ส.อ.ท.ชี้อีก5ปี ความต้องการแรงงานเพิ่ม
ส.อ.ท. ชี้ ความต้องการแรงงานเพิ่ม 7 แสนคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า พร้อมจัดโครงการศึกษาทวิภาคี ผลิตบุคลากร
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ได้สำรวจความต้องการแรงงานใน 14 อุตสาหกรรม พบว่า มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นปีละร้อยละ 2 หรืออีกประมาณ 7 แสนคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยความต้องการอาจจะมีปริมาณที่สูงกว่านี้ หากเศรษฐกิจเติบโตมาก ซึ่งมีความเป็นไปได้ เนื่องจาก ไทยกำลังจะเข้าสู่การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยกลุ่มที่มีความต้องการแรงงานสูง ยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ
ขณะที่ ระดับการศึกษาที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ตามลำดับ แต่โครงสร้างการศึกษาขณะนี้ พบว่า แรงงานใหม่ยังนิยมที่จะเรียนสายสามัญและปริญญาตรี ขณะที่ สายอาชีพนอกจากจะมีผู้เลือกเรียนน้อยแล้ว ยังพบปัญหานักศึกษาที่จบออกมามีคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสถานศึกษาเอง ก็มีข้อจำกัดของเครื่องมือในการเรียนการสอน ที่พัฒนาไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม
ดังนั้น ส.อ.ท. จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดโครงการศึกษาทวิภาคีในสถานประกอบการอุตสาหกรรม โดยจุดประสงค์หลักเพื่อการจัดการอาชีวศึกษาให้เข้มแข็ง พร้อมผลิตบุคลากรที่มีความสามารถตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และมีการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ได้สำรวจความต้องการแรงงานใน 14 อุตสาหกรรม พบว่า มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นปีละร้อยละ 2 หรืออีกประมาณ 7 แสนคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยความต้องการอาจจะมีปริมาณที่สูงกว่านี้ หากเศรษฐกิจเติบโตมาก ซึ่งมีความเป็นไปได้ เนื่องจาก ไทยกำลังจะเข้าสู่การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยกลุ่มที่มีความต้องการแรงงานสูง ยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ
ขณะที่ ระดับการศึกษาที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ตามลำดับ แต่โครงสร้างการศึกษาขณะนี้ พบว่า แรงงานใหม่ยังนิยมที่จะเรียนสายสามัญและปริญญาตรี ขณะที่ สายอาชีพนอกจากจะมีผู้เลือกเรียนน้อยแล้ว ยังพบปัญหานักศึกษาที่จบออกมามีคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสถานศึกษาเอง ก็มีข้อจำกัดของเครื่องมือในการเรียนการสอน ที่พัฒนาไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม
ดังนั้น ส.อ.ท. จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดโครงการศึกษาทวิภาคีในสถานประกอบการอุตสาหกรรม โดยจุดประสงค์หลักเพื่อการจัดการอาชีวศึกษาให้เข้มแข็ง พร้อมผลิตบุคลากรที่มีความสามารถตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และมีการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน