อุตฯเผยแผนห่วงโซ่อุปทานสีเขียว-ลดต้นทุน
อุตสาหกรรม มอง แผนห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ
นายอรรชกา สีบุญเรือง รองปลัดกระทรวงอุตสาหรรม เปิดเผยว่า การสนับสนุนผู้ประกอบการเรื่องบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ซึ่งได้ร่วมมือกับสหภาพยุโรป จะสอดคล้องกับกระแสความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนจากผู้บริโภคที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ที่มีการรณรงค์ส่งเสริมออกกฎระเบียบข้อบังคับให้สถานประกอบการต้องดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ทั้งนี้การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว จะช่วยให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต ช่วยสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ Green GDP มีมูลค่าสูงขึ้นอีกด้วย โดยขณะนี้ได้ตั้งเป้าหมายสถานประกอบการอุตสาหกรรมสีเขียวของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2554 - 2561 ที่ 70,000 ราย โดยปัจจุบัน มียอดสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวแล้ว 9471 ราย
ด้าน นางรสสุคนธ์ จันทร์ดา ผู้แทนจากบริษัทฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด กล่าวว่า จากที่โรงงานได้เข้าร่วมโครงการฯ เพียง 4 เดือน ช่วยให้โรงงานสามารถลดปริมาณการใช้พลังงาน แก๊ส LPG ลงกว่า 67,095 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นเงิน 1.47 ล้านบาทต่อปี รวมทั้ง มาตรการการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งช่วยลดการใช้วัตถุดิบประเภทสารเคมีลง 2850 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นเงิน 2.80 ล้านบาทต่อปี ซึ่งใช้เงินลงทุนเพียง 6.5 แสนบาท
นายอรรชกา สีบุญเรือง รองปลัดกระทรวงอุตสาหรรม เปิดเผยว่า การสนับสนุนผู้ประกอบการเรื่องบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ซึ่งได้ร่วมมือกับสหภาพยุโรป จะสอดคล้องกับกระแสความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนจากผู้บริโภคที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ที่มีการรณรงค์ส่งเสริมออกกฎระเบียบข้อบังคับให้สถานประกอบการต้องดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ทั้งนี้การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว จะช่วยให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต ช่วยสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ Green GDP มีมูลค่าสูงขึ้นอีกด้วย โดยขณะนี้ได้ตั้งเป้าหมายสถานประกอบการอุตสาหกรรมสีเขียวของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2554 - 2561 ที่ 70,000 ราย โดยปัจจุบัน มียอดสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวแล้ว 9471 ราย
ด้าน นางรสสุคนธ์ จันทร์ดา ผู้แทนจากบริษัทฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด กล่าวว่า จากที่โรงงานได้เข้าร่วมโครงการฯ เพียง 4 เดือน ช่วยให้โรงงานสามารถลดปริมาณการใช้พลังงาน แก๊ส LPG ลงกว่า 67,095 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นเงิน 1.47 ล้านบาทต่อปี รวมทั้ง มาตรการการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งช่วยลดการใช้วัตถุดิบประเภทสารเคมีลง 2850 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นเงิน 2.80 ล้านบาทต่อปี ซึ่งใช้เงินลงทุนเพียง 6.5 แสนบาท