จัดอันดับ...ใครเป็นใคร เศรษฐีหุ้น-เศรษฐีอสังหาฯ

จัดอันดับ...ใครเป็นใคร เศรษฐีหุ้น-เศรษฐีอสังหาฯ

จัดอันดับ...ใครเป็นใคร เศรษฐีหุ้น-เศรษฐีอสังหาฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นธรรมเนียมปฏิบัติช่วงปลายปีที่มีการจัดอันดับ "เศรษฐีหุ้น" โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร ปีนี้ถึงคนในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ไม่มีชื่อรั้งแชมป์เศรษฐีหุ้น แต่ "เสี่ยทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์" ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ค่าย "พฤกษา เรียลเอสเตท" และ "เฮียตึ๋ง-อนันต์ อัศวโภคิน" ประธานคณะกรรมการและประธานกรรมการบริหาร "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" ก็เป็นขาประจำที่ติดชาร์ตอันดับต้น ๆ ทุกปี

โดยผลการจัดลำดับ "เสี่ยทองมา" จากรั้งแชมป์เศรษฐีหุ้น 3 ปีซ้อน ในปี"53-55 ปีนี้หล่นมาอยู่อันดับที่ 5 ด้วยมูลค่าหุ้น 25,453.35 ล้านบาท ส่วน "อนันต์" นายใหญ่แลนด์ฯ พี่ใหญ่วงการอสังหาฯ จากอดีตแชมป์เศรษฐีหุ้น 7 ปี ต่อเนื่อง หล่นมา 1 อันดับอยู่ที่ 4 ถือครองหุ้นรวม 25,740.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4,052.80 ล้านบาท

แม้ อันดับเศรษฐีหุ้นจะลดลง แต่มองในแง่การดำเนินงานธุรกิจปีนี้ "พฤกษาฯ" ของ "เสี่ยทองมา" ไม่ได้ถดถอย โดยเฉพาะ "ยอดขาย" (พรีเซล) เป็นบริษัทอสังหาฯรายเดียวที่เพิ่มเป้าประมาณการปีนี้จาก 3.54 หมื่นล้านบาท เป็น 3.9-4.1 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 11 เดือนแรก (ถึง 27 พ.ย. 56) มียอดขาย 4.2 หมื่นล้านบาท เกินเป้าหมายไปแล้ว เมื่อจบสิ้นปีคาดว่าจะแตะ 4.5 หมื่นล้านบาท มีลุ้นดีดกลับมาครองแชมป์อันดับหนึ่ง

หลังปี"55 เสียแชมป์ให้ "แสนสิริ"

ขณะ ที่ยอดรับรู้รายได้ปีนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาได้ปรับประมาณการเพิ่มขึ้นจากเดิม 3.4 หมื่นล้านบาท เป็น 3.6-3.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดของวงการอสังหาฯ เท่ากับว่า "พฤกษาฯ"

ปีนี้จะกลับมาเป็นเบอร์หนึ่งได้ไม่ยาก ส่วนปีหน้า "พฤกษาฯ" ตั้งเป้ายอดขายไว้ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพียงพอจะก้าวขึ้นเป็นแชมป์ เมื่อเทียบกับค่าย "แสนสิริ" ที่ปรับเป้ายอดขายลดลงเหลือ 3.5-3.6 หมื่นล้านบาท

ด้าน "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" ของ "อนันต์" คงจะยืนพื้นเป็นอันดับที่ 3 แม้ปีนี้วางเป้ายอดขาย 3 หมื่นล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ 2.5 หมื่นล้านบาท แต่เปิดดูในแง่ "กำไรสุทธิ" แลนด์ฯยังคงเป็นแชมป์ของวงการทุกปี

โดย เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา "อนันต์" คาดว่าถึงสิ้นปีนี้ น่าจะมีกำไรสุทธิเกินกว่า 6 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมาทำได้ประมาณ 5 พันล้านบาท

ก่อนหน้านี้ "อนันต์" เคยระบุว่า แลนด์ฯไม่ได้ยึดติดจะต้องมียอดขายและยอดรับรู้รายได้สูงที่สุด สิ่งที่พิจารณาคือ "กำไรสุทธิ" และการควบคุมค่าใช้จ่ายในองค์กร โดยเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งขณะนั้นแลนด์ฯมียอดรับรู้ราย ได้ต่อปี ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ใช้บุคลากร 600 คน แต่ปัจจุบันมียอดรับรู้รายได้กว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่จำนวนบุคลากรก็ยังเท่าเดิม

โดยหนึ่งคีย์ซักเซสของแลนด์ฯที่ทำกำไร สุทธิได้สูง คือไม่จำเป็นต้องขายบ้านตั้งแต่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ยังใช้กลยุทธ์ "บ้านสร้างเสร็จก่อนขาย 100%" ส่วนคอนโดมิเนียมเน้นวิธีการขายแบบ...ขายก่อนแล้วค่อยสร้าง แต่ทุกอย่างจะไม่รีบเร่ง เพื่อทำสถิติยอดขายให้ได้สูงสุดเหมือนค่ายอื่น ๆ เพราะวิธีนี้ช่วยให้แลนด์ฯสามารถปรับขึ้นราคาขายขึ้นไปได้เรื่อย ๆ
เพราะ แทนที่จะได้สัดส่วนกำไรสุทธิเท่ากับ 12% เท่ากับค่าเฉลี่ยของตลาด จากยุทธวิธีของแลนด์ฯนั้นทำให้เพิ่มสัดส่วนกำไรสุทธิขึ้นเป็น 17%

นี่คือสูตรสำเร็จของแลนด์ฯ ที่ทำให้คงแชมป์ด้านกำไรมาอย่างต่อเนื่อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook