ถ้าฝันจะเป็นนักลงทุน ต้องมี 6 ข้อนี้เป็นพื้นฐาน

ถ้าฝันจะเป็นนักลงทุน ต้องมี 6 ข้อนี้เป็นพื้นฐาน

ถ้าฝันจะเป็นนักลงทุน ต้องมี 6 ข้อนี้เป็นพื้นฐาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนฝันถึงการเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะรู้สึกว่าทำเงินได้เร็วและก้อนใหญ่ แต่ก่อนจะถึงวันนั้นต้องพิจารณาเวลาปัจจุบันที่คุณเป็นนักลงทุนมือใหม่เสียก่อน โดยสำรวจตัวเองว่าได้เตรียมตัวด้วย 6 ขั้นตอนนี้ ก่อนเราจะก้าวสู่สนามการลงทุนหรือยัง ลองมาดูความพร้อมของตนเองจาก 6 ข้อนี้

1. รู้จักตนเอง ว่ามีเป้าหมายการลงทุนอย่างไร?
วาง “เงื่อนไขการลงทุนในรูปแบบไหน?” และ “ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน?” เพราะจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่าจะเลือกลงทุนแบบไหนและสัดส่วนการลงทุนแบบใดที่จะเหมาะกับเรามากที่สุด

2. รู้จักทางเลือกลงทุน
นอกจาก “เงินฝากธนาคาร” ก็ยังมีอีกหลายทางเลือกที่จะลงทุนอีกมาก โดยตั้งต้นจากทางเลือกลงทุนหลัก 7 ประเภท ดังนี้

  • หุ้น เริ่มลงทุนเป็นเจ้าของกิจการโดยไม่ต้องนับหนึ่งใหม่
  • กองทุนรวม เงินลงทุนจะเติบโตผ่านมืออาชีพที่บริหารให้
  • อนุพันธ์ สามารถทำกำไรได้ตลาดทั้งขาขึ้นและขาลง
  • DW ใช้เงินลงทุนน้อย แต่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูง
  • ETF ซื้อง่าย ขายคล่อง ผลตอบแทนตามดัชนี
  • DR เทรดในไทย ลงทุนไกลถึงต่างประเทศ
  • ตราสารหนี้ ความเสี่ยงไม่มาก ได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ


3. รู้จักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและเทคนิค
ควรเข้าใจ “ปัจจัยพื้นฐาน” การลงทุนหรือสินทรัพย์ที่เลือกไว้ เพราะราคาจะขึ้นลงตามปัจจัยที่มากระทบ ดูภาพรวมเศรษฐกิจว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร? พร้อมกับใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ เพราะ “ปัจจัยเทคนิค” เป็นตัวช่วยกำหนดจุดซื้อ-จุดขาย เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการลงทุน

4. รู้จักสร้างพอร์ตและจัดทำคัมภีร์ลงทุน
การลงทุนที่ดีและประสบความสำเร็จ จะต้องมี “การสร้างพอร์ตลงทุนที่เหมาะกับตนเอง” ซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ดีนั้น ต้องกระจายความเสี่ยงได้อย่างสมดุล ต้องมีความยืดหยุ่น มีสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะกับเป้าหมาย และต้องเขียนคัมภีร์การลงทุนหรือ “นโยบายการลงทุน” ปัจจุบันเพื่อใช้เป็นกรอบในการตัดสินใจ

5. รู้จักลงมือทำตามแผน
เริ่มต้นด้วยการ “เปิดบัญชี” เพื่อใช้ในการซื้อหรือขาย ซึ่งกรณีลงทุนหุ้น ETF ตราสารหนี้ DW หรืออนุพันธ์ ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “โบรกเกอร์” ส่วนการลงทุนในกองทุนรวม การเปิดบัญชีครั้งแรก ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละแห่ง

6. รู้จักติดตามและทบทวนแผนการลงทุนสม่ำเสมอ
ขยันเข้ามาติดตามผล อาจจะทุก 6 เดือน หรือ 1 ปีก็ได้ โดยดูว่าผลตอบแทนที่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้แล้วหรือยัง? หากไม่ได้ตามเป้าหมายจะได้ “ปรับพอร์ตการลงทุน”

ข้อมูลจาก : SME BANK

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook