แนะขึ้นภาษีเครื่องดื่มให้ความหวาน ลดโรคอ้วน ฟันผุ กระดูกกร่อน

แนะขึ้นภาษีเครื่องดื่มให้ความหวาน ลดโรคอ้วน ฟันผุ กระดูกกร่อน

แนะขึ้นภาษีเครื่องดื่มให้ความหวาน ลดโรคอ้วน ฟันผุ กระดูกกร่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศ.แบร์รี ป๊อปคิน อาจารย์ภาควิชาโภชนาการศาสตร์ สาขาโภชนาการระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา แชปเพิลฮิลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวในการประชุมเรื่อง “การขึ้นภาษีเครื่องดื่มที่มีรสหวาน” ว่า สถานการณ์ของโรคอ้วนปัจจุบันพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากปัญหาการขาดสารอาหารเป็นการมีโภชนาการเกินในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ ประชาชนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 8-10 กิโลกรัม ในช่วง 10-18 ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากการมีกิจกรรมทางกายน้อยแต่บริโภคอาหารที่มีพลังงานสูงเพิ่มมากขึ้น

ศ.แบร์รีกล่าวว่า มาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาษีและราคาเป็นมาตรการที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาโรคอ้วน และสร้างรายได้ในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนในประเทศที่มีรายได้สูง เช่น สหรัฐอเมริกา การเพิ่มราคาน้ำอัดลมขึ้นร้อยละ 10 ทำให้มีการดื่มน้ำอัดลมลดลง ร้อยละ 8.1  

ขณะที่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำอย่างเม็กซิโกก็มีการเก็บภาษีในเครื่องดื่มที่มีรสหวานร้อยละ 10 และจัดเก็บภาษีอาหารขยะร้อยละ 8 โดยนำเงินภาษีที่ได้รับเพิ่มขึ้นอุดหนุนอาหารสำหรับในโรงเรียน นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่นๆ ที่ดำเนินการแล้ว เช่น ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา   เอกวาดอร์ สิงคโปร์ และหมู่เกาะแปซิกฟิกตะวันตก

ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี นักวิชาการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า น้ำตาลในน้ำอัดลมเป็นแหล่งพลังงานส่วนเกินที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วนของคนไทย รวมทั้งเกี่ยวข้องกับโรคหลายชนิด เช่น โรคฟันผุ กระดูกกร่อน โดยในน้ำอัดลม 1 กระป๋อง มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบประมาณ 10-14 ช้อนชา น้ำอัดลมทุกกระป๋องจึงเพิ่มโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ร้อยละ 1-2 ประกอบกับเด็กในปัจจุบันมักไม่ค่อยออกกำลังกายแต่ติดเกม โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต รวมทั้งกินขนม นมหวาน นมเปรี้ยวและน้ำอัดลม มากเกินกว่าที่ควร ซึ่งทำให้มีไขมันสะสมและเป็นโรคอ้วนได้ง่าย ขณะที่ข้อมูลจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลชี้ให้เห็นว่าในปี 2540 คนไทยมีปริมาณเฉลี่ยการบริโภคน้ำตาล 19.3 ช้อนชาต่อวัน มีแนวโน้มปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเฉลี่ยเพิ่มเป็น 23.1 ช้อนชาต่อวันในปี 2553 อีกทั้งสัดส่วนของการบริโภคน้ำตาลทางอ้อมมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากร้อยละ 28.9 ในปี 2540 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.6 ในปี 2553

“ประเทศไทยคิดภาษีเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม น้ำผลไม้โดยเก็บจากราคาประเมินหรือปริมาณ หากคำนวณแล้วแนวทางใดสูงกว่าจะใช้แนวทางนั้น และยังมีบางประเภทได้รับการยกเว้นภาษี โดยเฉพาะชาเขียวที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ทั้งๆ ที่เครื่องดื่มเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพมาก จึงสมควรมีการแก้ไขระเบียบกรมสรรพสามิต เพื่อปรับปรุงวิธีการคิดภาษีตามปริมาณน้ำตาล โดยทางเครือข่ายมีการนำข้อเสนอพร้อมหลักฐานทางวิชาการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ พิจารณาต่อไป”  ทพ.วีระศักดิ์กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook