สศค.เผยงบปี56รัฐมีรายได้นำส่งคลัง2ลล.
สศค. เผย งบปี 56 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 2,157,609 ล้าน ปัจจัยหนุนมาจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีรถยนต์
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดปีงบประมาณ 2556 (ตุลาคม 2555 - กันยายน 2556) ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 2,157,609 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 179,939 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.1 ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ถึงแม้จะมีการชะลอตัวอยู่บ้าง แต่ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล
ในขณะที่ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 2,402,481 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 107,154 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 244,872 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 6,510 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 238,362 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 281,949 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลตามเอกสารงบประมาณ จำนวน 300,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้เกินดุลทั้งสิ้น 43,587 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 603,924 ล้านบาท
นายสมชัย สรุปว่า ด้วยระดับเงินคงคลังที่มากกว่า 6 แสนล้านบาท ประกอบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 มีผลบังคับใช้ได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลดีต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล รวมถึง ความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2556 และ 2557 ขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยกระทรวงการคลัง จะเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กำกับดูแลการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2557 ให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดปีงบประมาณ 2556 (ตุลาคม 2555 - กันยายน 2556) ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 2,157,609 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 179,939 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.1 ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ถึงแม้จะมีการชะลอตัวอยู่บ้าง แต่ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล
ในขณะที่ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 2,402,481 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 107,154 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 244,872 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 6,510 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 238,362 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 281,949 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลตามเอกสารงบประมาณ จำนวน 300,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้เกินดุลทั้งสิ้น 43,587 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 603,924 ล้านบาท
นายสมชัย สรุปว่า ด้วยระดับเงินคงคลังที่มากกว่า 6 แสนล้านบาท ประกอบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 มีผลบังคับใช้ได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลดีต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล รวมถึง ความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2556 และ 2557 ขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยกระทรวงการคลัง จะเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กำกับดูแลการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2557 ให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป