สรรพากรเล็ง"หมอ-ครูกวดวิชา" รายได้สูงแต่เสียภาษีไม่ครบ ชงรัฐบาลใหม่กวาดเข้าระบบ

สรรพากรเล็ง"หมอ-ครูกวดวิชา" รายได้สูงแต่เสียภาษีไม่ครบ ชงรัฐบาลใหม่กวาดเข้าระบบ

สรรพากรเล็ง"หมอ-ครูกวดวิชา" รายได้สูงแต่เสียภาษีไม่ครบ ชงรัฐบาลใหม่กวาดเข้าระบบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สรรพากรเดินหน้าขยายฐานภาษี พบหลายอาชีพรายได้สูงแต่กรอบคำนวณภาษีไม่ชัด ทำให้เกิดการหลบเลี่ยง จับจ้องกลุ่มแพทย์-แม่ค้า-ครูกวดวิชา-นายหน้าประกัน

นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยว่า กรมสรรพากรกำลังพิจารณาขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมผู้มีรายในกลุ่มอาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากที่มีผู้ยื่นแบบในปัจจุบัน 10 ล้านราย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้อิสระ และที่ยังไม่เข้ามาอยู่ในระบบ ทั้งที่มีรายได้ถึงเกณฑ์หรือตั้งใจจะหลบเลี่ยงภาษีภาษี เพื่อเตรียมเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาเห็นชอบต่อไป โดยกลุ่มที่กำลังพิจารณา เช่น กลุ่มแม่ค้า-พ่อค้า ร้านอาหาร ตามตลาดนัด ตลาดสด ซึ่งปัจจุบันบางแห่งได้เสียเงินในรูปแบบค่าธรรมเนียม โดยมีเทศกิจเป็นผู้จัดเก็บเป็นรายวัน ซึ่งกลุ่มนี้ยอมรับว่าค่อนข้างยากเพราะต้องพิจารณาด้วยว่ามีที่ค้าขายเป็นหลักแหล่งอย่างไรและเจ้าหน้าที่สรรพากรเองอาจจะเข้าไม่ถึงคนกลุ่มนี้ จึงอาจต้องหาวิธีประเมินเพื่อจัดเก็บภาษีที่ต่างจากการยื่นแบบปกติ

นายสุทธิชัยกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มแพทย์ ที่อาจมีกรอบรายได้ในการยื่นเสียภาษีไม่ครบถ้วน เพราะหากพิจารณาดูการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน พบว่าทำหน้าที่เหมือนกับอพาร์ตเมนต์ในการให้เช่าบริการทางการแพทย์ ทั้งห้องผู้ป่วย เครื่องมืออุปกรณ์ ห้องผ่าตัด เพื่อจ่ายให้กับแพทย์ผู้มารักษา แต่โรงพยาบาลเหมือนกับทำหน้าที่จำหน่ายยารักษาโรคเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นการทำสัญญาระหว่างหมอกับโรงพยาบาล จึงต้องศึกษาแนวทางดูว่าจะเก็บภาษีจากกลุ่มแพทย์อย่างไร นอกจากนั้น ยังมีการตั้งคณะบุคคลขึ้นมากระจายการเสียภาษีออกไปให้ต่ำกว่าความเป็นจริงด้วย โดยการแก้ไขกฎหมายในเรื่องดังกล่าวยังไม่ผ่านสภาทำให้ปีนี้กรมฯจะเข้มงวดในการตรวจสอบการยื่นแบบของกลุ่มอาชีพนี้เป็นพิเศษ

นอกจากนั้น กลุ่มที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ กลุ่มอาจารย์ที่สอนในโรงเรียนกวดวิชา ที่นับว่าเป็นกลุ่มมีรายได้สูงและพยายามจะเข้าไปตรวจสอบการเสียภาษี แต่ก็ถูกคัดค้านมาโดยตลอด เพราะปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชาได้รับการยกเว้นภาษีรายได้จากการประกอบธุรกิจด้านการศึกษา ตามกฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการ

"การสอนในโรงเรียนกวดวิชาบางแห่งใช้วิดีโอจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง เพื่อส่งไปเปิดตามโรงเรียนกวดวิชาต่างจังหวัดด้วยซ้ำ กรมจึงจะเข้าไปดูส่วนของรายได้ของอาจารย์กวดวิชาแทนที่จะดูจากตัวสถาบันกวดวิชาว่ามีการแจ้งเสียภาษีถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ คาดว่าในส่วนนี้น่าทำได้จริงในปีหน้าหลังจากที่กรมพยายามมานาน" นายสุทธิชัยกล่าว และว่า ยังมีกลุ่มตัวแทนนายหน้าขายประกัน แม้ว่าได้จดทะเบียนเป็นคณะบุคคล แต่หากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังมีผู้หลีกเลี่ยงด้วยแนวทางต่างๆ จึงต้องหาแนวทางดูแลให้ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook