Trauma Bonding เหตุผลว่าทำไมเราถึงยอมทนกับความสัมพันธ์แย่ๆ

Trauma Bonding เหตุผลว่าทำไมเราถึงยอมทนกับความสัมพันธ์แย่ๆ

Trauma Bonding เหตุผลว่าทำไมเราถึงยอมทนกับความสัมพันธ์แย่ๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

         โดนทำร้าย ไม่ว่าจะทางร่างกายหรือจิตใจกี่ครั้งก็ยังทนอยู่ พอโดนทำร้ายเสร็จเพียงได้รับคำขอโทษหรือทำตัวให้ดีๆ นิดหน่อยก็รู้สึกว่าความรักครั้งนี้มันดีจังเลย ใจอ่อนและอยากไปต่ออีกครั้ง แม้คนรอบข้างจะเตือนว่าให้พอได้แล้ว 

          หากใครเคยหรือกำลังอยู่ในสถานะแบบนี้ สิ่งนี้เรียกว่า Trauma Bonding จัดเป็น Stockholm Syndrome อย่างหนึ่ง เป็นคำที่ใช้เรียกอาการของคนที่อยู่ในความสัมพันธ์ที่มักถูกข่มเหงไม่ว่าจะทางร่างกายหรือจิตใจ เรียกง่ายๆ ว่าโดนเอาเปรียบในความสัมพันธ์ แม้รู้ว่ามันแย่ แต่ก็ยังติดอยู่ในความสัมพันธ์อยู่ดี ไปไหนไม่ได้ 

สาเหตุของ Trauma Bonding ประสบการณ์และสารเคมีแห่งความรัก 

          สาเหตุที่ทำให้เราตกอยู่ใน Trauma Bonding อาจจะมีอยู่สองสาเหตุหลักๆ อย่างแรกจากประสบการณ์ที่เจอมาในชีวิต เช่น วัยเด็กอาจจะถูกเลี้ยงดูโดยการทำร้าย เลี้ยงด้วยความรุนแรงแต่ก็มีการได้รับคำชม ทำให้ชินและคิดว่ามันคือการแสดงความรักอย่างหนึ่ง 

          ต่อมาเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่สุดคือการทำงานของสารเคมีในสมองอย่าง โดพามีน สารสื่อประสาทสารเคมีแห่งความสุข ที่หลั่งออกมาหรืออีกตัวอย่าง ออกซิโทซิน ที่หลั่งออกมาเมื่อได้สัมผัสคนที่เรารักแม้จะเป็นคนที่ทำร้ายเรา สารเคมีทั้งสองตัวนั้นส่งผลรุนแรงมากๆ มีการเปรียบเทียบไว้ อย่างในหนังสือ เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ก็ได้กล่าวไว้ว่า มันทำงานราวกับสารเสพติด เมื่อมันหายไปเรากลายเป็นคนที่ขาดยาและเมื่อเขากลับมาเราได้รับยาอีกครั้งมันก็เสพติดมากกว่าเดิม 


          คนที่อยู่ใน Trauma Bonding น้อยครั้งที่จะฟังคำพูดจากคนรอบตัว ที่บอกให้ปล่อยไปได้แล้ว เหตุผลก็อย่างที่กล่าวไป เราเสพติดมันจนถอนตัวไม่ขึ้น แล้วจะทำอย่างไร?

          คำแนะนำที่ดีที่สุดคือการรักตัวเอง มองเห็นคุณค่าในตัวเอง ลองมองย้อนกลับไปดีๆ กับสิ่งที่คนนั้นทำกับเรา ไม่มีใครสมควรได้รับสิ่งแย่ๆ ไม่มีใครสมควรโดนเอาเปรียบในความสัมพันธ์ เลิกดูถูกตัวเอง เลิกด่าว่าตัวเอง เลิกคิดว่าความรักครั้งนี้ดีที่สุด ถ้าความรักดี คุณจะไม่ต้องมานั่งเสียใจซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยที่อีกคนไม่ได้รู้สึกอะไรเลย 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook