เผย! 6 ปัญหาที่มักพบในการเริ่มต้นทำธุรกิจ
การเรียนรู้ปัญหาตั้งแต่ต้นถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับกิจการ เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบและเพียบพร้อมเหมือนบะหมี่สำเร็จรูป
เรื่องปัญหาและอุปสรรคจึงเป็นเสมือนเงาตามตัวในการดำเนินธุรกิจของทุกบริษัทในสังคมโลกเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาอาจหนักบ้างในบางเวลาหรือเบาบ้างในบางสถานการณ์ก็แล้วแต่อุปสรรคในขณะนั้น ประสบการณ์และความรู้มีส่วนช่วยอย่างมากในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
แต่สำหรับบริษัทธุรกิจที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่ๆ ดูจะเป็นประเด็นปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก อาจด้วยเพราะความเป็นมือใหม่ขาดประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและองค์ประกอบทางด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความได้เปรียบ จึงทำให้บริษัทเพิ่งก่อตั้งใหม่มักจะไปไม่ค่อยรอด
ปัญหาคือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำธุรกิจ แต่จะน่ากลัวมากยิ่งขึ้นหากเกิดกับธุรกิจที่เพิ่งจะก่อตั้ง การเรียนรู้ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงจึงเป็นทางออกสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเอาชนะและฟันฝ่าอุปสรรคดังกล่าวได้
เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบและเพียบพร้อมเหมือนบะหมี่สำเร็จรูป เรื่องปัญหาและอุปสรรคจึงเป็นเสมือนเงาตามตัวในการดำเนินธุรกิจของทุกบริษัทในสังคมโลกเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาอาจหนักบ้างในบางเวลาหรือเบาบ้างในบางสถานการณ์ก็แล้วแต่อุปสรรคในขณะนั้น ประสบการณ์และความรู้มีส่วนช่วยอย่างมากในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
แต่สำหรับบริษัทธุรกิจที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่ๆ ดูจะเป็นประเด็นที่สร้างความหนักอกหนักใจให้ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก อาจด้วยเพราะความเป็นมือใหม่ขาดประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและองค์ประกอบทางด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความได้เปรียบ
จึงทำให้บริษัทเพิ่งก่อตั้งใหม่มักจะไปไม่ค่อยรอดเมื่อพบเจอเข้ากับปัญหาจนอาจปิดกิจการลงในเวลาอันรวดเร็ว หรือส่วนที่เหลือรอดอยู่ก็โซซัดโซเซกว่าจะตั้งหลักได้ก็กินเวลาปาเข้าไปหลายเดือน ดังนั้นการเรียนรู้ปัญหาทก่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะจะเป็นทั้งครูและบทเรียนช่วยสอนให้ผู้ประกอบการสามารถผ่านอุปสรรคไปได้ ซึ่งประเด็นปัญหาที่มักจะพบสำหรับการเริ่มต้นสร้างธุรกิจมีดังต่อไปนี้
1. ขาดแคลนทั้งเงินทุนและกระแสเงินสดหมุนเวียน
เรื่องเงินนี้ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในบรรดาปัญหาทั้งหลายเลยทีเดียว เพราะการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจแทบทุกอย่างล้วนต้องใช้เงินทุนแทบทั้งสิ้น ยิ่งระบบธุรกิจในปัจจุบันมีลักษณะเป็นทุนนิยมเสรีด้วยแล้ว บริษัทของผู้ประกอบการใดที่พบเจอกับปัญหานี้ล้วนต้องปวดเศียรเวียนเกล้าอย่างแน่นอน
ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือผู้ประกอบการคือต้องจัดการบัญชีและการเงินให้ดี พร้อมทั้งวางระบบบริหารที่ถูกต้อง มีเงินทุนที่ต้องใช้จ่ายจริงและทุนสำรองที่มากเพียงพอต่อการประกอบธุรกิจ หรืออาจใช้การขอสินเชื่อจากทางธนาคารและสถาบันทางการเงินที่ปัจจุบันมีโปรแกรมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจขนาด SME
ตามที่เคยแนะนำไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ เข้ามาช่วยเหลือและขจัดปัญหาในส่วนนี้ ทั้งนี้เงินทุนของบริษัทควรต้องแยกออกจากเงินส่วนตัว ไม่ควรที่จะนำมาใช้ร่วมกัน เพราะอาจทำให้ผู้ประกอบการเจอเข้ากับปัญหาชีวิตของตนเองเข้ามาอีกหนึ่งปัญหา
2. ไม่มีความรู้ด้านบัญชีและกฎหมาย
เรื่องการทำบัญชีและข้อกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญมากในการก่อตั้งบริษัท ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พบกับปัญหานี้ค่อนข้างมาก เพราะเกือบจะทั้งหมดของผู้ก่อตั้งบริษัทมักเป็นผู้มีไอเดียความคิดสร้างสรรค์ที่มองเห็นช่องทางการทำธุรกิจและบุคคลที่เคยประกอบอาชีพหรือมีประสบการณ์ทางด้านอื่นๆ มาก่อน
แต่ไม่ใช่ผู้มีความรู้หรือจบการศึกษาด้านบัญชีและกฎหมายโดยตรงจึงไม่รู้ว่าควรจัดการกับบัญชีอย่างไร การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต้องทำแบบไหน และมีเอกสารสำคัญอะไรบ้าง ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างสลับซับซ้อนมาก อีกทั้งบางเรื่องผู้ประกอบการก็ไม่สามารถค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ตแน่นอน
วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือเลือกใช้บริการบริษัทรับทำบัญชีและบริษัทให้คำปรึกษาทางกฎหมายให้เป็นผู้ดูแลโดยเฉาะจะสะดวกกว่าดูแลด้วยตนเองหลายเท่าตัว และยังป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ผู้ประกอบการก็ต้องหมั่นศึกษาและเรียนรู้วิธีการทำงานของบริษัทเหล่านี้ด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกบริษัทบัญชีและกฎหมายนั้นต้องเลือกจากความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญ
3. ไม่มีพนักงานที่มีความสามารถมากพอ
บริษัทที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่มักไม่ค่อยได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปซึ่งมีความรู้และประสบการณ์จึงกลายเป็นหนึ่งในปัญหาที่น่าหนักใจของผู้ประกอบการ ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือผู้ประกอบการอาจต้องยอมจ่ายบ้างเพื่อจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์และความรู้ที่เหมาะสมจะเข้ามานั่งทำงานในบริษัท
โดยต้องมีข้อเสนอพร้อมทั้งสวัสดิการที่น่าสนใจมากเพียงพอจะดึงดูดให้มาร่วมงานได้ แต่หากบริษัทของผู้ประกอบการติดขัดในเรื่องเงินเดือน ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนในระดับดังกล่าวก็ควรพูดคุยกับพนักงานโดยตรง พร้อมทั้งให้สัญญาใจต่อกันว่าจะขึ้นเงินเดือนให้หากผลประกอบการเมื่อสิ้นปีได้ผลบวกและมีกำไรอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
และเมื่อทำได้แล้วก็ต้องไม่หลงลืมสัญญา เพียงเท่านี้บริษัทก็น่าจะได้สมาชิกใหม่ซึ่งเป็นพนักงานที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทอย่างแน่นอน
4. ไม่มีเครือข่ายสังคมธุรกิจที่กว้างมากพอ
ผู้ประกอบการมือใหม่มักพบปัญหาการสร้างเครือข่ายอย่างแน่นอน แต่ถึงอย่างไรก็ต้องยอมรับว่าการมีเครือข่ายสังคมจะช่วยผลักดันการทำธุรกิจได้อย่างมาก เพราะเครือข่ายสังคมจะช่วยกระจายข่าวเกี่ยวกับบริษัทและการดำเนินธุรกิจของเราไปสู่บุคคลภายในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม
ทำให้มีผู้สนใจอยากจะใช้บริการและให้การสนับสนุนธุรกิจมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้เครือข่ายสังคมไม่ใช่สิ่งที่จะสร้างกันได้ง่ายๆ ต้องอาศัยระยะเวลาบวกกับเทคนิคมนุษยสัมพันธ์ จริงอยู่ที่ว่าผู้ประกอบการธุรกิจควรสร้างเครือข่ายไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มก่อตั้งบริษัท
แต่ก็ใช่ว่าจะสายเกินไปที่จะสร้างสังคมธุรกิจขึ้นหลังจากเปิดตัวบริษัทไปแล้ว เพราะคำว่ามิตรภาพอยู่นอกเหนือข้อจำกัดเรื่องกรอบเวลาเสมอ ทุกนาทีผู้ประกอบการสามารถสร้างเพื่อนได้มากกว่าสร้างศัตรูแน่นอน
5. ขาดความน่าเชื่อถือเพราะไม่มีประสบการณ์
ไม่มีประสบการณ์เป็นปัญหาอีกหนึ่งเรื่องที่บริษัทเปิดใหม่มักพบเจอโดยเฉพาะเวลาออกไปขายงานกับลูกค้า เพราะสิ่งที่ลูกค้าอยากรู้เป็นอันดับแรกในการสนทนาก็คือเรื่องประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของบริษัท ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดของบริษัทเปิดใหม่ที่ยังมีผลงานไม่มากนัก
ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือนำเอาประวัติการทำงานส่วนตัวซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่กำลังทำอยู่ออกมาแสดงอาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยผลงานที่นำออกมาแสดงต้องมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าปกติทั่วไป แต่หากผู้ประกอบการไม่มีประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่กำลังทำอยู่เลนเพราะเพิ่งจับตลาดและทำธุรกิจเป็นครั้งแรก
ก็ขอให้แสดงรูปแบบและอธิบายวิธีการทำงานของบริษัทให้ลูกค้าฟังอย่างละเอียดแทนและขอให้เพิ่มการรับประกันคุณภาพการทำงานด้วย เพราะจะทำให้บริษัทของผู้ประกอบการสามารถขายงานหรือทำสัญญาทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น
6. ธุรกิจขาดทุน
ปัญหาสุดท้ายที่มักพบสำหรับธุรกิจเปิดใหม่และเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการขาดทุนอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นแล้ว หากบริษัทเปิดใหม่มีเงินทุนสำรองไม่มากก็มักต้องปิดกิจการไปหลายราย
ซึ่งวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือผู้ประกอบการต้องทำแผนธุรกิจให้ละเอียดทุกเรื่องรวมถึงช่องทางและวิธีการแก้ปัญหาหากยอดขายและผลกำไรไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ ซึ่งช่องทางและวิธีแก้ไขปัญหารวมถึงแหล่งเงินทุนสำรอควรต้องระบุลงไปให้ชัดเจนในแผนธุรกิจด้วย จึงจะสามารถป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างมีระบบและเป็นรูปธรรมถาวรอีกด้วย
ปัญหาที่เกิดขึ้นแม้จะแก้ไขได้ยากเย็นและต้องใช้ความอดทนสูงมากขนาดไหนก็ตาม มันก็คือบททดสอบที่ดีที่สุดของผู้ประกอบการว่าพร้อมแล้วหรือยังที่จะเดินขึ้นไปยังจุดที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ประกอบการสามารถเอาชนะปัญหาดังกล่าวได้ก็คงไม่มีอะไรที่มาทัดทานความสำเร็จในอนาคตได้อย่างแน่นอน และท้ายที่สุดแล้วชัยชนะของผู้ประกอบการก็จะถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้นักธุรกิจใหม่รุ่นได้ศึกษากันต่อไปในที่สุด
ขอบคุณข้อมูล : incquity