สนพ.สนับสนุนใช้พลังงานทางเลือก
สนพ. สนับสนุน มช. พัฒนาเชื้อเพลิงแก๊สชีวมวล ทดแทน LPG ในโรงงานเซรามิก
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมแก้วและกระจก สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ปีละกว่า 30,000 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ต้องใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) และก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิง โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 15-40 ของต้นทุนการผลิต และจากนโยบายของภาครัฐที่ลดการชดเชยเชื้อเพลิงก๊าซหุงต้มภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ประมาณร้อยละ 60 จากต้นทุนเดิม และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ ดังนั้น กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดย สนพ.ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ดำเนินโครงการพัฒนาเชื้อเพลิงแก๊สจากชีวมวลสำหรับอุตสาหกรรมเผาอุณภูมิสูง (เซรามิก) เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบผลิตเชื้อเพลิงจากชีวมวลในระดับชุมชนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ LPG ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมแก้วและกระจก ด้วยการใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น โดยการทดสอบในเตาเผาเซรามิก แบบเป็นครั้ง (เตาซัตเติล)
ทั้งนี้ นายสุเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวจะนำร่องใน จ.ลำปาง เป็นแห่งแรก ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้เชื้อเพลิงแก๊สจากชีวมวล ทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้ร้อยละ 100 และช่วยในการประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ ร้อยละ 20-60 รวมทั้งลดการใช้ LPG ได้ปีละ 36 ตัน/เตาเผา คิดเป็นเงินประมาณ 1 ล้านบาทต่อปี
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมแก้วและกระจก สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ปีละกว่า 30,000 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ต้องใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) และก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิง โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 15-40 ของต้นทุนการผลิต และจากนโยบายของภาครัฐที่ลดการชดเชยเชื้อเพลิงก๊าซหุงต้มภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ประมาณร้อยละ 60 จากต้นทุนเดิม และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ ดังนั้น กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดย สนพ.ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ดำเนินโครงการพัฒนาเชื้อเพลิงแก๊สจากชีวมวลสำหรับอุตสาหกรรมเผาอุณภูมิสูง (เซรามิก) เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบผลิตเชื้อเพลิงจากชีวมวลในระดับชุมชนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ LPG ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมแก้วและกระจก ด้วยการใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น โดยการทดสอบในเตาเผาเซรามิก แบบเป็นครั้ง (เตาซัตเติล)
ทั้งนี้ นายสุเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวจะนำร่องใน จ.ลำปาง เป็นแห่งแรก ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้เชื้อเพลิงแก๊สจากชีวมวล ทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้ร้อยละ 100 และช่วยในการประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ ร้อยละ 20-60 รวมทั้งลดการใช้ LPG ได้ปีละ 36 ตัน/เตาเผา คิดเป็นเงินประมาณ 1 ล้านบาทต่อปี