สศอ.เผยดัชนีMPIติดลบต่อกันเป็นเดือนที่ 5
สศอ. เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม สิงหาคม แตะ 173.33 ติดลบ ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 173.33 ติดลบร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 จากดัชนีอุตสาหกรรมรถยนต์ ยอดการผลิตติดลบร้อยละ 11.85 เพราะช่วงเดียวกันปีก่อนมียอดการผลิตที่สูงผิดปกติ จากนโยบายรถยนต์คันแรก ขณะที่อุตสาหกรรมแปรรูป และถนอมอาหาร ยอดการผลิตติดลบร้อยละ 33.39 ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเลกระป๋องแช่แข็งและเนื้อไก่แปรรูป ซึ่งเป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง ขณะที่ MPI โดยรวม 8 เดือนแรกของปี 2556 ติดลบร้อยละ 1.78 ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม 8 เดือนแรก มีการขยายตัวร้อยละ 3.4
อย่างไรก็ตาม นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ สศอ. ยังคงเป้า MPI ทั้งปี เป็นบวกร้อยละ 0.5 - 1 เพราะจากเศรษฐกิจโลกที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น รวมถึงยอดการผลิตรถยนต์ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 2.5 ล้านคัน ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ดัชนี MPI เป็นบวกและอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากสินค้าฮาร์ดดิสก์ รวมทั้งคำสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ หากยอดการผลิตรถยนต์ไม่เป็นไปตามเป้า ก็มีความเป็นไปได้ที่ดัชนี MPI ทั้งปี จะติดลบ
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 173.33 ติดลบร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 จากดัชนีอุตสาหกรรมรถยนต์ ยอดการผลิตติดลบร้อยละ 11.85 เพราะช่วงเดียวกันปีก่อนมียอดการผลิตที่สูงผิดปกติ จากนโยบายรถยนต์คันแรก ขณะที่อุตสาหกรรมแปรรูป และถนอมอาหาร ยอดการผลิตติดลบร้อยละ 33.39 ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเลกระป๋องแช่แข็งและเนื้อไก่แปรรูป ซึ่งเป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง ขณะที่ MPI โดยรวม 8 เดือนแรกของปี 2556 ติดลบร้อยละ 1.78 ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม 8 เดือนแรก มีการขยายตัวร้อยละ 3.4
อย่างไรก็ตาม นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ สศอ. ยังคงเป้า MPI ทั้งปี เป็นบวกร้อยละ 0.5 - 1 เพราะจากเศรษฐกิจโลกที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น รวมถึงยอดการผลิตรถยนต์ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 2.5 ล้านคัน ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ดัชนี MPI เป็นบวกและอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากสินค้าฮาร์ดดิสก์ รวมทั้งคำสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ หากยอดการผลิตรถยนต์ไม่เป็นไปตามเป้า ก็มีความเป็นไปได้ที่ดัชนี MPI ทั้งปี จะติดลบ