รู้จักอาการ ‘Hangxiety’ ภาวะวิตกกังวลของสายเมา หลังผ่านค่ำคืนสังสรรค์อันหนักหน่วง

รู้จักอาการ ‘Hangxiety’ ภาวะวิตกกังวลของสายเมา หลังผ่านค่ำคืนสังสรรค์อันหนักหน่วง

รู้จักอาการ ‘Hangxiety’ ภาวะวิตกกังวลของสายเมา หลังผ่านค่ำคืนสังสรรค์อันหนักหน่วง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     หลังจากปาร์ตี้สังสรรค์อย่างหนักหน่วงเมาไม่ได้สติ หลายๆ คนมักตื่นมาพร้อมกับอาการเมาค้าง ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการที่เรียกว่า 'Hangxiety' ซึ่งเป็นอาการผสมระหว่างเมาค้าง (Hangover) กับความวิตกกังวล (Anxiety) เกิดขึ้น

     Hangxiety จะแสดงอาการออกมารูปแบบการปวดศีรษะ อ่อนล้า กระหายน้ำ และคลื่นไส้ แต่จะมีความรู้สึกวิตกกังวลเกิดขึ้นตามมาด้วย โดยความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนี้จะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน

     เคร็ก กันน์ (Craig Gunn) อาจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยบริสตอล ซึ่งเคยทำการศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเมาค้างต่อความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ได้อธิบายว่า "ในขณะที่ร่างกายกำลังฟื้นฟูจากการแฮงเอาต์ อาการเมาค้างจะทำให้เกิดสถานะความเครียดทางกายภาพขึ้นมา ซึ่งปกติแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ เนื่องจากอาการเมาค้างสามารถสร้างผลกระทบต่อร่างกาย รวมทั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลต่อระดับคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนเครียด ความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นอาการลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นเมื่อมีความวิตกกังวล

     นอกจากนี้อาการเมาค้างยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของสมอง จากการวิจัยพบว่า สมองทำกิจกรรมโดยมีโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งร่วมด้วยต่ำกว่าปกติเมื่อมีอาการเมาค้าง ซึ่งนี่คือปัจจัยสำคัญของความวิตกกังวลเมื่อเมาค้าง เพราะโดปามีนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมความวิตกกังวล จึงอาจทำให้บางคนรับมือกับความเครียดที่เพิ่มขึ้นในขณะเมาค้างได้ยาก และอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีอาการเมาค้าง

     กันน์ ยังพบว่าผู้คนที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ระหว่างเมาค้าง สำหรับบางคนอาจรู้สึกมีปัญหามากขึ้นในการควบคุมอารมณ์เมื่อเทียบกับตอนที่ไม่ได้เมาค้าง นอกจากนี้เมื่อทีมวิจัยได้ดูงานวิจัยอื่นเกี่ยวกับอิทธิพลของการเมาค้างต่อความสามารถในการจัดการ (Executive Function - ความสามารถที่เกิดจากการทำงานของสมองที่ช่วยให้คนเราสามารถควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรมเพื่อให้ได้ผลพัพธ์ที่ต้องการได้สำเร็จ) ที่ได้ใช้ชุดทดสอบสมรรถภาพทางจิตใจ (Mental Skill) กับผู้เข้าร่วมการศึกษาก็พบว่า คนที่เมาค้างมีประสิทธิภาพที่แย่ในส่วนของความสามารถในการจัดการหรือ Executive Function ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนรับมือกับความวิตกกังวลและหยุดความวิตกกังวลได้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่าหากสมรรถภาพทางจิตใจย่ำแย่ในขณะเมาค้าง ก็อาจเป็นการอธิบายถึงการมีปัญหาเรื่องความวิตกกังวลของบางคนตอนเมาค้างได้

     ผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่า นักดื่มที่มีอาการ Hangxiety อาจเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนแอ ประสบเหตุการณ์ด้านลบในชีวิต มีความเศร้าหรือความโกรธในขณะดื่ม รวมไปถึงคนที่รู้สึกผิดเมื่อดื่มเหล้า นอกจากนี้อาการเมาค้างผสมวิตกกังวลยังเกิดมากกว่าในคนขี้อายมาก และเชื่อมโยงกับอาการที่เป็นภาวะหรือโรคที่มีผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้ระดับอาการ Hanxiety แตกต่างกันในแต่ละคน

     ส่วนการแก้ไขอาการ Hangxiety ทางผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่า ฝีกทำสมาธิ สงบจิตใจ และการดูแลตัวเองทั่วไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook