื่อนร่วมงาน คงจะมีอยู่บ้างเหมือนกันที่เราจะได้รับคำตอบที่ไม่น่าพอใจสักเท่าไร หรือบางทีเราอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังพูดอยู่เลยก็เป็นไป ก่อนที่จะถามซ้ำหรือไปไขข้อข้องใจกับคนอื่น ให้ลองมองเข้าไปในตาของคนนั้น แค่มองเฉย ๆ นะ ไม่ต้องใช้แววตาแบบเข่นเขี้ยวเคี้ยวฟันหรือจ้องเอาเป็นเอาตายเหมือนคนอาฆาตแค้นอะไร การมองตาจะทำให้บุคคลนั้นรู้สึกกดดัน เหมือนว่ากำลังถูกต้อนให้จนมุม มันจะช่วยบังคับให้เขาต้องอธิบายอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้คนอื่นเข้าใจกระจ่างขึ้น

2. จงนิ่งไว้หากใครสักคนกำลังขึ้นเสียงใส่
เราอาจจะต้องใช้ทั้งความอดทนและความพยายามอย่างแรงกล้าที่จะสงบสติอารมณ์ตนเองให้ได้ หากมีใครสักคนมาระบายอารมณ์โมโหกับเราโดยการขึ้นเสียงใส่ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นผลข้างเคียงมาจากอารมณ์โกรธ ซึ่งมันสามารถกระตุ้นให้เราอารมณ์ขึ้นตามได้โดยไม่ตั้งใจเหมือนกัน ถึงในใจเราจะอยากเกรี้ยวกราดใส่คืนก็ตาม แต่ให้พยายามนิ่งไว้ให้ได้มากที่สุด ความเงียบจะทำให้รู้สึกโกรธของอีกฝ่ายบรรเทาลงอย่างรวดเร็ว และแทนที่ด้วยความรู้สึกผิด แล้วในท้ายที่สุดเขาก็จะมาขอโทษเราเองที่เหวี่ยงใส่เราโดยไม่มีเหตุผล

3. นั่งใกล้กับคนที่หัวร้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ
หากกำลังจะเข้าประชุมงาน แล้วในที่นั้นมีบุคคลหัวร้อนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นบุคคลที่สุ่มเสี่ยงที่เราจะไปมีปัญหาทะเลาะกับเขาได้ หากการสนทนาร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนอารมณ์เดือด หรือเราอาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงในเชิงลบ จงเลือกที่นั่งข้าง ๆ กับเขา อาจจะรู้สึกอึดอัดก็จริง แต่รู้ไว้ว่าไม่ได้มีเราคนเดียวที่อึดอัด การที่เรานั่งตรงนั้นจะทำให้เขารู้สึกอึดอัดและไม่สบายใจด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเริ่มมีการถกเถียงกันเกิดขึ้น เขาจะทำอะไรไม่ค่อยถูก ความคิดในหัวจะเรียบเรียงได้ยากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดระดับความก้าวร้าวเกรี้ยวกราดของเขาลงได้

4. ถ้าอยากเป็นคนที่โดดเด่น ต้องจำชื่อเพื่อนร่วมงานทุกคนให้ได้
แม้ว่าใครหลายคนจะอยากอยู่เงียบ ๆ ในมุมส่วนตัวของตัวเองเท่านั้นเวลาที่ต้องทำงาน แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยากโดดเด่นหรือเป็นที่รู้จักในหมู่เพื่อนร่วมงาน หากเป็นคนประเภทหลัง ต้องเริ่มจาก “จำชื่อเพื่อนร่วมงานทุกคนให้ได้” และเรียกชื่อพวกเขาก่อนเริ่มบทสนทนาให้เป็นนิสัย การเริ่มต้นทักทายพวกเขาด้วยการเรียกชื่อนั้นจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเป็นคนพิเศษขึ้นทันที ช่วยให้พวกเขาก็จะเปิดใจได้ง่ายขึ้น อยากที่จะพูดคุยด้วย

5. ระบายความเครียดหรือความวิตกกังวลออกมาด้วยการเขียน
เป็นธรรมดาที่การทำงานจะนำพาซึ่งความเครียดและความวิตกกังวลมาหาเรา ไม่ว่าจะเครียดตัวงานหรือเครียดคนที่ร่วมงานด้วยก็ตาม เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เริ่มจะทนไม่ไหว ให้เขียนระบายลงสมุดบันทึกหรือกระดาษ แล้วปิดมันลงหรือทำลายทิ้งไปซะ จะช่วยให้คุณกลับมาตั้งสติและโฟกัสกับงานได้อีกครั้ง การกระทำเช่นนี้ก็เปรียบเหมือนกับการที่เราได้ระบายความรู้สึกนี้ไปให้ใครสักคนได้รู้ ความขุ่นมัวหรือภาระในใจก็จะลดลงตาม

6. เหลือตัวเลือกให้ตัวเองให้น้อยที่สุด เมื่อตัดสินใจไม่ได้
บางคนเชื่อว่าการมีตัวเลือกให้เยอะเข้าใว้เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้เรามีโอกาสได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดได้ แต่จริง ๆ แล้ว ยิ่งคนเรามีตัวเลือกมากขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งตัดสินใจเลือกได้ยากขึ้นเท่านั้น ซึ่งบางทีมันก็เสียเวลาเกินไปหากตัดสินใจช้า ข้อแนะนำคือ ให้ตัดตัวเลือกหลาย ๆ ข้อออก และให้เหลือไว้มากที่สุดเพียง 4 ตัวเลือกเท่านั้น นี่เป็นจำนวนที่มากที่สุดที่เราจะพิจารณาและตัดสินใจเลือกได้ และลดขั้นตอนการลังเลลงไป อย่างไรก็ดี หากเราเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ (ที่ต้องตัดสินใจเร็วและเด็ดขาด) ควรมีตัวเลือกให้ตัวเองครั้ง 2-3 ตัวเลือกก็พอ

7. บุคลิกภาพที่ดี ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจได้จริง
เคล็ดลับทางจิตวิทยาที่ใช้สร้างความประทับใจกับบุคคลอื่น ง่าย ๆ เลยคือการมีบุคลิกภาพที่ดี ไม่ว่าจะในที่ทำงานหรือการเข้าสังคมทั่วไปก็ตาม อีกทั้งหลายต่อหลายคนยังให้ความสำคัญกับบุคลิกภาพถึงขนาดว่าเป็นหนึ่งในขั้นบันไดที่นำไปสู่ความสำเร็จด้วยซ้ำ วิธีที่ง่ายที่สุดในการมีบุคลิกภาพที่ดี คือการปรับปรุงท่าทางของตนเอง ยืดหลังตรง พูดจาให้ฉะฉานแต่ไม่ก้าวร้าว จะช่วยเรียกความมั่นใจได้ทันที รู้สึกว่าตัวเองมีพื้นที่ให้ยืน รู้สึกเหมือนมีอำนาจบางอย่าง

8. วิธีการเอาชัยชนะเกมเป่ายิ้งฉุบ
เป็นเรื่องที่ฟังดูตลกนะ แต่วิธีนี้น่าสนใจ หากอยากเล่นเกมเป่ายิ้งฉุบให้ชนะคู่ต่อสู้ ลองพูดอะไรก็ได้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจอีกฝ่ายดู หรือจะถามคำถามอะไรเขาก็ได้ (แต่อย่าให้เขาจับโป๊ะได้) มันจะทำให้พวกเขารู้สึกสับสนและหลุดโฟกัสการเล่นเกมไปช่วงหนึ่ง จากนั้นค่อยเล่นต่อ มีความเป็นไปได้สูงทีเดียวที่อีกฝ่ายจะออกกรรไกรมาให้เราเสมอ!

9. ถ้าต้องการความช่วยเหลือ ก็แค่ต้องบอกว่า “ฉันต้องการความช่วยเหลือ”
หากต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคน ให้เริ่มต้นด้วยการบอกพวกเขาไปเลยว่า “ฉันต้องการความช่วยเหลือจากคุณ” ปกติแล้วถ้าถูกจู่โจมแบบนี้ จะทำให้คนฟังรู้สึกผิดได้ง่ายมากหากเขาปฏิเสธความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราจะชอบการเป็นคนสำคัญที่ถูกร้องขอความช่วยเหลือ และเกลียดความรู้สึกผิดมาก ดังนั้น มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะเต็มใจช่วยเหลืออย่างที่เราต้องการง่ายขึ้น และจะรู้สึกผิดไปเลยหากไม่ช่วย

10. ทำให้มือตัวเองอุ่นก่อนที่จะจับกับมือผู้อื่น
รู้หรือไม่ว่ามือเย็น ๆ ที่เราใช้จับกับผู้อื่นตอนทำความรู้จักกันนั้นอาจเชื่อมโยงไปถึงความไม่ไว้วางใจ ดังนั้น หากต้องติดต่อธุรกิจกับชาวต่างชาติ แล้วต้องทักทายพวกเขาด้วยการจับมือล่ะก็ ต้องทำให้มือตัวเองอุ่นขึ้นก่อนที่จะจับมือเขา มือที่อบอุ่นจะช่วยส่งเสริมบรรยากาศความเป็นกันเอง และอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของตัวเราได้ด้วยนะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook