ผลสำรวจพบ′คอเหล้าไทย′ เสี่ยงปัญหา′สุขภาพจิต′

ผลสำรวจพบ′คอเหล้าไทย′ เสี่ยงปัญหา′สุขภาพจิต′

ผลสำรวจพบ′คอเหล้าไทย′ เสี่ยงปัญหา′สุขภาพจิต′
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมได้สำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี 2556 โดยสำรวจทุก 5 ปี เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคทางจิตเวช ปัญหาสุขภาพจิต สารเสพติด และการเข้าถึงบริการของคนไทย โดยครั้งนี้สำรวจกลุ่มตัวอย่างประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคลอย่างน้อย 3 เดือน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ.2556 จำนวน 4,727 คน ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และ กทม. โดยใช้เครื่องมือและการดำเนินงานตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

พบว่าโอกาสในการเกิดโรคหรือความชุกของกลุ่มโรคทางอารมณ์ ตลอดช่วงชีวิตของคนไทยเท่ากับร้อยละ 1.9 หรือประมาณ 1 ล้านคน โดยในกลุ่มโรคนี้พบซึมเศร้า ร้อยละ 1.8 หรือประมาณ 9 แสนคน หรืออาจกล่าวได้ว่า ใน 100 คนจะมี 2 คนที่เคยป่วยซึมเศร้าครั้งหนึ่งในชีวิต ขณะที่ความชุกของกลุ่มโรควิตกกังวลพบร้อยละ 3.1 หรือ 1.6 ล้านคน โดยพบภาวะสะเทือนขวัญหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) ร้อยละ 0.9 หรือประมาณ 5 แสนคน ส่วนปัญหาจากการใช้สุราและสารเสพติดพบความชุกสูงถึงร้อยละ 19.6 หรือประมาณ 10.1 ล้านคน ซึ่งถือว่าสูงมาก โดยพบปัญหาจากการใช้สุราร้อยละ 18 หรือ 9.3 ล้านคน และพบปัญหาจากการใช้สารเสพติด ร้อยละ 4.1 หรือประมาณ 2.1 ล้านคน

นพ.นพพร ตันติรังสี รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์ กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบความชุกของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ใช้เครื่องมือมาตรฐานสากลเดียวกัน พบว่าปัญหาจากการใช้สุราและสารเสพติด ประเทศไทยมีความชุกสูงสุด ร้อยละ 19.6 รองลงมา คือ ยูเครน ร้อยละ 15 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 14.6 แอฟริกาใต้ ร้อยละ 13.3 และญี่ปุ่น ร้อยละ 4.8

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook