อัตราภาษีใหม่…ต้องจ่ายหรือได้คืน?

อัตราภาษีใหม่…ต้องจ่ายหรือได้คืน?

อัตราภาษีใหม่…ต้องจ่ายหรือได้คืน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปีนี้กรมสรรพากรมอบของขวัญชิ้นใหญ่ให้ผู้มีรายได้ทุกท่าน หลังจากปีภาษีที่ผ่านมามีข่าวดีให้ภรรยาที่มีเงินได้จากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง สามารถยื่นรายการและเสียภาษีในชื่อของตนได้ จากเดิมต้องนำเงินได้มารวมคำนวณเป็นของสามี ทำให้ฐานเงินได้ที่ใช้คำนวณภาษีสูงขึ้น คนที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสจึงต้องเสียภาษีสูงขึ้นนั่นเอง นัยว่าเป็นการเปลี่ยนเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง แต่ก็นับเป็นข่าวดีสำหรับภรรยาคนขยันทุกท่าน…555

ส่วนข่าวดีของปีภาษี 2556 นี้คงทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ได้เฮกันมาตั้งแต่ปลายปี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ไฟเขียวพระราชกฤษฎีกาปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่สำหรับเงินได้สุทธิจากเดิม 5 ขั้น เป็น 7 ขั้น โดยให้มีผลบังคับใช้ในปีภาษี 2556 และ 2557

 

ปรับภาษีจาก 5 ขั้น เป็น 7 ขั้น

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2556 กำหนดให้เริ่มยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2557 สำหรับการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เริ่มตั้งแต่วันนี้ถึง 8 เมษายน 2557 โดยคิดอัตราภาษีใหม่จากช่วงรายได้ที่ถูกแบ่งให้ถี่มากขึ้นจากเดิม 5 อัตรา เริ่มคิดภาษีที่ 10-37% เพิ่มใหม่เป็น 7 อัตรา คือเริ่มจาก 5% 10% 15% 20% 25% 30% และ 35% (ตามตาราง)

จะเห็นว่าช่วงของเงินได้สุทธิต่อปีที่เสียภาษีลดลงอย่างชัดเจนจะมีอยู่ 4 ช่วง ได้แก่

รายได้สุทธิในช่วง 150,000–300,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 7,500 บาท

รายได้สุทธิในช่วง 500,001–750,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 12,500 บาท

รายได้สุทธิในช่วง 1,000,001–2,000,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 50,000 บาท

และรายได้สุทธิมากกว่า 4,000,000 บาท จะเสียภาษีลดลง 2% หรือตามจำนวนเงินได้สุทธิ

ประโยชน์นี้อยู่ที่ใคร

ถ้าคิดกันให้ดีๆ การปรับฐานภาษีแบบขั้นบันไดของรัฐในครั้งนี้ช่วยลดภาระในการจ่ายภาษีให้คนทำงานได้ประโยชน์จริง โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน หรือปีละ 360,000 บาท จะเสียภาษีถูกลงถึง 50% เรียกว่าลดลงไปหลายพันบาททีเดียว ซึ่งข้อมูลจากกรมสรรพากรระบุว่า มีคนกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 1.4 ล้านคนที่จะมีเงินได้ในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น ส่วนคนที่เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาทต่อเดือนก็อาจจะไม่ได้-ไม่เสียหรืมองไม่เห็นประโยชน์อะไรนัก

ในขณะที่คนที่มีรายได้เกินกว่าปีละ 4 ล้านบาท จะเสียภาษีลดลงจากเดิมปีละ 1.075 ล้านบาท เหลือปีละ 1.003 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5 โดยคนกลุ่มนี้มีประมาณ 20,000 คน จะเห็นว่ากลุ่มที่มีรายได้น้อยมีอัตราการเสียภาษีในอัตราประหยัดมากกว่า ถึงแม้กลุ่มที่มีรายได้สูงๆ จะประหยัดภาษีได้เป็นแสนบาทต่อปีก็จริง ซึ่งยังถือว่าเสียภาษีในอัตราหลายล้านบาทต่อปีอยู่ดี

ในขณะที่การหักค่าลดหย่อนต่างๆ ที่มีมากกว่า 10 รายการนั้น ทั้งค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนของบุตร บุพการี ค่าลดหย่อนจากดอกเบี้ยกู้ยืมหรือซื้อกองทุนต่างๆ ทั้งหมดยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่คิดให้ในอัตราร้อยละ 40 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้กันมานาน แม้ว่าเมื่อคิดรวมๆ แล้วค่าลดหย่อนที่หักได้เต็มที่ประมาณ 1.5 ล้านบาทก็ตาม ว่ากันว่าหากมีการปรับเปลี่ยนให้สามารถหักค่าลดหย่อนได้มากขึ้นก็จะเห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือคนทำงานได้มากกว่านี้ และที่แน่ๆ กรมสรรพากรสามารถใช้วิธีการนี้ช่วยปิดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาษีได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับผู้เสียภาษีที่ต้องการยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต ต้องตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนจึงจะได้รับภาษีคืนโดยเร็ว หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเสียภาษี สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่ง หรือ RD Call Center โทร. 1161 www.rd.go.th

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ อัตราภาษีใหม่…ต้องจ่ายหรือได้คืน?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook