แนะนำ 5 วิธีปรับตัว เมื่อต้องกลายเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว

แนะนำ 5 วิธีปรับตัว เมื่อต้องกลายเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว

แนะนำ 5 วิธีปรับตัว เมื่อต้องกลายเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว เรื่องที่ต้องทำ คือ ความเข้าใจ การยอมรับ และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การดูแลลูกได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียคู่ครองจากการเสียชีวิต หรือการหย่าร้าง  จนทำให้คุณต้องเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยว แค่เพียงปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเ และเดินหน้าดูแลลูกต่อไป จะทำให้คุณก้าวผ่านช่วงเวลายากลำบากได้ดี ดังนั้น วันนี้เราขอแนะนำ 5 วิธีปรับตัว เมื่อต้องกลายเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว เพื่อการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ดังนี้

5 วิธีปรับตัว เมื่อต้องกลายเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว

1.ศึกษาการเลี้ยงลูกวัยทารก

เด็กในวัยทารกจะเริ่มมีพัฒนาการทางร่างกาย สมอง และอารมณ์ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเคลื่อนไหวร่างกายทุกสัดส่วนเสมอ สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกของคุณพ่อ ด้วยการสัมผัส การกอด การอุ้ม โดยพฤติกรรมของเด็กวัยนี้ จะมีเพียงการแสดงออกทางร่างกาย ให้พ่อเลี้ยงเดี่ยวได้รับรู้เท่านั้น จึงควรใส่ใจและสังเกตลักษณะท่าทาง การแสดงออกทางกาย  เสียงร้อง และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจผิดไปจากเดิม ควรจะสัมผัสกอดอย่างทะนุถนอมให้มากที่สุด เพราะการสัมผัสจะทำให้เด็กอารมณ์ดีขึ้น ทั้งยังเป็นเกราะป้องกันโรคได้อีกด้วย

2.การดูแลเด็กวัยกำลังเติบโต

เด็กช่วงกำลังเติบโต ตั้งแต่วัย 1-5 ปี จะมีการพัฒนาการทางร่างกาย สมอง และอารมณ์ ชัดเจนมากขึ้น สนใจสิ่งรอบตัว มีความซนเพราะต้องการเรียนรู้ เริ่มหยิบจับสิ่งของ และพร้อมลองตลอดเวลา ทั้งยังเริ่มหัดเดิน และเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น ซึ่งเป็นช่วงปลาย เด็กจะสามารถรับรู้เหตุและผล แยกแยะสิ่งผิด-ถูกได้เพิ่มขึ้น มีความคิดเป็นของตนเอง แต่ยังไม่สามารถควบคุมทางอารมณ์ได้ ดังนั้นพ่อเลี้ยงเดี่ยวควรสังเกตพฤติกรรม ดูแลอย่างใกล้ชิด และสอนให้รู้จักเหตุผล ไม่แสดงอารมณ์ที่รุนแรง  และต้องสนับสนุนในสิ่งที่เด็กสนใจ เพื่อพัฒนาการเซลล์สมองที่จะเติบโตอย่างมีคุณภาพ

3.การดูแลลูกวัยเรียนประถม

เด็กในกลุ่มวัยนี้มีความสามารถมากขึ้นในการเรียนรู้ การคิด การทำความเข้าใจ สามารถควบคุมอารมณ์ และโต้ตอบกับคนรอบข้างได้มากขึ้น ชอบเลียนแบบพฤติกรรม และกล้าที่จะแสดงความคิด ความรู้สึกของตัวเอง พ่อเลี้ยงเดี่ยวจึงต้องแสดงพฤติกรรมทางร่างกาย และอารมณ์เชิงบวก เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับลูก แนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกต้อง และเตือนเกี่ยวกับสิ่งที่ผิด พร้อมให้โอกาสในการเริ่มต้นใหม่ จะทำให้ลูกรู้สึกได้รับความรัก ความเอาใจใส่ และความปลอดภัย มีคนคอยสนับสนุน จึงไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือขาดการสนับสนุน

4.การเลี้ยงลูกช่วงเข้าวัยรุ่น

เด็กในกลุ่มอายุนี้มีแนวโน้มที่จะมีความเป็นอิสระสูง มีพฤติกรรมทางสังคมมากขึ้น เพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่โรงเรียน และหลังเลิกเรียนจะใช้เวลาอยู่กับเพื่อน หากประสบปัญหาใด ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะไว้วางใจกับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ เนื่องจากเด็ก ๆ ตระหนักดีถึงปฏิกิริยาเชิงลบที่อาจได้รับจากพ่อมากขึ้น หากทำผิดพลาดในชีวิต พ่อเลี้ยงเดี่ยวจึงต้องเป็นทั้งพ่อและเพื่อนไปพร้อม ๆ กัน จะทำให้ลูกของคุณรู้สึกสบายใจที่จะเข้าหา และขอคำแนะนำ

5.การสังเกตพฤติกรรมลูกในแต่ละวัย

เมื่อเริ่มทำความเข้าใจพฤติกรรม และการดูแลลูกช่วงวัยต่าง ๆ แล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่พ่อเลี้ยงเดี่ยว ควรสอนและดูแลลูกให้ดี คือ ใช้เวลาคุณภาพกับลูก ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ปล่อยให้มีอิสระทางความคิด และคอยคำแนะนำ ยอมรับและเข้าใจลูกของคุณในแบบที่เป็น สนับสนุนในทางที่ดี และหลีกเลี่ยงการตัดสินตามความเชื่อของคุณเอง การแสดงความรักผ่านการกอด และการใช้ภาษาเชิงบวก จะช่วยสร้างความรู้สึกเข้มแข็งและมีความสุข

วิธีการดูแลลูกทั้งหมดนี้ จะช่วยให้พ่อเลี้ยงเดี่ยวดูแลและเลี้ยงดูลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ทำให้รู้สึกว่าถูกละเลย  แต่ในกรณีที่มีภาระผูกพันเกิดขึ้น และเวลามีจำกัด หรือเมื่อต้องการคำแนะนำ คนที่น่าเชื่อถือที่สุดในการเลี้ยงดูและดูแลลูกของคุณอย่างเหมาะสม จะไม่ใช่ใครอื่นนอกจากพ่อแม่ของพวกเขาเอง

 

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook