เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เกี่ยวกับ"บัตรเครดิต"

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เกี่ยวกับ"บัตรเครดิต"

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เกี่ยวกับ"บัตรเครดิต"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้หรือไม่ ถ้าคุณมีบัตรเครดิตสองใบ ใบแรกคุณรูดมา 50,000 บาท พอครบดิวชำระ คุณชำระเต็ม 50,000 บาท ส่วนใบที่สองคุณคุณรูดมา 50,000 บาทเช่นกัน แต่ชำระแค่ 30,000 บาท เหลือหนี้ไว้ 20,000บาท บัตรแรกที่คุณชำระเต็ม คุณจะไม่มีภาระดอกเบี้ยเลย

แต่บัตรที่สอง ซึ่งดูเหมือนว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยแค่ส่วนที่เป็นหนี้ค้างอยู่ 20,000บาทเท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น คุณต้องเสียดอกโดยคิดจากเงินต้นทั้ง 50,000 บาท โดยนับตั้งแต่วันที่คุณใช้เงิน คุณแค่ชำระล่าช้าไปสองสามวันในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนใช้บัตรเครดิตจำนวนมากไม่เคยรู้

ทั้งนี้วิธีการคิดดอกเบี้ยของธนาคารจะคิดเป็นรายวัน หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยต่อปีที่ธนาคารให้มาถูกหารด้วย 365 วัน (เช่น 20% หารด้วย 365) และจะนำอัตราดอกเบี้ยรายวัน ( 0.054% ) ไปคูณกับยอดคงเหลือของคุณทุกวัน จนกว่าจะจะชำระหนี้ได้ทั้งหมด

ดังนั้นก่อนจะหยิบบัตรเครดิตมาใช้ โปรดระวัง!! เพราะการนำเงินในอนาคตมาใช้ อาจทำให้คุณใช้จ่ายเกินตัว และเกิดภาระหนี้สินจนถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัวได้

ดังนั้นก่อนจะทำบัตรเครดิต หรือเป็นหนี้เงินกู้ต่าง ๆ ควรคิดให้รอบคอบ และประเมินตัวเองว่ามีความสามารถที่จะจัดการกับหนี้สินที่จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ หรือไม่

อย่างไรก็ตามหากเป็นคนหนึ่งที่เป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีวิธีการจัดการกับหนี้ทั้งสองง่ายๆ ดังนี้

1. รวบรวมหนี้ทั้งหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งหมด เพื่อให้รู้จำนวนหนี้ทั้งหมดในปัจจุบันว่าเป็นเท่าไร

2. แยกประเภทหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยจ่าย โดยชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าก่อน เช่น จ่ายหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า ก่อนหนี้บัตรเครดิต

3. ลดปริมาณการใช้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล หากปัจจุบันใช้บัตรหลายใบ ให้คงเหลือใช้เพียง 1 ใบ เพื่อรักษาวินัยในการใช้จ่าย

4. หยุดการก่อหนี้เพิ่ม และตั้งใจชำระหนี้อย่างมีวินัย หาทางเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้มากขึ้น

เมื่อปลดภาระหนี้แล้ว ควรวางแผนการเงินแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง หมั่นทำรายรับ-รายจ่ายในแต่ละวัน เพื่อให้รู้ว่าเงินที่ใช้หมดไปกับอะไรบ้าง

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://k-expert.askkbank.com/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook