โบรกลุ้นสภาคองเกรสอนุมัติเพิ่มเพดานหนี้
บล.เอเซียพลัส มอง การเมืองไทยยังร้อนแรง ลุ้น สภาคองเกรส อนุมัติเพิ่มเพดานหนี้ หากไม่ไฟเขียวกระทบเชื่อมั่น
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) ประเมินแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า ระหว่างวันที่ 7 - 11 ต.ค. ว่า การเมืองไทยยังคงเป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้น โดยเชื่อว่าแนวโน้มจะมีความร้อนแรงขึ้นตามลำดับ เนื่องจากมีหลายประเด็นขัดแย้งที่จะเข้าสู่การพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ 237 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ขณะที่ปัจจัยภายนอก ต้องจับตากรณีที่มีการปิดหน่วยงานราชการบางส่วนของสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งประเมินกันว่าสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ (GDP) ราว 300 ล้านเหรียญฯ ต่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ความเสียหายในครั้งนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความขัดแย้งของสองขั้วการเมือง ว่าสามารถตกลงร่วมกันได้เมื่อใด ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาเพดานหนี้ที่จะถึงเส้นตายในวันที่ 17 ต.ค.นี้ ยังเป็นประเด็นสำคัญที่รออยู่ เพราะหากสภาคองเกรสไม่อนุมัติให้เพิ่มเพดานหนี้จากระดับปัจจุบันที่ 16.7 ล้านล้านเหรียญฯ จะทำให้สหรัฐฯ เสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ได้ ส่งผลกระทบต่อเครดิตของประเทศและลดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ลดต่ำลง ซึ่งการบริโภคในสหรัฐฯ คิดเป็น 70% ของ GDP และอาจจะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำกว่าช่วงวิกฤติปี 2550-2551 ก็เป็นได้
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) ประเมินแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า ระหว่างวันที่ 7 - 11 ต.ค. ว่า การเมืองไทยยังคงเป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้น โดยเชื่อว่าแนวโน้มจะมีความร้อนแรงขึ้นตามลำดับ เนื่องจากมีหลายประเด็นขัดแย้งที่จะเข้าสู่การพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ 237 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ขณะที่ปัจจัยภายนอก ต้องจับตากรณีที่มีการปิดหน่วยงานราชการบางส่วนของสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งประเมินกันว่าสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ (GDP) ราว 300 ล้านเหรียญฯ ต่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ความเสียหายในครั้งนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความขัดแย้งของสองขั้วการเมือง ว่าสามารถตกลงร่วมกันได้เมื่อใด ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาเพดานหนี้ที่จะถึงเส้นตายในวันที่ 17 ต.ค.นี้ ยังเป็นประเด็นสำคัญที่รออยู่ เพราะหากสภาคองเกรสไม่อนุมัติให้เพิ่มเพดานหนี้จากระดับปัจจุบันที่ 16.7 ล้านล้านเหรียญฯ จะทำให้สหรัฐฯ เสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ได้ ส่งผลกระทบต่อเครดิตของประเทศและลดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ลดต่ำลง ซึ่งการบริโภคในสหรัฐฯ คิดเป็น 70% ของ GDP และอาจจะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำกว่าช่วงวิกฤติปี 2550-2551 ก็เป็นได้