Karoshi Syndrome โรคที่ทำให้รู้ว่า “งาน” ก็ทำให้คนตายได้จริง

Karoshi Syndrome โรคที่ทำให้รู้ว่า “งาน” ก็ทำให้คนตายได้จริง

Karoshi Syndrome โรคที่ทำให้รู้ว่า “งาน” ก็ทำให้คนตายได้จริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณผู้ชายสายทำงาน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบสูง หรือต้องทำงานหลายด้าน อาจจะเคยได้ยินกับประโยคที่ไม่มีใครทำงานแล้วตายมาก่อนใช่ไหม? ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคำพูดประโยคนี้ถือว่าผิด! เพราะถ้าคุณต้องเผชิญกับ Karoshi Syndrome อาจจะทำให้การทำงานหนักและไม่มีเวลาพักผ่อน กลายเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคุณได้เลยทีเดียว

พฤติกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดอาการ Karoshi Syndrome

การเกิดภาวะ Karoshi Syndrome มีปัจจัยโดยตรง คือ การทำงานหนักอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน จึงเกิดเป็นความเครียด ความกดดัน และความวิตกกังวล จนทำให้สมองมีการหลั่งฮอร์โมนแคททีโคลามีนและฮอร์โมนคอร์ติซอล ออกมาภายในกระแสเลือดมากผิดปกติ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ถ้ามีเจือปนอยู่ภายในเลือด จะส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ค่อนข้างง่ายและรวดเร็ว ทั้งยังเข้าไปกระตุ้นระดับน้ำตาลในเลือดกับไขมันให้สูงขึ้น

ซึ่งเกิดเป็นภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด ส่งผลไปสู่หลอดเลือดหัวใจกับสมองได้ง่าย โรคนี้เกิดขึ้นมากภายในประเทศญี่ปุ่น จึงถูกตั้งชื่อว่า Kiroshi ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นที่หมายถึงการเสียชีวิตแบบกะทันหัน จนทำให้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นต้องมีการควบคุมชั่วโมงการทำงาน และมีมาตรการด้านความผ่อนคลายให้กับคนทำงานโดยเฉพาะ เนื่องมาจากภาวะนี้อาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว หรือเส้นเลือดในสมองแตกได้ แล้วยังส่งผลไปสู่การฆ่าตัวตายจากความผิดปกติทางจิตที่มีความรุนแรงมากอีกด้วย

รวมอาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจเป็น Karoshi Syndrome

การเผชิญกับสภาวะ Karoshi Syndrome อาจจะมีสาเหตุหลักมาจากการทำงานหนัก และมีความกดดันสูง จนทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนจริง แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายด้านที่จะทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมทำงาน แล้วเสี่ยงต่อโรค Karoshi Syndrome ได้เช่นกัน คือ

  • คุณผู้ชายที่ชอบทำงานเกินเวลา เอางานกลับมาทำที่บ้าน หรือมีการควบกะอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ไม่มีการพักผ่อนที่เหมาะสม จะเสี่ยงต่อโรคนี้อย่างมาก
  • การทำงานเร็ว แต่ทำเป็นปริมาณมากและกลับบ้านช้า เพื่อจะเร่งทำงานในส่วนของวันต่อไป
  • ความคิดที่จมอยู่แต่กับเรื่องงาน จนไม่มีเวลาผ่อนคลายหรือคิดถึงเรื่องอื่น
  • การเก็บกดความเครียดและความกดดัน รวมไปถึงความกังวลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานไว้ภายในตัว
  • เมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่สามารถปรึกษา หรือพูดคุยเรื่องงานกับใครได้ เก็บไว้เพียงคนเดียว
  • ทำกิจกรรมในชีวิตเพียงแค่งานอย่างเดียว ไม่ทำกิจกรรมอื่น ไม่หยุด ไม่ลา
  • การนอนดึกเพื่อทำงานให้จบ แล้วตื่นแต่เช้าเพื่อไปทำงานต่อ ทำให้เกิดการพักผ่อนน้อย หรือไม่มีเวลาพักผ่อนเลย
  • การทำงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนการออกกำลังกาย และการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เพื่อจะเร่งความเร็วในการทำงาน

 

วิธีการป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อภาวะนี้

สำหรับคุณผู้ชายที่ต้องการป้องกันไม่ให้ตัวเองต้องเผชิญกับโรค Karoshi Syndrome ที่ไม่ได้เสี่ยงแค่หลอดเลือดหัวใจเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ขอแนะนำวิธีการดูแลตัวเองแบบเบื้องต้น คือ การพักไม่ให้ตัวเองต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 7-8 ชั่วโมงขึ้นไป เมื่อเสร็จงานแล้วควรเก็บงานไว้ที่ทำงานเท่านั้น

เมื่อกลับถึงบ้านให้ทำกิจกรรมสุดผ่อนคลายและมีเวลาว่าง ด้วยการหยุด ลา และพักร้อนตามปกติ นอนหลับให้มีคุณภาพ หลับลึก ไม่มีการตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง  ถ้างานมีความกดดันสูงและเป็นงานที่ไม่สามารถหยุดพักได้ แต่คุณเริ่มมีอาการของ Karoshi Syndrome แล้ว แนะนำให้เตรียมมองหางานใหม่ ที่จะทำให้เกิด Work Life Balance กับตัวคุณได้มากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook