มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่จากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป หนุนราคาน้ำมันดิบเพิ่ม

มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่จากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป หนุนราคาน้ำมันดิบเพิ่ม

มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่จากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป หนุนราคาน้ำมันดิบเพิ่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น หลังสหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติมสร้างความกังวลว่าอุปทานน้ำมันจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้การคว่ำบาตรครั้งใหม่รวมถึงบริษัทของรัสเซียที่ทำธุรกิจด้านการให้บริการทางการเงิน บริษัทพลังงาน อุตสาหกรรมเหล็กและเหมืองแร่ เป็นต้น

+/- สหภาพยุโรปเองก็ออกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมเช่นกัน โดยเน้นที่การยึดทรัพย์สินและงดการออกวีซ่าเพื่อเดินทางในยุโรปของบุคคลผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประธานาธิบดีปูตินรวม 12 คน ซึ่งในที่นี้รวมถึงมหาเศรษฐีเกนนาดี ทิมเชนโก (Gennady Timchenko) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Gunvor ด้วย

+ ข่าวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่อาจมีการยกเลิก QE และอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในตะกร้าเงิน หนุนให้มีแรงซื้อจากต่างชาติเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น

- อย่างไรก็ดี หลังจากโดนคว่ำบาตรนายเกนนาดี ได้ตัดสินใจขายหุ้นของบริษัทที่ตนถือไว้เกือบ 50% ให้กับหุ้นส่วนของบริษัท นาย Torbjörn Törnqvist เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บริษัทที่ปัจจุบันมีการซื้อขายน้ำมันราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต้องได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรที่ตัวบุคคลของตน โดยล่าสุด บริษัทได้กลับมาทำการซื้อขายได้เป็นปกติหลังธนาคารของสหรัฐฯ หลายแห่งรวมถึงบริษัท Shell ตัดสินใจซื้อขายน้ำมันกับ Gunvor อีกครั้ง

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาที่ตลาดสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังสต๊อกลดลง ขณะที่ตัวเลขการส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนเดือน ก.พ. ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบปี อย่างไรก็ตาม แรงซื้อจากอินโดนีเซียดูจะแผ่วลงเล็กน้อยยังคงกดดันราคาเบนซินในภูมิภาค

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อจากประเทศไทยที่เตรียมพร้อมก่อนช่วงปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น อย่างไรก้ตาม อุปทานจากอินเดียและตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้นยังคงส่งผลให้มีอุปทานส่วนเกินในภูมิภาค

ทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 96 - 104 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 105-111 เหรียญฯ

ปัจจัยที่น่าจับตามองสัปดาห์นี้

จับตาสถานการณ์ความตึงเครียดในแคว้นไครเมีย ซึ่งล่าสุดเกิดการโจมตีฐานทัพอากาศในยูเครนและมีผู้เสียชีวิต ขณะที่สหรัฐฯ หลังออกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม รวมถึง การคว่ำบาตรบริษัทพลังงานแล้ว ยังขู่ว่าจะคว่ำบาตรภาคธุรกิจสำคัญๆ ของรัสเซียอีกหลายแขนงหากรัสเซียทำให้เหตุการณ์ในยูเครนบานปลาย

ความกังวลของนักลงทุนต่อภาพรวมเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะภาคการผลิตที่มีแนวโน้มแย่ลง รวมถึงการตอบรับต่อข่าวจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่อาจมีการยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย โดยตลาดมองว่าอาจกระทบความต้องการใช้น้ำมัน

ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ลดลงในช่วงฤดูการปิดซ่อมโรงกลั่น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา ยังปรับลดลงต่อเนื่องหลังท่อขนส่งน้ำมันดิบ Key Stone เปิดใช้ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

จีดีพีไตรมาส 4/2556 สหรัฐฯ (ประกาศครั้งที่ 3) ที่จะประกาศในวันที่ 27 มี.ค. นี้ ซึ่งจะบ่งบอกถึงความต้องการใช้น้ำมันของประเทศผู้ใช้อันดับ 1 ของโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นจาก 2.4% ในการประกาศครั้งก่อนหน้า มาอยู่ที่ 2.7%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook