รู้จักโรค "เริม" ภัยร้ายจากการมีเพศสัมพันธ์

รู้จักโรค "เริม" ภัยร้ายจากการมีเพศสัมพันธ์

รู้จักโรค "เริม" ภัยร้ายจากการมีเพศสัมพันธ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ คุยกับหมอพิณ โดย พ.ญ.พิณนภางค์ ศรีพหล

Never say good bye to เริม

email:doctorpin111@gmail.com

สวัสดีค่ะ สัปดาห์นี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า "เริม" กันนะคะ

เริมที่อวัยวะเพศ เกิดจากเชื้อไวรัสเริม หรือ herpes virus ค่ะ

ซึ่งมันจะมี 2 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเริมชนิด 1 และชนิด 2

เชื้อก่อเรื่องแถวบริเวณอวัยวะเพศ จะเป็นเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 ค่ะ

ส่วนไวรัสเริมชนิดที่ 1 มักจะก่อเรื่องที่ปาก

แต่กิจกรรมทางเพศที่อาศัยปาก ก็สามารถทำให้พบไวรัสทั้ง 2 ชนิดที่อวัยวะเพศได้เช่นกัน

วันนี้เราจะมาเน้นย้ำเกี่ยวกับเริมบริเวณอวัยวะเพศกันนะคะ

เริมสามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสตุ่มโดยตรงทางผิวหนังสัมผัสผิวหนัง

สามารถติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอดทวาร หรือปาก

โดยไวรัสสามารถเข้าสู่ผิวหนังทางช่องคลอด ช่องปาก ทวาร และสามารถเข้าเนื้อเยื่ออย่างช่องคลอด ท่อปัสสาวะ องคชาต ปากมดลูกได้ด้วย

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะก่อให้เกิดตุ่มน้ำหรือแผลขึ้นมา

โดยเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนเริ่ม ๆ จะเป็นไข้หวัด นั่นก็คือมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว

ตามมาด้วยตุ่มน้ำ บางคนเป็นไม่กี่ตุ่ม บางคนก็มากันหลายตุ่ม

จะรู้สึกคัน แสบร้อน โดยเฉพาะเวลาปัสสาวะจะเจ็บแสบมาก

การติดเชื้อครั้งแรก ตั้งแต่ขึ้นตุ่มจนตุ่มแตก จนแผลหาย อาจใช้เวลายาวนานถึง 2-4 สัปดาห์

หลังจากตุ่มหรือแผลหายไป เริมก็ยังไม่จากเราไปไหน และที่น่าเศร้า คือมันจะไม่มีวันหายไปจากร่างกายของเราค่ะ เพราะยามโรคสงบ เริมจะเดินทางไปพักผ่อนในเซลล์ประสาทของเรา

รอวันกลับมาก่อเรื่อง แผลงฤทธิ์ (ที่เดิม ๆ) อีกครั้ง แต่ส่วนใหญ่การเป็นซ้ำมักไม่รุนแรง และหายได้เร็วหลังรับประทานยา

บางคนอาการน้อย จนไม่รู้ตัวเองว่า ตอนนี้เราเป็นเริมอยู่ ซึ่งตรงนี้จะน่ากลัว เพราะเราจะสามารถส่งผ่านเชื้อสู่ผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจได้ ดังนั้นควรจะใส่ถุงยางอนามัย เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของโรคค่ะ

แต่ถ้าหากคุณหรือคู่ของคุณมีเริมที่ปากหรืออวัยวะเพศ ควรงดเพศสัมพันธ์ จนแผลหายได้ 2-3 วัน

และระวังอย่าเอามือไปสัมผัสบริเวณแผลแล้ว เอาไปจับอวัยวะอื่น ๆ

เพราะอย่าลืมค่ะว่า เริมสามารถติดต่อทางผิวหนัง ดังนั้น ต่อให้เราไม่ได้เอาเริมไปป้ายใคร เอามาป้ายตัวเองก็ติดตัวเอง (บริเวณใหม่ ๆ) ได้อีกรอบนะคะ

ดังนั้น ถ้าตุ่มเริมขึ้น ก็อย่าลืมล้างมือบ่อย ๆ และใช้มืออย่างมีสตินะคะ

วันนี้คงรู้จักคุณเริมมากขึ้นแล้วนะคะ ว่า เมื่อ เริมมี เริมมา เริมจะไม่จากลาเราไปง่าย ๆ

ดังนั้นมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เพื่อไม่ให้เริมมาหาเรานะคะ สวัสดีค่ะ

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook