5 วิธีรับมือเมื่อถูก Lay off

5 วิธีรับมือเมื่อถูก Lay off

5 วิธีรับมือเมื่อถูก Lay off
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

          การถูก Lay off หรือการปลดออก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ให้นิยามไว้ว่า  คือ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเนื่องจากสาเหตุบางประการซึ่งมิใช่ความผิดของลูกจ้าง เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบ ภาวะการตลาด ภาวะการขาดทุน ผลผลิตล้นตลาด ฯลฯ

          ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร มันคงเป็นข่าวร้ายสำหรับพนักงานอย่างเราๆ เพราะมันส่งผลกระทบด้านการเงินมากเลยทีเดียว วันนี้มี 5 วิธีรับมือเมื่อถูก lay off 

1.วางแผนการเงินไว้เสมอ 

          การวางแผนการเงิน การจัดการความเสี่ยงนั้นเป็นสิ่งที่สมควรทำไว้ตลอดเวลา สำหรับช่วงที่มีงานทำ สิ่งสำคัญที่สุดคือเงินสำรองเพื่อฉุกเฉิน กรณีตกงาน ไม่สบาย คิดง่ายๆ คือ เอารายจ่ายที่เราใช้แต่ละเดือนคูณ 6 เช่น แต่ละเดือนใช้ 10,000 บาท ก็ต้องมีสำรองไว้ 60,000 บาท ส่วนหากถูก lay off หากมีเงินสำรองไว้ก็จะช่วยเราได้เยอะ สิ่งที่ตามมาคือตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป 

2.จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

           หากใครทำงานเอกชน บริษัทก็จะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อโดน lay off ให้ติดต่อ HR ให้เรียบร้อยเพราะเราจะได้เงินสะสมออกมาเป็นก้อน มันจะสามารถช่วยเราได้ในเรื่องการเงินระหว่างที่ตกงาน 

3.ติดต่อประกันสังคม 
 
          กรณีเราจ่ายเงินสบทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน กรณีว่างงานจากการลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาได้รับเงินทดแทน  30% ของค่าจ้าง กรณีถูกเลิกจ้างได้ 50% 

4.เคลียร์ทรัพย์สินและเอกสารที่บริษัท 

          ทรัพย์สินส่วนตัวที่เราไปใช้ในออฟฟิศ เคลียร์และเก็บให้เรียบร้อย เอกสารต่างๆ เช่น ค่าชดเชยในการเลย์ ออฟ ,ใบรับรองการทำงาน ,เอกสารข้อมูลที่เป็นผลงานหรือพอร์ตของเรา ให้ติดต่อ ขอให้เรียบร้อยก่อนวันสุดท้ายที่เราทำงาน 

5.เตรียมตัวหางานใหม่ 

          สุดท้ายชีวิตต้องไปต่อ เมื่อโดน lay off ออกมาแล้วให้เตรียมตัวหางานใหม่ไว้เลย บางคนอาจจะพักก่อนสักนิดก็ไม่ว่ากัน ส่วนการเตรียมตัวที่ว่านี้คือ เสริมสกิลให้ตัวเองเพิ่ม ,อัปเดตเรซูเม่ พอร์ตผลงานของเรา ,มองหางานที่เราอยากทำต่อไป หรือ งานเสริมที่เราอยากทำ 

          สิ่งที่สำคัญที่สุดที่อยากฝากไว้คือ แผนการเงินที่เริ่มทำตั้งแต่มีรายการ ตั้งแต่ทำงานอยู่ เพราะมันคือการจัดการความเสี่ยงที่ดีที่สุดและอีกข้อที่สำคัญคืออย่ายอมแพ้ ชีวิตสามารถเริ่มใหม่ได้เสมอ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook