สนพ.ทำSocialMediaให้ข้อมูลประหยัดพลังงาน
สนพ. เพิ่มช่องทางให้ข้อมูลประหยัดพลังงาน ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หลังพบการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้น 2.3%
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ. ได้จัดทำสื่อ Social Media ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางให้ความรู้ด้านพลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแก่ประชาชน และทำให้เกิดการลดใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น ผ่านช่องทาง Facebook ที่ Fan Page Energy Knowledge By EPPO และ Twitter ที่ @Eppo_Knowledge หลังพบสถิติการใช้พลังงาน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย.2556) มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกประเภท ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
(CO2) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) รวม 120.23 ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) รวม 117.55 ล้านตัน CO2 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยเชื้อเพลิงหลักที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดคือมาจากภาคการผลิตไฟฟ้าร้อยละ 41 รองลงมาคือ ภาคขนส่งร้อยละ 27 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 23 และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ร้อยละ 9 โดยหากเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซ CO2 ของประเทศไทยกับต่างประเทศ จากค่าเฉลี่ย ในปี 2553 จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย มีการปล่อยก๊าซ CO2 ที่ระดับ 0.553 กิโลกรัม CO2 ต่อ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) สูงกว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการปล่อย CO2 เพียง 0.331-0.522 กิโลกรัม CO2 ต่อ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) เนื่องจากกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้นิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ที่ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซ CO2
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ. ได้จัดทำสื่อ Social Media ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางให้ความรู้ด้านพลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแก่ประชาชน และทำให้เกิดการลดใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น ผ่านช่องทาง Facebook ที่ Fan Page Energy Knowledge By EPPO และ Twitter ที่ @Eppo_Knowledge หลังพบสถิติการใช้พลังงาน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย.2556) มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกประเภท ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
(CO2) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) รวม 120.23 ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) รวม 117.55 ล้านตัน CO2 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยเชื้อเพลิงหลักที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดคือมาจากภาคการผลิตไฟฟ้าร้อยละ 41 รองลงมาคือ ภาคขนส่งร้อยละ 27 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 23 และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ร้อยละ 9 โดยหากเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซ CO2 ของประเทศไทยกับต่างประเทศ จากค่าเฉลี่ย ในปี 2553 จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย มีการปล่อยก๊าซ CO2 ที่ระดับ 0.553 กิโลกรัม CO2 ต่อ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) สูงกว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการปล่อย CO2 เพียง 0.331-0.522 กิโลกรัม CO2 ต่อ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) เนื่องจากกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้นิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ที่ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซ CO2