โกดัก"คัมแบ็ก"ตัดใจทิ้งธุรกิจบีทูซี โยกเฮดออฟฟิศจากสิงคโปร์หนุนไทยฮับอาเซียน

โกดัก"คัมแบ็ก"ตัดใจทิ้งธุรกิจบีทูซี โยกเฮดออฟฟิศจากสิงคโปร์หนุนไทยฮับอาเซียน

โกดัก"คัมแบ็ก"ตัดใจทิ้งธุรกิจบีทูซี โยกเฮดออฟฟิศจากสิงคโปร์หนุนไทยฮับอาเซียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"โกดัก" รีเทิร์น ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ตัดใจทิ้งกลุ่มธุรกิจบีทูซี โฟกัสบีทูบีพรินติ้ง-แพ็กเกจจิ้งรองรับอุตสาหกรรม สร้างการเติบโตหลังแนวโน้มตลาดขยายตัวก้าว โยกเฮดออฟฟิศภูมิภาคจากสิงคโปร์เข้าไทยปั้นเป็นศูนย์กลาง

นายอีวานโดร แมตเทอซี (Evandro Matteucci) ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจกราฟิก และรองประธานฝ่ายการตลาดในเขตภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท โกดัก อีสต์แมน จำกัด กล่าวถึงทิศทางธุรกิจของโกดักหลังหลุดจากแผนล้มละลายจากนี้ว่า บริษัทได้ตัดสินใจขายธุรกิจกลุ่มสินค้าบีทูซีออกไป เพื่อโฟกัสในกลุ่มธุรกิจบีทีบี

เจาะกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมเป็นหลัก อาทิ ธุรกิจพิมพ์สี, ธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง และทัชสกรีนเซ็นเซอร์ เป็นต้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และโกดักมีความแข็งแกร่งในตลาดนี้อยู่แล้ว เนื่องจากสินค้าครบวงจร ตอบสนองความต้องการของตลาดได้

ทั้งนี้ หลังหลุดแผนล้มละลายช่วงเดือนที่ผ่านมา บริษัทมั่นใจว่าธุรกิจกลุ่มนี้สามารถทำกำไรด้วยโครงสร้างทุนที่แข็งแกร่ง ทั้งยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าเติบโต เพื่อเป็นโกดักในยุคใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สอดคล้องกับตลาด

การพิมพ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนทิศทางไปสู่งานพิมพ์ดิจิทัลมากขึ้น โดยมี 4 ตลาดหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อน คือ อาเซียน จีน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น+เกาหลี ซึ่งเป็นฐานรายได้หลักกว่า 27% ในปัจจุบัน และคาดว่าจะติด 1 ใน 3 กลุ่มที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัทในอีก 5 ปีข้างหน้า

ซึ่งในส่วนของตลาดเมืองไทยคาดว่าจะแยกกลุ่มธุรกิจทั้ง 2 ส่วนนี้ออกจากกันได้ช่วงปลายปี นอกจากนี้โกดักยังได้ตั้งเมืองไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ด้วยการโยกสำนักงานออฟฟิศประจำภูมิภาค เดิมตั้งอยู่ในสิงคโปร์เข้ามาที่เมืองไทยแล้ว

ทั้งนี้ บริษัทโกดัก อีสต์แมน ได้รับการอนุมัติจากศาล ให้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้ว หลังจากขายธุรกิจและสิทธิบัตรมากมายจนกลายเป็นบริษัทที่เล็กกว่าเดิมมาก นับตั้งแต่ยื่นขอศาลพิทักษ์ทรัพย์เมื่อ ม.ค.ปีที่แล้ว เนื่องจากสู้การแข่งขันตลาดกล้องดิจิทัลไม่ไหวจนขาดทุนมาโดยตลอด ซึ่งโกดักจะสามารถกลับมาประกอบการค้าได้อีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์นับจากการอนุมัติของศาล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook