"ไทย" อันดับวูบ "ฟิลิปปินส์-อินโดฯ" รุ่ง ประเทศน่าลงทุนในสายตาต่างชาติ

"ไทย" อันดับวูบ "ฟิลิปปินส์-อินโดฯ" รุ่ง ประเทศน่าลงทุนในสายตาต่างชาติ

"ไทย" อันดับวูบ "ฟิลิปปินส์-อินโดฯ" รุ่ง ประเทศน่าลงทุนในสายตาต่างชาติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นับ ถอยหลังอีกไม่กี่เดือน ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และแม้สมาชิก 10 ชาติจะรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ในแง่การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ แต่ละประเทศก็ยังต้องแข่งขันกันเพื่อความเป็นหนึ่ง โดยเฉพาะการแย่งชิงความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ในการผลักดันขึ้นเป็นประเทศผู้นำ โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญคือเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ

 

การเมืองฉุดความเชื่อมั่น "ไทย" ทรุด

จาก ดัชนีชี้วัดด้านความสามารถในการแข่งขันทั่วโลก (Global Competitiveness Index : GCI) ช่วงปี 2556-2557 จัดทำโดย "เวิลด์อีโคโนมิก ฟอรัม" ซึ่งมีการจัดอันดับวัดความสามารถในการแข่งขันของ 148 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก หากมองเจาะในอาเซียน 10 ประเทศที่มีพลวัตต่อเศรษฐกิจโลก จะพบว่าสมาชิกแต่ละชาติยังมีความแตกต่างกันทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงมากไปกว่านั้นมีอีก 2 ประเทศอย่าง ลาว ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 81 และเมียนมาร์ที่ 139 ต่างพยายามพัฒนาเศรษฐกิจและต้องการเป็นแหล่งขุมทรัพย์สำหรับนักลงทุน

ในส่วนของไทยประสบความสำเร็จในการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันระดับโลก จากอันดับที่ 39 ในปี 2554 เป็นอันดับที่ 38 ในปี 2555 และ 37 ในปี 2556

อย่างไรก็ตามเวลานี้ความเชื่อมั่น และความไว้วางใจของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อไทยเริ่มสั่นคลอน จากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ ฉุดรั้งไม่ให้ไทยแสดงศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาข้อกฎหมายการจำกัดการถือครองที่ดินของต่างชาติ ระบบราชการที่ซับซ้อน ระบบสาธารณสุขและคุณภาพการศึกษา โชคดีที่ได้เปรียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับระบบเศรษฐกิจมหภาค

 

"ฟิลิปปินส์-อินโดฯ" โตก้าวกระโดด

ขณะ ที่การเติบโตอย่างรวดเร็วของฟิลิปปินส์ช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนขยับมาอยู่อันดับที่ 59 และมีแนวโน้มที่ดีในการเติบโตแบบก้าวกระโดดช่วงหลายปีก่อน ส่งผลให้ฟิลิปปินส์เริ่มมีอำนาจต่อรองทางการค้าอย่างชัดเจนขึ้นตั้งแต่ปี 2553 โดยเฉพาะการวางมาตรการขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความน่าเชื่อมั่นให้นักลงทุน และได้เปรียบเหนือไทย

ด้านมาเลเซีย การเมืองที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ และสังคมการแข่งขันที่มีคุณภาพ ทำให้ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 24 ของโลก และอันดับ 2 ในอาเซียน เดินตามรอยสิงคโปร์มาติด ๆ ด้วยความโดดเด่น

ด้านตลาดที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันที่สูง อีกทั้งตลาดการเงินแข็งแกร่ง และได้เปรียบด้านพลังงาน จากจำนวนปริมาณน้ำมันสำรอง และก๊าซธรรมชาติ ภาคอุตสาหกรรมมาเลเซียจึงไม่ค่อยเจอปัญหาขาดแคลนพลังงานมากนัก

อินโดนีเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้ช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก แต่รัฐบาลก็สามารถวางนโยบายพัฒนาศักยภาพก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ทำให้ติดอันดับที่ 38 ในกลุ่ม 148 ประเทศ สร้างความยั่งยืนในการเติบโตให้ใกล้เคียงกับประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างน่า ประทับใจ ขณะเดียวกันก็มีความได้เปรียบในเรื่องทรัพยากร โดยเฉพาะแร่ธาตุ ได้แก่ น้ำมัน การทำเกษตรกรรม การประมง และภาคอุตสาหกรรม

 

"เวียดนาม-เมียนมาร์" ไต่อันดับ

เวียดนาม ซึ่งเริ่มฟื้นฟูประเทศ ปัจจุบันผันตัวเองมาอยู่ในอันดับที่ 70 ในแง่ขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ด้วยสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์น้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ทำให้เติบโตช้า แต่หากพูดถึงจุดแข็งในปัจจุบันแล้ว หนีไม่พ้นเรื่อง "ธุรกิจส่งออกข้าว" ขณะที่ทรัพยากรก็มีความได้เปรียบเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค ปัจจุบันเวียดนามส่งออกน้ำมันดิบเป็นอันดับ 3 ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับเมียนมาร์ อยู่ในอันดับที่ 139 ของโลก หลังเปิดประเทศได้ดำเนินนโยบายเน้นการเติบโตบนฐานของทรัพยากรที่สำคัญภายใน ประเทศ ธุรกิจที่สร้างรายได้ ได้แก่ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแปรรูป ผลิตสินค้าเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร รวมถึงปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาอย่างการขนส่ง พลังงาน และการสื่อสาร จุดอ่อนทางยุทธศาสตร์เมียนมาร์เป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่ยังด้อยคุณภาพ และการเติบโตที่ล่าช้ากว่าประเทศอื่น

 

AEC จุดพลิกผันประเทศไทย

ส่วน การจัดอันดับ "Doing Business Index" ของธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ประจำปี 2557 ซึ่งพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยสำรวจตั้งแต่การเริ่มต้นกิจการ การจ้างงาน การเช่าสำนักงาน ความยากง่ายในการติดต่อขอรับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างไฟฟ้า การเข้าถึงเงินทุน การปกป้องนักลงทุน การบังคับใช้สัญญา การแก้ไขปัญหาพิพาททางธุรกิจ การจ่ายภาษี และการค้าข้ามชายแดน ซึ่งล้วนเอื้อในการดำเนินธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนไปในตัว 

หากมองใน ระดับอาเซียน รายงานของธนาคารโลกยกให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 1 ตามด้วยมาเลเซีย ไทย บรูไน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ในอันดับสุดท้าย แต่รายงานชิ้นนี้ไม่ได้นำปัจจัยการเมืองมาเกี่ยวข้อง จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าไทยยังคงอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศน่าลงทุน

สิ่งที่น่าวิตกสำหรับไทยตอนนี้คือปัญหาการเมืองที่ยังร้อนระอุ กลายเป็นปัญหาใหญ่กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งนักวิเคราะห์ทั้งไทยและต่างชาติต่างทำนายอนาคตของไทยว่า เมื่อถึงจุดเปลี่ยนผันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไทยจะยังคงเป็นหนึ่งในประเทศน่าลงทุนอีกหรือไม่

 

ต่างชาติชะลอลงทุน

นาย เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี กล่าวว่า การให้น้ำหนักการลงทุนในไทยในสายตาต่างชาติ ล่าสุดจากการพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบัน พบว่าส่วนใหญ่กังวลมากขึ้นกับการลงทุนในประเทศไทย โดยระยะสั้น (จนถึง ณ สิ้นปี 2557) นักลงทุนต่างชาติอาจชะลอลงทุนในไทยออกไปก่อน จากปัจจัยการเมืองที่ยืดเยื้อ ขณะที่การมีรัฐบาลรักษาการที่ยาวนานที่สุดในประวัติการณ์ก็บั่นทอนความเชื่อ มั่นของต่างชาติให้ลดลง

ขณะเดียวกันในการส่งเสริมการลงทุน จากที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ไม่สามารถอนุมัติส่งเสริมการลงทุนได้ เนื่องจากยังไม่มีการแต่งตั้งบอร์ด BOI ประกอบกับเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ถูกชะลอออกไป ดังนั้นส่งผลทำให้การลงทุนช่วง 3-6 เดือนข้างหน้าของต่างชาติชะลอออกไปจนกว่าจะมีรัฐบาลจริง แต่ในระยะยาวการที่พื้นฐานไทยยังแข็งแกร่ง เชื่อว่ายังไงต่างชาติก็น่าจะเข้ามาลงทุน

ขณะที่ นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน กล่าวว่า ปัจจุบันไทยตกอยู่ในภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง จากปัญหาการเมือง ทำให้คาดการณ์สถานการณ์ได้ยากว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ระยะสั้นอาจไม่ทำให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตต่าง ๆ ออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากนัก แต่หากสถานการณ์ทางการเมืองยังยืดเยื้อไปถึงปี 2558 ก็มีโอกาสสูงที่นักลงทุนต่างชาติจะย้ายฐานการผลิตออกไปได้ โดยเฉพาะญี่ปุ่น

"ปัญหา กระทบต่อเศรษฐกิจปีนี้เกิดจากฝีมือมนุษย์สร้างขึ้น เราต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจากนี้จะเป็นอย่างไร เพราะแม้โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทยจะยังดี ทั้งการท่องเที่ยว เกษตรกรรม ภาคการเงิน รวมถึงคู่ค้ายังกระจายตัว แต่ไทยกลับไม่สามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้เติบโตขึ้นได้ เป็นสิ่งที่น่าห่วงมาก"

ท่าม กลางการแข่งขันที่สูงขึ้นแม้จะเป็นเรื่องท้าทาย แต่ถ้าหากรัฐบาลและนักการเมืองไทยมัวย่ำอยู่กับที่ไม่ยอมก้าวข้ามความขัด แย้ง ก็มีแนวโน้มสูงที่นักลงทุนจะมองในสายตาที่เปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นทางเลือกประเทศน่าลงทุนในอันดับต้น ๆ ต่อไปอีก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook