5 อันดับสินค้าแพงไร้เหตุผล

5 อันดับสินค้าแพงไร้เหตุผล

5 อันดับสินค้าแพงไร้เหตุผล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สินค้าและบริการ 5 อย่างในตลาดสหรัฐที่มีราคาแพงอย่างไร้เหตุผล เกือบทุกอย่างสามารถเทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

 

 

1. ป๊อปคอร์นหน้าโรงภาพยนตร์

ค่าเฉลี่ยราคาป๊อปคอร์นหน้าโรงหนังสูงกว่าป๊อปคอร์นที่วางขายทั่วไปถึง 8 เท่า แต่คนรักหนังหลายรายก็ยินดีที่จะยืนเข้าคิวเพื่อแลกกับความหอมมันเข้ากับบรรยากาศในราคาแสนแพงป๊อปคอร์นในถังขนาดกลาง ให้พลังงานระหว่าง 800-1,200 แคลอรี (แล้วแต่รสชาติ) หรือเท่ากับการกินเบคอนทาเนย 30 ชิ้น มีไขมันอิ่มตัว 60 กรัม และโซเดียม 500 มิลลิกรัม

 

 

2. ตำราเรียนระดับอุดมศึกษา

ผลการศึกษาโดยองค์กร Public Interest Research Groups (PIRGs) พบว่าในรอบ 10 ปี ราคาตำราเรียนระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 82 หรือคิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาร้อยละ 26 ของค่าใช้จ่ายด้านการเรียนทั้งหมดแต่ละปี นักศึกษาต้องจ่ายค่าอุปกรณ์การเรียน โดยเฉพาะตำรา เป็นเงิน 1,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากปัญหาภาระด้านค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เป็นที่มาของโครงการ ‘Open textbooks’ ซึ่งเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญจากคณะหรือสาขาวิชานั้นๆ แต่จัดพิมพ์ภายใต้ลิขสิทธิ์เสรี ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฉบับออนไลน์ได้ฟรี ขณะที่ฉบับสำหรับการพิมพ์ออกมาเป็นเล่มอยู่ที่ไม่เกิน 20 ดอลลาร์ หรือจะสามารถช่วยนักศึกษาประหยัดค่าตำราไปได้ถึง 100 ดอลลาร์ต่อวิชาขณะนี้ Open textbooks มีนักศึกษาลงทะเบียนใช้บริการใน 360 มหาวิทยาลัยหรือมากกว่า 50,000 ราย แต่ยังถือว่าเป็นเพียง 1 ใน 10 ของนักศึกษาและสถาบันการศึกษาทั่วสหรัฐ

 3. ปริ้นเตอร์อิงค์เจ็ท

เฉพาะเครื่องพิมพ์ เดี๋ยวนี้มีราคาย่อมเยามาก มีเงิน 80 ดอลลาร์ (ในไทยเพียง 1,000 ต้นๆ) ก็สามารถซื้อได้เครื่องหนึ่งสบายๆ แต่ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงอยู่ที่หมึกพิมพ์ โดยตลับหมึกสีราคาอยู่ที่ 28-50 ดอลลาร์ ขณะที่ตลับหมึกดำอยู่ที่ 10-20ดอลลาร์ ซึ่งหมึกสีแต่ละตลับสามารถปริ้นท์งานออกมาได้ราว 200 แผ่น การเติบโตของเอกสารข้อมูลในรูปแบบไฟล์ PDF เปิดอ่านได้สะดวกในคอมพิวเตอร์และแทบเล็ต หรือแนวคิดออฟฟิศไร้กระดาษ ทำให้เครื่องพิมพ์ลดความสำคัญลงไปไม่น้อย และหากผู้ใช้มีความต้องการอัดภาพสีจริงๆ การใช้บริการร้านอัดรูปดิจิตอลเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทั้งแง่ราคาและคุณภาพ

 4. ค่าส่ง SMS

ค่าใช้จ่ายจริงๆ ของการส่งเมสเสจสั้นแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 15-25 เซนต์ (ไม่เกิน 7.75 บาท) ปริมาณข้อมูลในการส่งข้อความ 500 ข้อความ เทียบเท่าการสนทนาทางโทรศัพท์เพียง 1 นาที แต่บริษัทผู้ให้บริการกลับคิดค่าส่ง SMS แพงกว่าค่าโทรศัพท์เสียอีก สำหรับในเมืองไทย ค่าโทรศัพท์ถูกกำหนดไว้ว่าไม่เกิน 0.99 สตางค์ต่อนาที ขณะที่ SMS ราคาปกติคือ 3 บาท ปัจจุบัน ผู้บริโภคที่ใช้สมาร์ทโฟน จึงสามารถเลือกใช้โซเชียลมีเดียที่มีบริการส่งข้อความสั้นและยาวได้ฟรีๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Messenger, Line, Google Hangouts หรือแม้แต่ WhatsApp

5. วิตามินรวม

จากการคาดการณ์ พบว่าชาวอเมริกันร้อยละ 50 รับประทานวิตามินรวมและอาหารเสริมประเภทต่างๆ ซึ่งมีราคาเฉลี่ยเม็ดละ 2 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่รายงานหลายชิ้นระบุตรงกันว่าการรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมเหล่านี้ ไม่ต่างจากการกินยาหลอกแต่อย่างใด สำหรับผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้วจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากการเสริมอาหารตรงนี้เลย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://waymagazine.org/movement/

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook