ส.อ.ท.แนะลดต้นทุนโลจิสติกส์พึ่งพาขนส่งทางเรือ
ส.อ.ท. แนะรัฐช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนโลจิสติกส์ พร้อมพึ่งพาการขนส่งทางเรือ-ราง มากขึ้น ให้มีศักยภาพรองรับ AEC
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สำหรับต้นทุนด้านโลจิสติกส์เป็นต้นทุนที่สำคัญ หากผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนด้านนี้ได้ เพราะจากการสำรวจล่าสุด ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทย อยู่ที่ร้อยละ 17 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด หากเทียบกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8 - 9 ทั้งนี้ อยากให้ไทย ใช้โมเดลของยุโรปเป็นหลัก เปรียบเทียบที่ตั้งทางภูมิศาสตร์กับประเทศเยอรมนี ซึ่งจะเป็นประเทศศูนย์กลาง และสามารถบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ ได้มีประสิทธิภาพ ขณะที่ ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยเฉพาะเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 รวมทั้งกำลังเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โดยเยอรมนี สามารถใช้ประโยชน์จากการขนส่งด้านต่างๆ ทั้ง ราง ถนน เรือ และอากาศ ขณะที่ไทยใช้การขนส่งจากรางเพียงร้อยละ 2 ทางน้ำประมาณร้อยละ 10 และทางถนน มากถึงร้อยละ 82 ดังนั้น เมื่อไทยก้าวเข้าสู่ AEC อยากให้ไทยเน้นการขนส่งผ่านเรือและรางมากขึ้น เพราะยังมีสัดส่วนน้อย โดยเฉพาะทางเรือ ไทยควรพัฒนาท่าเรือปากบารา จ.สตูล ให้รองรับการขนส่งดังกล่าว ซึ่งหากมีการสนับสนุนมากขึ้น ไทยจะสามารถส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มได้ ขณะที่การขนส่งทางรถยนต์ปัจจุบัน ถ้าหากขนส่งไปประเทศเพื่อนบ้านจะเสียเวลาในการเปลี่ยนถ่ายสินค้าให้กับรถยนต์ของประเทศปลายทาง ดังนั้น จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านการขนส่งระหว่างประเทศ ร่วมหารือกับหน่วยงานขนส่งของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถขนส่งได้ทันที
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สำหรับต้นทุนด้านโลจิสติกส์เป็นต้นทุนที่สำคัญ หากผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนด้านนี้ได้ เพราะจากการสำรวจล่าสุด ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทย อยู่ที่ร้อยละ 17 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด หากเทียบกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8 - 9 ทั้งนี้ อยากให้ไทย ใช้โมเดลของยุโรปเป็นหลัก เปรียบเทียบที่ตั้งทางภูมิศาสตร์กับประเทศเยอรมนี ซึ่งจะเป็นประเทศศูนย์กลาง และสามารถบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ ได้มีประสิทธิภาพ ขณะที่ ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยเฉพาะเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 รวมทั้งกำลังเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โดยเยอรมนี สามารถใช้ประโยชน์จากการขนส่งด้านต่างๆ ทั้ง ราง ถนน เรือ และอากาศ ขณะที่ไทยใช้การขนส่งจากรางเพียงร้อยละ 2 ทางน้ำประมาณร้อยละ 10 และทางถนน มากถึงร้อยละ 82 ดังนั้น เมื่อไทยก้าวเข้าสู่ AEC อยากให้ไทยเน้นการขนส่งผ่านเรือและรางมากขึ้น เพราะยังมีสัดส่วนน้อย โดยเฉพาะทางเรือ ไทยควรพัฒนาท่าเรือปากบารา จ.สตูล ให้รองรับการขนส่งดังกล่าว ซึ่งหากมีการสนับสนุนมากขึ้น ไทยจะสามารถส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มได้ ขณะที่การขนส่งทางรถยนต์ปัจจุบัน ถ้าหากขนส่งไปประเทศเพื่อนบ้านจะเสียเวลาในการเปลี่ยนถ่ายสินค้าให้กับรถยนต์ของประเทศปลายทาง ดังนั้น จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านการขนส่งระหว่างประเทศ ร่วมหารือกับหน่วยงานขนส่งของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถขนส่งได้ทันที