ดอกเบี้ยทบต้นคืออะไร มีคำตอบ!!

ดอกเบี้ยทบต้นคืออะไร มีคำตอบ!!

ดอกเบี้ยทบต้นคืออะไร มีคำตอบ!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดอกเบี้ยทบต้น คำนี้หลายคนได้ยินกันบ่อยๆ แต่มีกี่คนที่ทราบวิธีคิดที่ถูกต้อง โดยทั่วไปการคำนวณดอกเบี้ยจะคำนวณเป็นรายวัน โดยใช้หลักเกณฑ์ 1 ปี มี 365 วัน และใช้สูตรการคำนวณดอกเบี้ย ดังนี้

 

* จำนวนวันใน 1 ปี ขึ้นกับการกำหนดของสถาบันการเงินซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดจำนวนวันใน 1 ปีเท่ากับ 365 วัน หรือ 366 วัน ในปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน (ปีอธิกสุรทิน) แต่ไม่ว่าจะกำหนดจำนวนวันเป็นเท่าใดก็ตาม สถาบันการเงินจะต้องใช้จำนวนวันที่เท่ากันสำหรับการคำนวณทั้งดอกเบี้ยจ่าย เช่น เงินฝาก และดอกเบี้ยรับ เช่น สินเชื่อเป็นต้น

การคิดดอกเบี้ยทบต้น

จากคำกล่าวที่ว่า "ออมก่อน รวยก่อน" ความร่ำรวยดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอานุภาพของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest Rate) หากกล่าวโดยย่อ ความหมายของดอกเบี้ยทบต้น ก็คือ ดอกเบี้ยของดอกเบี้ยนั่นเอง

แผนภาพการคำนวณดอกเบี้ยทบต้น

ตัวอย่าง

ฝากเงิน 10,000 บาทในบัญชีออมทรัพย์แบบพิเศษ (ไม่เสียภาษี) ซึ่งจะจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี

เวลาผ่านไป 1 ปี ได้รับดอกเบี้ย 1,000 บาทจากเงินต้น สิ้นสุดปีที่ 1 มีเงินในบัญชี เท่ากับ 11,000 บาท
เวลาผ่านไป 2 ปี ได้รับดอกเบี้ย 2,000 บาทจากเงินต้น (1,000 แรกจากปีที่ 1 และอีก 1,000 จากปีที่ 2) และได้รับดอกเบี้ยของดอกเบี้ยอีก 100 บาท รวมเป็นดอกเบี้ยทั้งสิ้น 2,100 บาท สิ้นสุดปีที่ 2 จะมีเงินในบัญชี
เท่ากับ 12,100 บาท

เมื่อเวลายิ่งผ่านไป ผลตอบแทนของเงินฝาก มิใช่เพียงมาจากดอกเบี้ยของเงินต้นที่ได้ฝากไว้กับธนาคารเท่านั้น แต่จะได้รับ "ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย" ตามจำนวนปีที่เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี อานุภาพของดอกเบี้ยทบต้น จะทำให้เงินต้นเพียงแค่ 10,000 บาท กลายเป็น 67,275 บาท  

รู้ไหมว่า : ผลของดอกเบี้ยทบต้นทำให้ผลตอบแทนเงินฝากเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในทางกลับกันหากเป็น การกู้เงิน การคิดดอกเบี้ยทบต้นเช่นนี้ก็ย่อมไปเร่งภาระหนี้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนดในสัญญา

ขอบคุณข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook