ก.อุตฯยันปรับโรงงานผิดหลักเกณฑ์แล้ว
กระทรวงอุตฯ ชี้แจงหลังถูกพาดพิงการทำงานใบอนุญาต รง.4 ระบุ ร้อยละ 90 สร้างก่อนอนุญาต ปรับไปแล้วกว่า 100ล้าน
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะ ประธานกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาอนุญาตโรงงานบางประเภทที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม (รง.4) เปิดเผยถึงกรณีรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวพาดพิงถึงการทำงานของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ในการออกใบอนุญาต รง.4 ว่า เรื่องที่เข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีเพียง 2 ประเภท คือ โรงงานขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนมากกว่า 200 ล้านบาท หรือ มีการจ้างแรงงานมากกว่า 200 คน และ โรงงานที่ต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และนโยบายรัฐบาล ตลอดจนโรงงานที่หน่วยงานอนุญาตเห็นสมควร ส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณา ดังนั้นจึงไม่ใช่โรงงานที่ยื่นขออนุญาตทุกโรงจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ โดยที่ผ่านมา มีการพิจารณาคำขออนุญาตโรงงานรวม 431 ราย ผ่านการประชุมจากคณะกรรมการฯ 378 ราย อนุญาตแล้ว 291 ราย ไม่อนุญาต จำนวน 2 ราย ส่งคืนหน่วยงานที่ออกใบอนุญาต จำนวน 85 ราย และส่งเรื่องคืนเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ 53 ราย ซึ่งคณะกรรมการฯ ทำงานวันต่อวัน จึงไม่มีเรื่องค้างที่คณะกรรมการฯ ขณะที่กระทรวงได้พบโรงงานที่กระทำผิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นมา มีจำนวน 1,084 ราย และเปรียบเทียบปรับไปแล้วเป็นเงิน 1.03 ร้อยล้านบาท
ทั้งนี้ นายวิฑูรย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะทำให้เกิดความรอบคอบยิ่งขึ้นโดยเฉพาะกรณีโรงงานขนาดใหญ่ที่มีลักษณะการประกอบกิจการเสี่ยงอันตราย หรือมีปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันเรื่องร้องเรียนโรงงานที่สร้างใหม่ โรงงานที่กำลังขอใบอนุญาต หรือได้รับการอนุญาตไปแล้วจำนวนมากที่ถูกร้องเรียน พบว่า กว่าร้อยละ 90 โรงงานส่วนใหญ่จะก่อสร้างโรงงานไปล่วงหน้าก่อนการได้รับอนุญาต
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะ ประธานกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาอนุญาตโรงงานบางประเภทที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม (รง.4) เปิดเผยถึงกรณีรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวพาดพิงถึงการทำงานของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ในการออกใบอนุญาต รง.4 ว่า เรื่องที่เข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีเพียง 2 ประเภท คือ โรงงานขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนมากกว่า 200 ล้านบาท หรือ มีการจ้างแรงงานมากกว่า 200 คน และ โรงงานที่ต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และนโยบายรัฐบาล ตลอดจนโรงงานที่หน่วยงานอนุญาตเห็นสมควร ส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณา ดังนั้นจึงไม่ใช่โรงงานที่ยื่นขออนุญาตทุกโรงจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ โดยที่ผ่านมา มีการพิจารณาคำขออนุญาตโรงงานรวม 431 ราย ผ่านการประชุมจากคณะกรรมการฯ 378 ราย อนุญาตแล้ว 291 ราย ไม่อนุญาต จำนวน 2 ราย ส่งคืนหน่วยงานที่ออกใบอนุญาต จำนวน 85 ราย และส่งเรื่องคืนเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ 53 ราย ซึ่งคณะกรรมการฯ ทำงานวันต่อวัน จึงไม่มีเรื่องค้างที่คณะกรรมการฯ ขณะที่กระทรวงได้พบโรงงานที่กระทำผิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นมา มีจำนวน 1,084 ราย และเปรียบเทียบปรับไปแล้วเป็นเงิน 1.03 ร้อยล้านบาท
ทั้งนี้ นายวิฑูรย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะทำให้เกิดความรอบคอบยิ่งขึ้นโดยเฉพาะกรณีโรงงานขนาดใหญ่ที่มีลักษณะการประกอบกิจการเสี่ยงอันตราย หรือมีปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันเรื่องร้องเรียนโรงงานที่สร้างใหม่ โรงงานที่กำลังขอใบอนุญาต หรือได้รับการอนุญาตไปแล้วจำนวนมากที่ถูกร้องเรียน พบว่า กว่าร้อยละ 90 โรงงานส่วนใหญ่จะก่อสร้างโรงงานไปล่วงหน้าก่อนการได้รับอนุญาต