วิธีเลี่ยงสงครามในบ้าน ขี้เกียจทะเลาะด้วยก็อย่าตอบโต้!

วิธีเลี่ยงสงครามในบ้าน ขี้เกียจทะเลาะด้วยก็อย่าตอบโต้!

วิธีเลี่ยงสงครามในบ้าน ขี้เกียจทะเลาะด้วยก็อย่าตอบโต้!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความขัดแย้ง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยในทุก ๆ สังคม ไม่เว้นแม้แต่ในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วความขัดแย้งในครัวเรือนมักจะก่อตัวขึ้นมาพร้อม ๆ กับปัญหาช่องว่างระหว่างวัย จากช่วงอายุของคนในบ้านเริ่มห่างกันเรื่อย ๆ โดยการที่แต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตไม่เท่ากัน ทำให้บางทีก็พูดคุยกันให้เข้าใจได้ลำบาก เมื่อเริ่มต้นคุยกันแรก ๆ อารมณ์และน้ำเสียงก็ยังปกติดี แต่หลังจากนั้นไม่นาน หากเริ่มมีการพูดย้ำเรื่องเดิมเกินสองครั้งขึ้นไป เราก็จะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากน้ำเสียงที่แข็ง ๆ และอารมณ์ที่ตึง ๆ ซึ่งบ่อยครั้งเหลือเกินที่เรื่องมันไม่จบลงแค่ตรงนี้

แบบไหนที่แปลว่าเรื่องไม่จบ วิธีสังเกตง่าย ๆ คือจะเริ่มมีพฤติกรรมเหล่านี้หลังจากที่มีสัญญาณของความเปลี่ยนแปลงแรก เช่น พูดเสียงแข็ง ขึ้นเสียงดัง ตวาดตะคอกโวยวาย บ่นไม่หยุด พูดแซะกระแนะกระแหน มีความประชดประชันเก่ง ขุดเรื่องเก่าขึ้นมาพูด กระแทกข้าวของ ทำเสียงดังโครมคราม หน้านิ่วคิ้วขมวด มองตาขวาง เป็นต้น หากสมาชิกคนใดคนหนึ่งมีพฤติกรรมเช่นนี้ใส่เรา ก็จงรู้ไว้ว่าสงครามความขัดแย้งได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

มันเป็นเรื่องที่อึดอัดและลำบากใจมากนะเวลาที่มีปัญหาขัดแย้ง ทะเลาะกับผู้ใหญ่ในบ้าน เพราะพวกผู้ใหญ่จะมีสถานะในความสัมพันธ์กันทางสายเลือด ที่ส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย ก็คงไม่มีใครมานั่งทะเลาะกันจนถึงขั้นตัดญาติขาดมิตรไม่เผาผีกันหรอก อย่างไรก็ดี นี่อาจจะเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ได้ทำอะไรกันมากไปกว่าการกวนประสาทให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าตนเองไม่พอใจ ด้วยการทำให้อีกฝ่ายรู้สึกหงุดหงิดและอารมณ์ไม่ดีตามไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมที่เหลืออดที่จะทนที่สุดก็คือ การแสดงออกด้วยการพูดทั้งหลาย ทั้งการบ่นไม่หยุด การขุดเรื่องเก่าขึ้นมาพูด หรือไม่ก็พูดแซะประชดประชันอยู่นั่นจนกว่าเราจะรู้สึก ถ้าเราตอบโต้ ก็แปลว่าเราฟิวส์ขาด หมดความอดทนแล้ว

ยิ่งเราตอบโต้ ยิ่งเข้าทาง เรื่องยิ่งไปกันใหญ่
ไม่มีมนุษย์หน้าไหนที่ชอบที่จะได้ยินสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวพูดถึงตัวเองในแง่ลบเวลาที่มีปัญหากระทบกระทั่งกันอยู่แล้วหรอก อย่าง การตำหนิ ดุด่าโดยไม่มีเหตุผล หรือชอบพูดแซะแบบลอย ๆ เหน็บแนมบั่นทอนจิตใจ แบบจงใจแกล้งพูดขึ้นมาให้กระทบอีกฝ่าย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เพราะคำพูดทำนองนี้แค่ได้ยินก็หงุดหงิดมีน้ำโหแล้ว ซึ่งถ้าเราตอบโต้ด้วยอารมณ์ที่เดือดเหมือนกัน ก็ยิ่งเหมือนราดน้ำมันลงกองไฟ

ทำหูทวนลมไปเลย แซะไม่ระบุตัวตนก็อย่าไปรับมา
เวลาที่เจออีกฝ่ายพูดบ่นไม่หยุด หรือแซะเล็กแซะน้อยจนเรารู้สึกรำคาญ ยิ่งถ้าเราพยายามจะตอบโต้ เรื่องก็ยิ่งแย่เพราะอารมณ์ของทั้ง 2 ฝ่ายจะคุกรุ่น จึงมักจะจบลงด้วยการโต้เถียงและทะเลาะกันเสมอ ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้เข้าใจกันอยู่ดีว่าอีกฝ่ายคิดอะไร ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าน้ำเสียงเริ่มแข็ง จากพูดเปลี่ยนเป็นโวยวาย ให้เราหยุดพูดทันที ปล่อยให้อีกฝ่ายพูดไปจนพอใจ เดี๋ยวเหนื่อยก็หยุดเอง จะฟังหรือจะหูทวนลมก็ตามสบาย ไม่มีประโยชน์ที่จะเอาชนะ

เมื่ออารมณ์มา เด็กกว่าจะกลายเป็นเด็กก้าวร้าวทันที
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องหยุดโต้คารมทันทีเมื่อเริ่มมีน้ำโห เพราะการเอาชนะไม่ได้ช่วยอะไรเลยหรอก ในเมื่ออีกฝ่ายก็แค่ต้องการจะทำให้เรารับรู้ว่าเขาไม่พอใจ โดยเขาไม่ได้อยากฟังเราพูดหรืออธิบายอะไรทั้งนั้น การพูดโต้ตอบจะเท่ากับการเถียงเสมอในเวลาแบบนั้น และเราก็จะรับบทเด็กก้าวร้าวด้วย ยิ่งถ้าเราเป็นฝ่ายต้อนเขาจนมุมจนเถียงไม่ได้ พวกเขาจะอคติกับเรามากขึ้นอีก ดังนั้น ไม่ว่าจะโต้แย้งอีกกี่ที ก็จะจบด้วยการทะเลาะกันบ้านแตกเสมอ

ใจเย็นให้ได้ ปล่อยไปเลย
ถึงจุดหนึ่งเราจะรู้ว่าการไม่ต่อความยาวสาวความยืด ทำให้เรื่องจบได้เร็วที่สุดแล้ว อย่างที่บอกว่าถ้าเขาพยายามยั่วโมโหเราด้วยการปั่นประสาท พูดแซะ บ่นไม่หยุด ถ้าเราตอบโต้ก็จะเข้าทาง จากที่เขาบ่นออกมาแบบไม่ระบุตัวตนว่าพูดถึงใคร เขาก็จะมีที่ลงที่ชัดเจนจากการที่เราตอบโต้ เรื่องก็จะยิ่งไม่จบ เสียเวลาทะเลาะ เสียแรง เสียสุขภาพจิต ทำใจเย็น ๆ ปล่อยให้สิ่งที่เขาพูดถึงเราเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ทำหูทวนลมไม่ได้ยินไปซะเขาก็ไม่รู้จะลงที่ใครแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook