สศอ.ร่วมสถาบันอาหารพัฒนานวัตกรรมการผลิต
สศอ. จับมือสถาบันอาหาร พัฒนานวัตกรรมอาหารเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทย
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ร่วมกับสถาบันอาหาร ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมอาหารเชิงสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทย โดยที่วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภค รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตโดยผ่านการประชุมระดมความเห็นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เนื่องจาก ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุกว่า 9 ล้านคน ในปัจจุบันหรือร้อยละ 14.46 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศและในอนาคตคาดว่าจะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.15 ในปี 2573 ซึ่งจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
นอกจากนี้ พบว่าผลจากการศึกษา โดยระดมความเห็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทย มีหลายรายสนใจ และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อผู้สูงอายุ และเห็นว่ามีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องตามจำนวนผู้สูงอายุ ขณะที่ผลสำรวจพฤติกรรมผู้สูงอายุที่เป็นลูกค้าของบริษัทต่างๆ พบว่าผู้สูงอายุไทยมีความภักดีต่อสินค้าและห่วงใยสุขภาพประกอบกับกระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เติบโตในอัตราที่ก้าวกระโดดทำให้โอกาสทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีมากขึ้น และคาดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 500 - 1,000 ล้านบาท ใน 1 - 2 ปีข้างหน้า
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ร่วมกับสถาบันอาหาร ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมอาหารเชิงสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทย โดยที่วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภค รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตโดยผ่านการประชุมระดมความเห็นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เนื่องจาก ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุกว่า 9 ล้านคน ในปัจจุบันหรือร้อยละ 14.46 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศและในอนาคตคาดว่าจะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.15 ในปี 2573 ซึ่งจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
นอกจากนี้ พบว่าผลจากการศึกษา โดยระดมความเห็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทย มีหลายรายสนใจ และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อผู้สูงอายุ และเห็นว่ามีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องตามจำนวนผู้สูงอายุ ขณะที่ผลสำรวจพฤติกรรมผู้สูงอายุที่เป็นลูกค้าของบริษัทต่างๆ พบว่าผู้สูงอายุไทยมีความภักดีต่อสินค้าและห่วงใยสุขภาพประกอบกับกระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เติบโตในอัตราที่ก้าวกระโดดทำให้โอกาสทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีมากขึ้น และคาดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 500 - 1,000 ล้านบาท ใน 1 - 2 ปีข้างหน้า