เจาะขุมธุรกิจ 4 แสนล้าน ตระกูลจิราธิวัฒน์

เจาะขุมธุรกิจ 4 แสนล้าน ตระกูลจิราธิวัฒน์

เจาะขุมธุรกิจ 4 แสนล้าน ตระกูลจิราธิวัฒน์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เจาะโครงข่ายธุรกิจตระกูล "จิราธิวัฒน์" ตระกูลมหาเศรษฐีของไทยที่นิตยสารฟอร์บส์เอเชียฉบับวันที่ 15 ก.ค. 2556 จัดให้อยู่ในอันดับที่ 2 จาก 50 อันดับมหาเศรษฐีของประเทศไทย (ดูทั้ง 50 อันดับ คลิกที่นี่)  ซึ่งฟอร์บประเมินว่า ตระกูลจิราธิวัฒน์ เครือเซ็นทรัล มูลค่าทรัพย์สินสูงถึง 3.83 แสนล้านบาท เลยทีเดียว

ย้อนกลับไปเมื่อ ปี 2490 บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง หรือชื่อการค้า ห้างเซ็นทรัล ถือกำเนิดเกิดขึ้น โดย เตียง จิราธิวัฒน์ (นี่เตียง แซ่เจ็ง) และ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ (ฮกเส่ง แซ่เจ็ง) บุตรชายคนโต เป็นร้านค้าตึกแถวครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้นขนาด 1 คูหา ปากตรอกกัปตันบุช ย่านสี่พระยา เป็นร้านจำหน่ายหนังสือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และเครื่องสำอาง ทั้งสินค้าในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก

หลังจากนั้นอีก 10 ปี ในปีพ.ศ. 2500 เตียง ได้ร่วมทุนกับบุตรชายทั้งสามคน อันได้แก่ สัมฤทธิ์, วันชัย และ สุทธิพร เปิดทำการห้างสรรพสินค้าเต็มรูปแบบที่ย่านวังบูรพาภิรมย์ โดยใช้ชื่อว่า เซ็นทรัล วังบูรพา ต่อมาจึงขยายสาขาสู่ย่านเยาวราช แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงเปิดสาขาใหม่ที่ย่านราชประสงค์ในปีพ.ศ. 2507 สาขาสีลมในปี พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2516 เปิดห้างสรรพสินค้าแบบจุดเดียวเสร็จสรรพ (one stop) ที่ชิดลม ต่อมา พ.ศ. 2524 จึงขยายกิจการตั้งสาขาลาดหญ้า ในฝั่งธนบุรี และเปิดสาขาลาดพร้าว ในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งสมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในบรรดาห้างสรรพสินค้าไทยในสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2535 ได้ขยายสาขาไปต่างจังหวัด ที่อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว เชียงใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ ขยายสาขาไปสู่ต่างจังหวัด

ปัจจุบัน เซ็นทรัลแบ่งธุรกิจออกเป็น 5 กลุ่ม โดยผลประกอบการปี 2555 ที่ผ่านมา ทั้ง 5 กลุ่ม มียอดขายรวมกันทั้งสิ้น 183,300 ล้านบาท เติบโต 31.3% เป็นการเติบโตของธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ 7.5% และโครงการใหม่ 23.8% โดยกลุ่มธุรกิจค้าปลีก (CRC) มีอัตราการเติบโต 31% กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (CPN) เติบโต 36% กลุ่มธุรกิจค้าส่ง (CMG) เติบโต 30% กลุ่มธุรกิจโรงแรม (CHR) เติบโต 23% และกลุ่มธุรกิจอาหาร (CRG) เติบโต 27%

ทีนี้เราลองมาเจาะลึกกันว่าแต่ละกลุ่มธุรกิจดูแลในส่วนใดบ้าง

1. กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (CPN) ธุรกิจในเครือประกอบด้วย ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โรงแรม ที่พักอาศัย 

   - ธุรกิจศูนย์การค้า รวมถึงเซ็นทรัลเวิลด์ ปัจจุบัน เซ็นทรัล ปัจจุบันมี 21 สาขา สาขาที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศูนย์การค้าเซ็ฯทรัล ลาดพร้าว เปิดเมื่อปี 2525  และสาขาที่เพิ่งเปิดล่าสุดคือ เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี เปิด 5 เมษายน พ.ศ. 2556  และกำลังจะเปิดตัวอีก 2 สาขา ในปีนี้ 

   - ธุรกิจบริหารอาคารสำนักงาน 
   - ธุรกิจบริหารโรงแรม Centara Hotel & Convention Center Udonthani (CPN เป็นเจ้าของโครงการ ซื้อต่อจากโครงการโรงแรมเจริญศรี แกรนด์รอยัล โดยให้ Centara เป็นผู้บริหารโรงแรม) Hilton Pattaya Beach @ CentralFestival Pattaya Beach (CPN เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ Hilton เป็นผู้บริหารโรงแรม)
   - ธุรกิจบริหารที่พักอาศัย โดยมีโครงการต่างๆ คือ หลังสวน โคโลเนต Central City Residence (CPN เป็นเจ้าของพื้นที่บางส่วนของโครงการ)

2. เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอร์เรชั่น (CRC) บริหารธุรกิจค้าปลีกและกลุ่มอาหารเป็นหลัก
   
    ธุรกิจห้างสรรพสินค้า    
    - ห้างสรรพสินค้าเซ็ฯทรัล
    - ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน
    - เซน
    - จอยซิตี้ เมืองเสิ่นหยาง ประเทศจีน
    - La Rinascente ประเทศอิตาลี
    - Illum ประเทศเดนมาร์ก

    ธุรกิจสเปเชียลตี้ สโตร์
    - บจก. เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (ท๊อป ซูเปอร์มาร์เก็ต เซ็นทรัล ฟู๊ดฮอลล์ )
    - บจก. เพาเวอร์บาย (Power Buy)
    - บจก. ซีอาร์ซี สปอร์ต (Super Sport)
    - บจก. บีทูเอส (B2S)
    - บจก. ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล โฮมเวิร์คส์ (homeWork) ไทวัสดุ
    - บมจ. ออฟฟิศเมท
    - บจก. เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท (Family Mart)

3. เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) บริการธุรกิจร้านอาหาร โดยมีแบรนด์ร้านอาหารต่างๆ ที่อยู่ในการดูแล ดังนี้
    - Mister Donut
    - KFC
    - Auntie Anne's
    - Pepper Lunch
    - Beard Papa's
    - Chabuton
    - Coldstone
    - Ryu
    - The Terrace
    - Yoshinoya
    - Ootoya

4. เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป (CMG) บริษัท ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องแต่งกาย กลุ่มเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น
    - Accessorize
    - Benetton
    - Mango
    - Dorothy Perkins
    -Combi
    - Wallis
    - Hush Puppies
    - Lee
    - Top Shop
    - Miss Selfridge
   Etc.

 5. กลุ่มธุรกิจโรงแรม (CHR) 

โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (Centara)[แก้]
โรงแรมและรีสอร์ท เซ็นทารา แกรนด์
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพ
Centara Grand Resort & Villas Hua Hin
Centara Grand Beach Resort & Villas Krabi
Centara Grand Mirage Beach Resort Pattaya
Centara Grand Resort & Spa Pattaya
Centara Grand Beach Resort Samui
Centara Grand Beach Resort Phuket
Centara Grand West Sands Resort & Villas Phuket
Centara Grand Nusa Dua Resort & Villas, Bali
Centara Grand Island Resort & Spa Maldives
โรงแรมและรีสอร์ท เซ็นทารา
Centara Watergate Pavillion Hotel Bangkok
Centara Anda Dhevi Resort & Spa Krabi
Centara Pattaya Hotel
Centara Villas Samui
Centara Villas Phuket
Centara Karon Resort Phuket
Centara Kata Resort Phuket
Centara Sappaya Design Resort Rayong
Centara Chaan Talay Resort & Villas Trat
Centara Duangtawan Hotel Chiang Mai
Centara Mae Sot Hill Resort
Centara Hotel & Convention Centre Udon Thani
Centara Hotel & Convention Centre Khon Kaen
Centara Ceysands Resort & Spa, Sri Lanka
Centara Passikudah Resort & Spa Sri Lanka
Centara Poste Lafayette Resort & Spa Mauritius
Centara Koh Chang Tropicana Resort
Sandy Beach Non Nuoc Resort Da Nang Vietnam, Managed by Centara
Centara Ras Fushi Resort & Spa Maldives
เซ็นทาราบูทีคคอลเลกชัน
Centara Nova Hotel & Spa Pattaya
Centara Khum Phaya Resort & Spa
Away Suansawan Chiang Mai, Centara Boutique Collection
Chen Sea Resort & Spa Phu Quoc
โรงแรมเซ็นทรา
โรงแรมเซ็นทราสถานีรถไฟกรุงเทพ
โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ
Centra Coconut Beach Resort Samui
Centra Ashlee Hotel Patong
Centra Taum Seminyak Bali

ความโดดเด่นของตระกูลจิราธิวัฒน์คือการแบ่งงานกับบริหารอย่างชัดเจนระหว่างพี่น้องในตระกูล และฉลาดในการขยายธุรกิจ ซึ่งแผนงานของกลุ่มเซ็๋นทรัลต่อจากนี้มีโครงการขยายออกสู่ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใขของไทย ที่ธุรกิจของคนไทยสามารถอกไปแข่งขันนอกประเทศได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook