รู้จักโรคไส้เลื่อนของผู้ชาย สังเกตตัวเองอย่างไร เพื่อรับมือรักษาได้ทันท่วงที
โรคไส้เลื่อนของผู้ชาย ต้องสังเกตอะไร เพื่อให้รักษาได้ทัน
รู้จักไส้เลื่อน ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับผู้ชายหลายคน เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง ทำให้เกิดความไม่สะดวกในชีวิตประจำวัน การพยายามดันไส้กลับด้วยมือของคุณ อาจส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพ ยิ่งถ้ามีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
การรักษาก็จะยากขึ้นไปด้วย ในหลายกรณี คุณผู้ชายอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นไส้เลื่อน เนื่องจากอาการอาจไม่ชัดเจนสำหรับทุกคน บางคนอาจมีเพียงความเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวเท่านั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุ อันตรายแค่ไหน และสามารถรักษาด้วยตนเองได้หรือไม่ ลองมาสำรวจเรื่องเหล่านี้กัน!
การเกิดไส้เลื่อน สามารถเกิดได้ตรงส่วนไหน และเกิดจากปัจจัยใดบ้าง
ปัญหาการเกิดไส้เลื่อนของผู้ชาย มาจากลำไส้หรืออวัยวะช่วงบริเวณช่องท้อง มีการเคลื่อนย้ายจากที่เดิมผ่านตรงช่วงผนังท้อง ที่จะมีความบอบบางแล้วออกมานอกบริเวณช่องท้อง ซึ่งจะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่าจะมีก้อนนูนขึ้นมาที่บริเวณท้อง โดยการเคลื่อนตัวจะยังถูกห่อด้วยเยื่อหุ้ม จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดภายในผู้ชายที่มากกว่าผู้หญิงถึง 5 ต่อ 1 เท่า ซึ่งจุดที่มักจะทำให้เกิดปัญหาไส้เลื่อน คือ
- บริเวณขาหนีบที่พบได้มากในผู้ชายถึง 25 เท่า หรือประมาณ 75% โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดกับผู้ชายในวัย 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการเกิดในบริเวณนี้ เพียงแค่การไอแบบเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ หรือถุงลมโป่งพอง แล้วมีอาการไอแรง ๆ ก็สามารถทำให้เกิดไส้เลื่อนได้
- ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ มักจะเกิดกับผู้ที่มีสะดือจุ่น และจะพบมาตั้งแต่กำเนิด ยิ่งถ้าเป็นการคลอดก่อนกำหนดด้วยแล้ว โอกาสพบไส้เลื่อนบริเวณสะดือจะสูงมาก
- ไส้เลื่อนบริเวณกระบังลม เป็นปัญหาของกล้ามเนื้อกับพังผืดบริเวณกระบังลมหย่อน ทำให้ความยืดหยุ่นน้อยลง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และจะมีความเสี่ยงร่วมกับความดันในบริเวณช่องท้อง
- ไส้เลื่อนหลังการผ่าตัด ซึ่งจะเกิดจากการผ่าตัดที่บริเวณหน้าท้อง ทำให้กล้ามเนื้อกับพังผืดเกิดการหย่อน จนส่งผลให้เกิดไส้เลื่อน ซึ่งจะมีอัตราการเกิดได้ 2-10%
สังเกตอาการไส้เลื่อน เพื่อรีบรักษาได้อย่างทันการณ์
- ถ้ามีก้อนนูนเกิดขึ้นในบริเวณช่องท้อง เมื่อนอนลงแล้วดันกลับเข้าสู่ที่เดิมได้ นั่นหมายความว่ากำลังเกิดภาวะไส้เลื่อน
- มีอาการปวดที่บริเวณท้อง เมื่อคลำแล้วเกิดก้อนนูน หรือในช่วงขณะยกของ ก้มตัว ไอและจาม จะมีก้อนนี้ออกมาที่บริเวณท้อง
- มีก้อนบวมที่บริเวณอัณฑะ และมีอาการปวดมาก มีอาการแน่นท้อง ปวดแสบปวดร้อนและรู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่บริเวณช่องท้อง
- ขับถ่ายยาก มีอาการท้องผูกหรือถ้าขับถ่ายแล้วจะมีเลือดปนมาด้วย
- ถ้าเป็นที่บริเวณกระบังลม จะเกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย และจะเป็นอย่างเรื้อรัง
แม้ว่าลำไส้อุดตันอาจไม่เป็นอันตราย แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาเป็นเวลานาน เพราะจะส่งผลให้ลำไส้บิดตัวมากขึ้นจนเกิดการอุดตันในช่องท้อง ทำให้เลือดไปเลี้ยงลำไส้ไม่เพียงพอ ในกรณีนี้อาจจำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉิน เนื่องจากส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่คุกคามถึงชีวิตได้ หากคุณผู้ชายสังเกตเห็นอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์ เพื่อรับการประเมินและการรักษาโดยเร็วที่สุด