จริงหรือที่ว่าอนาคต AI จะมาแทนที่มนุษย์? อาชีพไหนที่ AI ทำแทนไม่ได้บ้าง?
คุณเคยรู้สึกไหมว่าการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับ AI หรือความสนใจเกี่ยวกับ AI มีมากขึ้น ในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลในเดือนเมษายนปี 2023 ชี้ให้เห็นว่า AI รูปแบบที่สามารถโต้ตอบได้ (ด้วยการสร้างข้อความ) และ AI รูปแบบอื่น ๆ กำลังเป็นที่สนอกสนใจอย่างมาก
เพียงแต่…ในอนาคต AI จะสามารถทำงานแทนคนได้เลยจริงหรือไม่ และมีอาชีพใดที่ยังต้องพึ่งมือมนุษย์อย่างเราบ้าง? ในบทความนี้เราจะมาดูอาชีพที่ AI เข้ามาทดแทนได้ยากกัน
ก่อนอื่น มาดูกันว่าอาชีพไหนที่ AI มีโอกาสเข้ามาแทนที่ได้
ตามเอกสารที่เผยแพร่โดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น “Mirai Jinzai Vision” ฉบับเดือนพฤษภาคม ปี 2022 ได้เขียนถึงการอยู่ร่วมกันกับ AI ไว้ว่า “ท่ามกลางความไม่แน่นอนในอนาคต ผู้คนให้ความสนใจเรื่องการสร้างทักษะขึ้นมาใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) การอยู่ร่วมกับ AI และหุ่นยนต์เพิ่มมากขึ้น”
นอกจากนี้ในเอกสารยังเขียนถึง “ประเภทงานที่มีโอกาสเปลี่ยนไปเป็นระบบอัตโนมัติกับจำนวนการจ้างงาน” ไว้ด้วย ซึ่งระบุไว้ว่างานที่มีโอกาสเปลี่ยนเป็นระบบอัตโนมัติสูงคืองานประเภทบัญชี และงานธุรการทั่วไปเป็นต้น
ในทางกลับกัน งานถูกระบุว่าเป็นงานที่ทำให้เป็นระบบอัตโนมัติได้ยากเป็นงานประเภท พยาบาล (รวมถึงผู้ช่วยพยาบาล) เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ (ทั้งในการรักษา งานด้านสวัสดิการ และอื่น ๆ )
อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตอยู่ว่า แม้จะมีการคาดการณ์ไว้ว่า “จำนวนแรงงานในประเทศญี่ปุ่น 49% จะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ แต่ในด้านความเป็นไปได้ที่ AI หรือหุ่นยนต์เป็นต้นจะเข้ามามีบทบาทในระบบนั้น ยังไม่ได้มีความเห็นเป็นเอกฉันท์” ดังนั้น จุดที่พึงระลึกคือ ระบบอัตโนมัติที่กล่าวมาไม่จำเป็นจะต้องเป็น AI เสมอไป
นอกจากนี้ในเอกสารฉบับเดียวกันนี้ยังระบุว่า “การจ้างงานจะลดลงในอาชีพที่สามารถทดแทนได้ด้วย AI หรือหุ่นยนต์ แต่ในขณะเดียวกันจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในแวดวงอาชีพที่ไม่สามารถใช้ AI หรือหุ่นยนต์ทดแทนได้ รวมถึงงานประเภทที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้วย หากดูการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ของจำนวนพนักงานที่ต้องการ (ในสถานการณ์ที่มีการเติบโตสูง)” คาดการณ์ว่าสายอาชีพหลัก ๆ 4 สายงานต่อไปนี้จะมีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น
- พนักงานในกระบวนการผลิต
- งานเทคนิค วิชาชีพเฉพาะ
- พนักงานบริการ
- พนักงานขนส่ง พนักงานควบคุมเครื่องจักร
ถ้ารวมสายงานที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วย คือพยาบาล (รวมถึงผู้ช่วยทางการแพทย์ / ผู้ช่วยพยาบาล) เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ (ทั้งในการรักษา งานด้านสวัสดิการ และอื่น ๆ) ก็จะรวมเป็น 5 สายงาน
ตามข้อมูลแบบสำรวจโครงสร้างค่าจ้างในปี 2022 (แยกตามประเภทงาน) พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของงานรักษาพยาบาลอยู่ที่ 296,700 เยน อุตสาหกรรมการผลิตอยู่ที่ 301,500 เยน และงานบริการเฉพาะทาง งานเทคนิค งานวิจัยเฉพาะทางอยู่ที่ 385,500 เยน ธุรกิจขนส่ง และไปรษณีย์อยู่ที่ 285,400 เยน
แม้ว่าค่าจ้างจะมีความแตกต่างกันไปตามงานแต่ละประเภท แต่อาจกล่าวได้ว่าโดยพื้นฐานแล้ว AI จะเข้ามาแทนที่งานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทาง และงานที่ต้องอาศัยกำลังคนได้ยาก
คุณสมบัติและทักษะที่มีแนวโน้มว่าจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต
จากเนื้อหาของเอกสารที่กล่าวมาแล้ว คาดการณ์ว่าผู้มีคุณสมบัติด้านการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ และด้านสวัสดิการ อาจมีความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และผู้มีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องจักรก็น่าจะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
อาจกล่าวได้ว่าทักษะเฉพาะทางและทางเทคนิคจะเป็นที่ต้องการ ส่วนงานที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะเปลี่ยนเป็นระบบอัตโนมัติอย่างงานบัญชี และงานธุรการทั่วไป AI จะแทนที่ได้ยากหากมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ผู้สอบบัญชี นักบัญชีภาษีอากร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีคุณสมบัติเป็นเลิศระดับประเทศในด้านการบัญชี หรือกฎหมายมากเพียงใด ยังมีการคาดการณ์ว่าในอนาคต AI จะสามารถดำเนินการงานเอกสารได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นประเด็นที่ว่า เราจะอยู่ร่วมกับ AI และใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างไร เป็นสิ่งที่น่าจับตามอง
สรุป
บทความนี้เราได้อธิบายถึงงานที่มีโอกาสแทนที่ด้วย AI และงานที่ AI เข้ามาแทนที่ได้ยาก แม้ว่าจะไม่สามารถคาดการณ์อนาคตที่แน่นอนได้ แต่งานที่ต้องอาศัยกำลังคนนั้นก็น่าจะเป็นไปได้ยากที่ AI จะมาทำทดแทนได้
แต่ถึงกระนั้น การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ AI ยังคงเป็นที่น่าจับตามองต่อไปในอนาคต
ผู้เขียน: นาเดชิโกะ