รู้จักพี่น้องอีก 2 คนของ ตั๊น จิตภัสร์ ที่ยังใช้ "ภิรมย์ภักดี"
นอกจาก "ตั๊น" น.ส.จิตภัสร์ ที่กำลังโด่งดังอยู่ตอนนี้ จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี และ ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี ยังมี ลูกชายและลูกสาวอีก 2 คน ซึ่งทั้งคู่ยังคงใช้ชีวิตตามปกติ และยังคงใช้นามสุกล "ภิมย์ภักดี" เหมือนเดิม
โดย ตุ๊ย น.ส.นันทญา ภิรมย์ภักดี เป็นลูกสาวคนรองต่อจาก "ตั๊น" เป็นอีก 1 สาวทายาทแห่งตระกูลเบียร์สิงห์ที่หลงไหลในการถ่ายรูป ตอนนี้ศึกษาอยู่ต่างประเทศ
ส่วนลูกชายคนสุดท้อง ต่อย นายณัยณพ ภิรมย์ภักดี เป็นลูกชายคนเล็กในบรรดาพี่น้อง 3 คน เป็นอีกหนึ่งทายาทสิงห์ที่หน้าตาดี ปัจจุบันเข้าเรียนการฝึกทหารที่ Royal Military Academy Sandhurst ประเทศอังกฤษ
สำหรับประวัติตระกูลภิรมย์ภักดี เริ่มมาจาก พระภิรมย์ภักดี ( ชม เศรษฐบุตร ) กับ นางมา เศรษฐบุตร มีบุตรชายชื่อ พระยาภิรมย์ภักดี หรือ ( บุญรอด เศรษฐบุตร ) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ เบียร์สิงห์ และ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด ( พ.ศ. 2476 )
พระยาภิรมย์ภักดี เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2415 ณ บ้านสะพานยาว วัดบพิตรพิมุข ( เชิงเลน ) ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบล จักรวรรดิ อำเภอ สัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อยังเด็ก เรียนหนังสือกับบิดา พออายุได้ 11 ปี เรียนกับพระอาจารย์เนียม วัดเชิงเลนได้ปีเศษ ก็ได้ฝึกหัดวาดเขียนที่บ้านหลวงฤทธิ์ฯ เรียนภาษาอังกฤษกับ ท่าน หมอ.เอ.ยี.แมคฟาแลนด์ ที่โรงเรียนหลวงสวนอนันต์ เรียนได้ 2 ปี ก็ย้ายโรงเรียนมาที่สุนันทาลัย สอบได้ที่ 1 ในทุกวิชาของโรงเรียน และได้มาเป็นครูสอนในปีพ.ศ. 2433 ของโรงเรียนเดียวกัน และต่อมาได้มาทำประโยชน์ให้สังคม โดยมาเป็นครูสอนเด็กอนาถา
ในปี พ.ศ.2435 เจ้าพระยาภาสวงศ์ เสนาบดี ได้ทดลองให้ทำหน้าที่เลขานุการกระทรวงธรรมการ เมื่อจะลาออกครูใหญ่ไม่ให้ออก จึงตัดสินใจไม่เอาทั้ง 2 อย่าง จากนั้นทำงานเป็น เสมียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษที่โรงเลื่อยของห้างกิมเซ่ง หลี และห้างเด็นนิมอตแอนด์ดิกซัน จนเห็นลู่ทางธุรกิจจึงมาเริ่มเป็นเจ้าของกิจการค้าไม้ เดินเรือ โดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา และก่อตั้งโรงเบียร์แห่งแรกขึ้น แต่ในสมัยนั้น ยังไม่มีนโยบายเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตเบียร์มาก่อน จึงยุติลงที่การอนุมัติโรงเบียร์แห่งแรกบนเนื้อที่ 9 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านบางกระบือ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกที่ 6 แสนบาท ( พ.ศ. 2477 )
พระยาภิรมย์ภักดีได้นำเอาเบียร์สดใส่ถัง ไปเปิดให้ผู้คนดื่มฟรีในงานสโมสร คณะราษฎร ปรากฏว่าเป็นที่พอใจยิ่งนัก ข่าวได้แพร่สะพัดออกไป มีลูกค้าจับจองสินค้าออกสู่ตลาด จนได้จำหน่ายเบียร์รุ่นแรกเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 มีตรายี่ห้อต่าง ๆ กัน ทั้งตราว่าว ตราพระปรางค์ ตรากุญแจ ตรารถไฟ ตราหมี ปรากฏว่าเบียร์ตราสิงห์ได้รับความนิยมมากที่สุด ต่อมาจึงค่อยๆ หยุดผลิตยี่ห้ออื่นไป จนเหลือเพียงเบียร์สิงห์
ท่านมีความรู้ความสามารถ แต่งตำราการคิดคำนวณ หน้าไม้สำเร็จรูป แต่งตำราว่าวพนัน ได้โปรดเกล้าเป็นนายเรือตรี ร.น. เสือป่าและกัปตันเรือเดินทะเล ได้เป็นกรรมการสโมสร และสนาม และยังบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างเช่น ได้ถวายตัวเป็นสมาชิกเสือป่า สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างกระโจมแตรในสวนลุมพินี สร้างโรงเรียนอนาถา เป็นต้น ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นหลวงภิรมย์ภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยชั้น ที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย และได้เปลี่ยนเป็น พระภิรมย์ภักดี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2467 และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภิรมย์ภักดี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 พระยาภิรมย์ภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2493 ( Credit : Wikipedia )
อัลบั้มภาพ 25 ภาพ