CIMBชี้ ศก.Q3 อาจแย่-ห่วงหนี้ครัวเรือน
CIMB ห่วงหนี้ครัวเรือนไทย มากกว่าการเมือง เตือนนักลงทุนระวังความผันผวนในตลาดหุ้น หากเศรษฐกิจไตรมาส 3 ออกมาแย่ลง
นายอมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัย เศรษฐกิจและตลาดการเงิน สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การรายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GPD) ในไตรมาสที่ 3 ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ในวันที่ 18 พ.ย. ที่จะถึงนี้ อาจสร้างความผิดหวังให้นักลงทุนได้ เพราะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 อาจออกมาแย่ลง และจะยังคงหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากปัจจัยด้านหนี้ครัวเรือนที่เร่งตัวแรงในระยะหลังการส่งออกได้ชะลอลง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐในด้านการบริโภคได้ลดลง ส่งผลให้ครัวเรือนไทยมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะด้านดอกเบี้ยและเงินผ่อนอื่นๆ ลดลง การบริโภคสินค้าคงทนจึงลดลงตาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่ชะลอตัวพร้อมกับเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำมาก อาจมีความเป็นไปได้ ที่ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 พ.ย.นี้ ส่วนทางกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่เสนอให้ ไทยเตรียมขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรับมือการถอนมาตรการผ่อนคลายทางการเงินสหรัฐฯ หรือ QE
นอกจากนี้ นายอมรเทพ เปิดเผยว่า สำหรับไตรมาสที่ 4 มองว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้ โดยมีแรงสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก แม้ปัญหาการเมืองจะยืดเยื้อ เศรษฐกิจไทย และการลงทุน จะยังดูดีอยู่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาปัจจัยด้านการเมือง มีผลต่อการลงทุนในหุ้นหรือค่าเงินบาทไม่มากนัก และถ้าหากมี ก็เป็นผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น ส่วนมากแล้วปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศ และสภาพคล่องของการเงินโลกมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่า
นายอมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัย เศรษฐกิจและตลาดการเงิน สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การรายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GPD) ในไตรมาสที่ 3 ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ในวันที่ 18 พ.ย. ที่จะถึงนี้ อาจสร้างความผิดหวังให้นักลงทุนได้ เพราะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 อาจออกมาแย่ลง และจะยังคงหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากปัจจัยด้านหนี้ครัวเรือนที่เร่งตัวแรงในระยะหลังการส่งออกได้ชะลอลง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐในด้านการบริโภคได้ลดลง ส่งผลให้ครัวเรือนไทยมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะด้านดอกเบี้ยและเงินผ่อนอื่นๆ ลดลง การบริโภคสินค้าคงทนจึงลดลงตาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่ชะลอตัวพร้อมกับเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำมาก อาจมีความเป็นไปได้ ที่ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 พ.ย.นี้ ส่วนทางกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่เสนอให้ ไทยเตรียมขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรับมือการถอนมาตรการผ่อนคลายทางการเงินสหรัฐฯ หรือ QE
นอกจากนี้ นายอมรเทพ เปิดเผยว่า สำหรับไตรมาสที่ 4 มองว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้ โดยมีแรงสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก แม้ปัญหาการเมืองจะยืดเยื้อ เศรษฐกิจไทย และการลงทุน จะยังดูดีอยู่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาปัจจัยด้านการเมือง มีผลต่อการลงทุนในหุ้นหรือค่าเงินบาทไม่มากนัก และถ้าหากมี ก็เป็นผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น ส่วนมากแล้วปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศ และสภาพคล่องของการเงินโลกมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่า